การพัฒนาความสามารถการอ่านจับใจความวิชาภาษาไทย ด้วยเทคนิค SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

กฤติญา พินธุรักษ์
เจริญวิชญ์ สมพงษ์ธรรม

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความ ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) หาค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความก่อนและหลังเรียนด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R และ 4) ศึกษาความพึงพอใจการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านหนองหลัก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 จำนวน 13 คน ซึ่งได้มาจากการสุมแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R จำนวน 8 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านจับใจความ ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.25 ถึง 1.00 และค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.80 แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีประสิทธิผล และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test (Dependent Samples) ผลการวิจัย พบว่า 1. แผนการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R เพื่อเสริมสร้างความสามารถการอ่านจับใจความของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.29/82.88 ซึ่งถือว่าสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้  2. ค่าดัชนีประสิทธิผลของแผนการจัดการเรียนรู้ (E.I.) = 0.7091 คิดเป็นร้อยละ 70.91 3. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความสามารถการอ่านจับใจความหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4. ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบ SQ4R โดยรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551.

กระทรงศึกษาธิการ.

กานต์ธิดา แก้วกาม. (2556). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์การอ่านจับใจความของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่จัดการเรียนรู้โดยวิธีสอนแบบ SQ4R กับวิธีการสอนแบบปกติ. [ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม]. E-Thesis. http://www.thapra.lib.su.ac.th/thesis/showthesis_th.asp?id=0000010115

ฉวีวรรณ คูหาภินันท์. (2542). การอ่านและการส่งเสริมการอ่าน (Reading and Reading

Promotion). ศิลปาบรรณาคาร.

ชัยยงค์ พรหมวงศ์. (2556). การทดสอบประสิทธิภาพสื่อหรือชุดการสอน. วารสารศิลปากร

ศึกษาศาสตร์.

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2553). การออกแบบพัฒนาโปรแกรมบทเรียนและบทเรียนบนเว็บ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ฐะปะนีย นาครทรรพ. (2545). การสอนภาษาไทย. ศูนยส่งเสริมวิชาการ.

ณัชนัน แก้วชัยเจริญกิจ. (2550). ภาวะผู้นำและนวัตกรรมทางการศึกษา : บทบาทของครูกับ ActiveLearning. http://www.pochanukul.com

ญัฐวุฒิ กิจรุ่งเรือง และคณะ. (2545). ผู้เรียนเป็นสำคัญและการเขียนแผนจัดการเรียนรู้ของครูมืออาชีพ. บริษัทสถาพรบุ๊คส์ จํากัด.

ณภัทร ทิพธนามาศ. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยวิธีการสอนแบบ SQ4R สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏบุรีรัมย์.

ดวงใจ ไทยอุบุญ. (2554). ทักษะการเขียนภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่7). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธีระเกียรติ เจริญเศรษฐศิลป์. (2559). การศึกษาไทย 4.0 ในบริบทการจัดการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน. ศูนย์ประชุมวายุภักษ์ โรงแรมเซ็นทราศูนย์ราชการและคอนเวนชันเซ็นเตอร์ แจ้งวัฒนะ.

นนทลี พรธาดาวิทย์. (2559). การจัดการเรียนรู้แบบ Active learning (พิมพ์ครั้งที่ 2).

ทริปเพิ้ล เอ็ดดูเคชั่น.

นันทิยา แสงสิน. (2529). ความสามารถทางด้านการฟังการอ่าน และการเขียนภาษาอังกฤษของนักศึกษาปีที่ 4 วิชาเอกภาษาอังกฤษ คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่].

ประเทิน มหาขันธ์. (2536). การสอนอ่านเบื้องต้น. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

ปิยธิดา ยะเคียน. (2561). ผลกระทบของการสอนอ่านแบบ SQ4R ที่มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 แผนกวิชาคอมพิวเตอร์ธุรกิจ วิทยาลัยเทคนิคน่าน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์

พรนิภา บรรจงมณี. (2548). การใช้เทคนิค เอสคิวโฟร์อาร์ เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่านภาษาอังกฤษ และการคิดไตร่ตรองของผู้เรียน. บัณฑิตวิทยาลัย :,มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

พรพรรณ พูลเขาล้าน. (2563). การพัฒนาความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบ Active Learning ร่วมกับเทคนิค SQ4R. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พัชชา กรีรัมย์. (2555). การเปรียบเทียบความสามารถในการอ่านเพื่อความเข้าใจการคิดวิเคราะห์และการยอมรับนับถือตนเองระหว่างการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดแผนผังความคิดและวิธีการเรียนรู้แบบ SQ4R วิชาภาษาอังกฤษชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ผู้เรียน. บัณฑิตวิทยาลัย :, มหาวิทยาลัยมหารสารคาม

ไพบูลย์ เปานิล. (2546). เอกสารประกอบการอบรม การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม.

บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันราชภัฏจันทรเกษม.

ยุวดี โปธายะ. (2546). การใช้วิธีการสอนแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมความเข้าใจในการอ่าน

ภาษาอังกฤษและความสามารถในการเขียนสรุปใจความ ของนักเรียนในระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

รัตนภัณฑ์ เลิศคำฟู. (2547). การใช้วิธีสอบแบบเอสคิวโฟร์อาร์ในการสอนอ่านจับใจความสำคัญสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ลือโสภา เมขลา. (2555). การพัฒนาการอ่านจับใจความด้วยวิธีการสอนแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม

ศิริพร ลิมตระการ. (2547). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการอ่าน. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

สมศักดิ์ ศรีมารักษ์. (2554). การพัฒนาการจัดการเรียนรู้แบบ 4 MAT เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน จับใจความภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย :, มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

สุคนธ์ สินธพานนท์ และคณะ. (2554). วิธีการสอนตามแนวปฏิรูปการศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของเยาวชน. 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุนันทา มั่นเศรษฐวทิย์. (2554). หลักและวิธีสอนอ่านภาษาไทย. (พิมพ์ครั้งที่ 4). ไทยวัฒนาพานิช.

สุภัตรา วงศราษฎร์. (2555). การพัฒนาความสามารถดานการอานคิดวิเคราะห ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 6 ดวยหนวยการเรียนรูแบบบูรณาการสาระการเรียนรูภาษาไทย. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยขอนแก่น.

สุวิทย์ มูลคํา และคณะ. (2549). การเขียนแผนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นการคิด. (พิมพ์ครั้งที่ 2) . กรุงเทพฯ: ห้างหุ้นส่วนจำกัดภาพพิมพ์.

สุวิมล สุวรรณจันดี. (2554). การพัฒนาแผนการเรียนรู้สาระพุทธศาสนาโดยใช้กรณีศึกษาเพื่อส่งเสริมการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดอรัญญาราม อำเภอแม่ทาจังหวัดลำพูน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อดิศยา ปรางทอง. (2560). การพัฒนากิจกรรมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้เทคนิค SQ4R เรื่อง ปัญหาเกี่ยวกับวัยรุ่น สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร

อมรรัตน์ จิตตะกาล. (2556). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้แบบ SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนโคกล่ามผดุงวิทย์. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยทักษิณ

อภัยพร ศิลารักษ์. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนอ่านแบบ SQ4R เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำคัญ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนเรศวร

อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. ใยใหม ครีเอทีฟ กรุ๊ป.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล. (2546). การออกแบบเครื่องมือวัดและประเมินตามสภาพจริง. บุ๊คส์ พอยท์.

Good, Carter V. (1973). Dictionary of Education. 3rd ed. McGraw – Hill Book Inc.

Oliver, Richard L. & William O. Bearden. (1997). Satisfaction : a behavioral

perspective on the consumer. McGraw-Hill.

Hornby, A. F. (2000). Advance learner's dictionary (6th ed.). Oxford University.

Quirk, R. (1987). Longman Dictionary of Contemporary English. Richard Clay.

Wolman, BB. (1973). Dictionary of Behavior Science. Van Norstand Reinhold Company.