การพัฒนาทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้นาฏศิลป์บำบัดของนักเรียนสมาธิสั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 5

Main Article Content

ชนนิกานต์ นวลพลับ
เก็ตถวา บุญปราการ
ชุติมา ทัศโร

บทคัดย่อ

           บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้นาฏศิลป์บำบัดหลังเรียนเทียบกับเกณฑ์ร้อยละ 80 ของนักเรียนสมาธิสั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 2) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์โดยใช้นาฏศิลป์บำบัดของนักเรียนสมาธิสั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ใช้วิธีวิจัยกึ่งทดลอง ประขากรได้แก่ นักเรียนสมาธิสั้น ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน10 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่แผน การจัดการเรียนรู้ทักษะนาฏศิลป์โดยใช้นาฏศิลป์บำบัด แบบวัดทักษะปฏิบัติ และแบบวัดความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ ทดสอบค่า ที t-test dependent ผลการวิจัยพบว่า 1) ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ด้วยการจัดเรียนรู้โดยใช้นาฏศิลป์บำบัดสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 โดยได้ค่าร้อยละ 95.66 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ทักษะปฏิบัติโดยใข้นาฏศิลป์บำบัดโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (μ = 4.01, gif.latex?\sigma= 0.84)

Article Details

บท
Research Articles

References

ณัฏฐ์วดี สุขธยารักษ์. (2553). การใช้กิจกรรมศิลปะเพื่อปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา ช่วงอายุ 8 – 12 ปี ที่มีสมาธิสั้น. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิตสาขาวิชาศิลปศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ : สุวีริยสาส์น.

บุญชม ศรีสะอาด และบุญส่ง นิลแก้ว. (2535). การอ้างอิงประชากรเมื่อใช้เครื่องมือแบบมาตราส่วนประมาณค่ากับกลุ่มตัวอย่าง. การวัดผลการศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

พนม เกตุมาน. (2550). ตำราจิตเวชเด็กและวัยรุ่น. ชมรมจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น. กรุงเทพ. โรงเรียนบ้านหน้าควนลัง. (2565). งานวิชาการโรงเรียนบ้านหน้าควนลัง 2565.อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา.

วิเชียร เกตุสิงห์. สถิติที่ใช้ในการวิจัย. กรุงเทพ ฯ : กองการวิจัย, สํานักงานคณะกรรมการ การศึกษาแห่งชาติ, 2538

สมนึก ภัททิยธนี. (2553). การวัดผลการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 7). กาฬสินธุ์ : โรงพิมพ์ประสานการ

อุมาพร ตรังคสมบัติ. (2546). จิตบำบัดและการให้คำปรึกษาครอบครัว. (พิมพ์ครั้งที่5). กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ซานต้าการพิมพ์

อุมารี นามสมตอง. (2559). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ทักษะปฏิบัตินาฏศิลป์ เรื่อง การประดิษฐ์ท่ารำประกอบเพลงไทยสากล กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ สำหรับนักเรียนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6.