อัตลักษณ์ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นถิ่นสู่การพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของกลุ่มทอผ้าไหม บ้านนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

ณัฐปราย์ ชัยสินคุณานนต์
เกศสุดา โภคานิตย์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทอัตลักษณ์ภูมิปัญญาและการบริหารจัดการกลุ่ม สร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มด้วยกระบวนการมีส่วนร่วมเพื่อสร้างความเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของกลุ่มทอผ้าไหมชุมชนบ้านนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ ผลการวิจัยพบว่า บริบทอัตลักษณ์ภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นถิ่นแบ่งออกเป็นสามช่วงเวลาด้วยกัน ช่วงที่หนึ่งเป็นลักษณะต่างคนต่างทำโดยผู้หญิงในชุมชนปลูกหมอน เลี้ยงไหม ทอผ้าสำหรับสมาชิกในครอบครัวใช้นุ่งห่มเข้าร่วมงานพิธีกรรมสำคัญต่าง ๆ เตรียมไว้สำหรับการต้อนรับใช้เป็นของฝากสำหรับบุคคลพิเศษผู้มาเยี่ยมเยือนเรือนชาน เน้นกระบวนการผลิตตามธรรมชาติจากภูมิปัญญาท้องถิ่น ปราชญ์ชาวบ้านที่สืบสานถ่ายทอดจากบรรพบุรุษ เช่นการย้อมสีเส้นไหม จากเปลือกไม้ แก่นไม้ ครั่ง ดินโคลน ทำให้ผ้าไหมสวมใส่สบายมีความทนทาน การออกแบบลวดลายในช่วงนี้ คือ ลายดอกเสี้ยวที่นำมาจากต้นไม้ประจำหมู่บ้าน จึงทำให้ผ้าไหมชุมชนนาเสียวมีลวดลายที่แตกต่างจากชุมมชนอื่น เมื่อเวลาผ่านไปการทอผ้าไหมของคนในชุมชนลดน้อยลง ขาดผู้สืบสานต่อยอด ขาดการทอดภูมิปัญญาอย่างต่อเนื่อง การทอผ้าไหมพื้นถิ่นจึงค่อยๆเลือนหายไปทีละน้อย เมื่อเข้าสู่ช่วงที่สองเป็นช่วงแห่งการฟื้นฟู หลังฤดูกาลเก็บเกี่ยวผู้หญิงในชุมชน มองหาอาชีพเสริมเพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัวจึงหันกลับมาปลูกหม่อน เลี้ยงไหม ทอผ้า ในช่วงนี้การออกแบบลวดลายส่วนใหญ่เป็นลวดลายที่เป็นที่นิยมทั่วไป มีการซื้อเส้นไหมสำเร็จจากชุมชนอื่น สีที่ย้อมปรับเปลี่ยนมาเป็นสีสังเคราะห์มากขึ้น มีช่องทางการจำหน่ายคือกลุ่มลูกค้าผ่านการบอกเล่าแบบปากต่อปาก ยังไม่มีการรวมกลุ่มกันทำอย่างจริงจัง และในช่วงที่สามเป็นช่วงการจัดตั้งกลุ่ม เมื่อรัฐบาลมีโครงการหนึ่งตําบล หนึ่งผลิตภัณฑ์หรือโอทอป (OTOP) ได้จัดตั้งกลุ่มสตรีทอผ้าบ้านนาเสียว กระทั่งมีผลิตภัณฑ์ผ้าไหมของกลุ่มจัดจำหน่ายสู่ตลาด บริบทด้านการบริหารจัดการกลุ่มนั้นการผลิตผ้าไหมในช่วงนี้ขาดอัตลักษณ์ภูมิปัญญาที่มีมาแต่โบราณ จากการถ่ายทอดตั้งแต่บรรพบุรุษ ทำให้ไม่มีความโด่ดเด่น ผ้าไหมส่วนมากไม่มีความแตกต่างจากผ้าไหมชุมชนอื่น การบริหารจัดการกลุ่มไม่มีโครงสร้างกลุ่มที่ชัดเจนมีเพียงผู้นำหลัก คือ นางมุกดาที่เป็นแกนนำขับเคลื่อนกลุ่ม ทำให้สมาชิกต่างคนต่างทำต่างจำหน่ายไม่รู้บทบาทหน้าที่ของตน การมีส่วนร่วมของสมาชิกและคนชุมชนที่ร่วมกันขับเคลื่อนกลุ่มมีน้อย ช่องทางการตลาดเน้นการจำหน่ายโดยตรงกับลูกค้าและนำไปฝากขายในร้านค้าชุมชนและร้านค้าจำหน่ายของฝากบางส่วน รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มคือ จัดโครงสร้างกลุ่มกำหนดตำแหน่งอำนาจหน้าที่ให้ชัดเจน ส่งเสริมความรู้ด้านการบริหารจัดการกลุ่มโดยรวมและการเงินการบัญชี พัฒนาการผลิตผ้าไหมโดยฟื้นฟูรากเหง้าภูมิปัญญาอัตลักษณ์ชุมชนสู่ผืนผ้าไหมพื้นถิ่น ที่มีรูปแบบหลากหลายมีความเป็นแฟชั่นสมัยนิยม การบริหารจัดการด้านการตลาดและลูกค้าออนไลน์  สร้างบรรยากาศกิจกรรมพัฒนาแบบมีส่วนร่วม ระหว่างผู้นำชุมชน สมาชิกกลุ่มและคนในชุมชน ติดต่อสื่อสารสร้างเครือข่ายแบบมีส่วนร่วมให้เป็นเครือข่ายองค์ความรู้ในการร่วมกันส่งเสริมและพัฒนากลุ่มทอผ้าไหมพื้นถิ่นบ้านนาเสียว อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Article Details

บท
Research Articles

References

ภัทรานิตฐ์ ผาสอน.(2558). แนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผลิต

ผ้าไหม อำเภอชุมแพ จังหวัดขอนแก่น.ประชุมวิชาการทางธุรกิจและนวัตกรรม ทางการจัดการระดับชาติและนานาชาติ ประจำปี 2558

วัฒนะ จูฑะวิภาต. (2555). ผ้าทอกับชีวิตคนไทย.โครงการพัฒนาผ้าไทยพื้นเมืองของ

ประทศไทย.คณะศิลปะกกรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศุภชัย สิงห์ยะบุศย์. (2545). รูปแบบศิลปะและการจัดการผ้าทอที่ส่งผลต่ดความเข้มแข็งและการ

พึ่งตนเองของชุมชนท้องถิ่น : ศึกษากรณีผ้าไหมแพรวาสายวัฒนธรรมผู้ไทย จังหวัดกาฬสินธุ์.มหาวิทยาลัยมหาสารคาม,:ม.ป.ท.

สารานุกรมเสรี.ประเภทของผ้าไทย.(ออนไลน์) 2563 (อ้างเมื่อ 23 สิงหาคม 2566).

จาก https://www.pidathaicostumes.com

อมรวรรณ รังกูล. (2556). กำรจัดกำรองค์กร.ขอนแก่น : พิมพ์ที่ หจก.โรงพิมพ์คลัง

นานาวิทยา