ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี

Main Article Content

อคิราภ์ มีคำแสน

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา (Descriptive Study)  มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอัตราการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์จำนวน 340 ราย ที่มาฝากครรภ์ครั้งแรกสถานบริการรับ ฝากครรภ์ในเขตอำเภอพิบูลย์รักษ์ จังหวัดอุดรธานี  ได้แก่ โรงพยาบาลพพิบูลย์รักษ์ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยใช้การสุ่มแบบหลายขั้นตอน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติพรรณาทดสอบไคสแควร์และการวิเคราะห์ถดถอยพหุโลจิสติก  ผลการวิจัย พบว่า หญิงตั้งครรภ์กลุ่มตัวอย่างมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ ในอัตราร้อยละ 44.11 ประวัติความเสี่ยงของการตั้งครรภ์ (OR =52.16, 95%, CI = 15.33-177.53, p < .001) ทัศนคติที่ดีต่อการฝากครรภ์ (OR = 52.43, 95%, CI = 10.24-265.57, p < .001) การสนับสนุนของครอบครัวต่อการฝากครรภ์ (OR = 22.56, 95%, CI =3.38-150.86, p = .001) ความรู้เกี่ยวกบัการฝากครรภ์ (OR = 4.31, 95%, CI = 1.31-12.27, p =.015) และรายได้ของครอบครัวระดับปานกลางกบัรายได้ของครอบครัวระดับสูง (OR = 7.26, 95%, CI =1.56-33.58, p =.011, OR = 13.34, 95%, CI =2.67-66.77, p =.002 ตามลำดับ) เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ ผลการวิจัยเสนอแนะว่าบุคลากรทางสุขภาพควรส่งเสริมความรู้เกี่ยวกับการฝากครรภ์ สร้างทัศนคติที่ดีต่อการฝากครรภ์และส่งเสริมการสนับสนุนของครอบครัวต่อการฝากครรภ์ เพื่อให้หญิงตั้งครรภ์มาฝากครรภ์ครั้งแรกโดยเร็วภายใน 12 สัปดาห์ให้มากขึ้น

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ ใจพิงค์. (2554). ปัจจัยที่สัมพันธ์ต่อการฝากครรภ์ล่าช้าในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ โรงพยาบาลลำพูน. วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 4(2),125-140.

กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. (2564). คู่มือการดำเนินงานประจำปี 2564. กรุงเทพฯ: กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข.

กุศล รัศมีเจริญ, มนศักดิ์ ชูโชติรส, และมณี รัตนไชยานนท์. (2550). การดูแลสตรีตั้งครรภ์บนพื้นฐานของข้อมูลเชิงประจักษ.์ในชาญชัย วันทนาศิริ, วิทยา ถิฐาพันธ์, ปราโมทย์

ไพรสุวรรณ, สุนทรฮ้อเผ่าพันธุ์. เวชศาสตร์ปริกำเนิด. กรุงเทพฯ:ยูเนียนครีเอชั่น .

เดือนเพ็ญ ศิลปอนันต์. (2557). ทำไมจึงฝากครรภ์: ทัศนะของหญิงตั้งครรภ์โรงพยาบาลบางกรวยจังหวัดนนทบุรี.วารสารสมาคมเวชศาสตร์ป้องกันแห่งประเทศไทย, 4(2), 125-134.

นรินทรชัย พัฒนพงศา. ( 2542). ความรู้ ทัศนคติ. กรุงเทพฯ: ทำปกเจริญ.

บุหลัน สุขเกษม. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ครั้งแรกช้ากว่า 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ปรีชา คงเดช. (2551). พฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงที่ฝากครรภ์โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์. นราธิวาส: โรงพยาบาลนราธิวาสราชนครินทร์.

พัชรินทร์ ช่างเจรจา. (2556). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการดูแลตนเองของหญิงวัยรุ่นตั้งครรภ์แรกอำเภอเบญลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ.กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศิริชัย พงษ์วิชัย. (2551). การวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วยคอมพิวเตอร์. กรุงเทพฯ: ว.ีพริ้นท์(1991).

ศิริพงศ์ สวัสดิ์มงคล. (2548). การฝากครรภ์. ในมานี ปิยะอนันต์, ชาญชัย วันทนาศิริ, และประเสริฐ ศันสนีย์วิทยกุล(บรรณาธิการ). สูติศาสตร์. (หน้า 59-64). กรุงเทพฯ:พีเอลีฟวิ่ง.

ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2556). รายงานการฝากครรภ์ พ.ศ. 2554-2556.กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ศูนย์อนามัยที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. (2554). คู่มือการดูแลผู้ตั้งครรภ์แนวใหม่.ขอนแก่น: เพ็ญ พรินติ้ง.

ศูนย์อนามัยที่ 8 จังหวัดอุดรธานี. (2562). รายงานการฝากครรภ์ พ.ศ. 2559-2562. กรุงเทพฯ: องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

สายใจ โฆษิตกุลพร. (2560). การฝากครรภ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

Baker, E. C., & Rajasingam, D. (2012). Using trust databases to identify predictors of late booking for antenatal care within the UK. Journal of Public Health, 126(2), 112-116.

Belayneh, T., Adefris, M., & Andargie, G. (2014). Previous early antenatal service utilization improves timely booking: Cross-sectional study at university of Gondar hospital, Northwest Ethiopia. Journal of Pregnancy, 3, 1-7.

Cobb, S. (1976). Social support as a moderator of life stress. Psychosomatic Medicine, 38, 300-314.

Cochran, W. G. (1977). Sampling techniques (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

Cresswell, J. A., Yu, G., Hatherall, B., Morris, J., Jamal, F., Harden, A., & Renton, A. (2013). Predictors of the timing of initiation of antenatal care in an ethnically diverse urban cohort in the UK. Journal of BioMed Cental Pregnancy and Childbirth, 13(103), 1-8.