การเปรียบเทียบผลของตำรับยาพอกสมุนไพรสูตรผสมกัญชากับสูตรพื้นฐาน ต่ออาการปวดเข่าในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดสุรินทร์

Main Article Content

ชฎานภัส หมายดี
ศุภะลักษณ์ ฟักคำ
สรรใจ แสงวิเชียร
วิชัย โชควิวัฒน์
ยงยุทธ วัชรดุลย์

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบผลของตำรับยาพอกสมุนไพรสูตรผสมกัญชากับสูตรพื้นฐาน ต่อระดับความปวดและความฝืดของข้อเข่าตลอดจนความสามารถในการใช้งานของข้อเข่าและเพื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อมก่อนและหลังการใช้ยาพอกสมุนไพรสูตรผสมกัญชากับสูตรพื้นฐานต่ออาการปวดเข่า ในผู้ป่วยโรคข้อเข่าเสื่อม โรงพยาบาลการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ผสมผสาน เขตสุขภาพที่ 9 จังหวัดสุรินทร์ เป็นการศึกษาวิจัยทางคลินิก แบบ randomized double-blinded controlled trial จำนวน 50 คน แบ่งกลุ่มออกเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มละ 25 คน กลุ่มที่ 1 ได้รับ  ยาพอกเข่าสูตรผสมกัญชากลุ่มที่ 2 ได้รับยาพอกเข่าสูตรพื้นฐาน โดยทั้ง 2 กลุ่ม พอกยาครั้งละ 30 นาที นัดรับการพอก 2 วันครั้ง รวมเป็นทั้งหมด 3 ครั้ง ประเมินผลก่อนหลังการใช้ยาด้วยแบบประเมินอาการของเข่า (WOMAC) แบบประเมินระดับความเจ็บปวด (VAS) และวัดองศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่าโดยใช้ goniometer แบบประเมินระดับความรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อม โดยใช้ แบบประเมินระดับความรุนแรงของโรคข้อเข่าเสื่อม (Oxford Knee Score) และประเมินคุณภาพชีวิต ด้วยแบบสอบถาม WHOQOL วิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน paired t-test และ unpaired t-test


ผลการศึกษา เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่ม พบว่า ทั้ง 2 กลุ่ม มีระดับความเจ็บปวด อาการปวดข้อเข่าดีขึ้น องศาการเคลื่อนไหวของข้อเข่ามากขึ้น ด้านอาการปวดเข่า  อาการข้อฝืด/ตึง และ ด้านการใช้งานข้อ  ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) ผลการประเมินระดับความรุนแรงโรคข้อเข่าเสื่อม และคุณภาพชีวิต ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value < 0.01) การใช้ยาพอกสูตรผสมกัญชา พอกเข่าเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการรักษาผู้ป่วย โรคข้อเข่าเสื่อม ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Article Details

บท
Research Articles

References

จุฑารัตน์ เทพพรบริสุทธิ์. (2546). ความสัมพันธ์ระหว่างสภาพความเป็นอยู่กับคุณภาพชีวิตของผู้ใช้แรงงาน ในโรงงานอุตสาหกรรม จังหวัดชลบุรี. วารสารคณะพยาบาลศาสตร์. 11(3), 13-33

ทัศพร พันธ์งอก, และคณะ. (2565). ประสิทธิผลระหว่างการพอกเข่าด้วยสมุนไพร และการพอกเย็นต่ออาการปวดเข่าและการทรงตัว ในผุ้ป่วยที่มีข้อเข่าเสื่อม ในชุมชนวัดหูช้าง. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9. 16(1), 223-235.

บุษราภรณ์ ธนสีลังกูร และคณะ. (2559). แนวทางการตรวจวินิจฉัยและรักษาภาวะข้อเข่าเสื่อมด้วย การแพทย์แผนไทย. กรุงเทพฯ: กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณะสุข.

ปรัชญพร คำเมือลือ. (2561). เครื่องมือทางกายภาพบำบัด (Physical modality). เอกสารประกอบการสอนกระบวนวิชา พคพ 516 เวชศาสตร์ฟื้นฟูสำหรับนักศึกษาแพทย์. ภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. สืบค้นเมื่อ 20 เมษายน 2565, จาก https://www.scribd.com/document/472352888/10-1-Physical-modalities-PK.

พรรณทิพา ศักดิ์ทอง, ทิพวรรณ โหละสุต. (2554). คุณภาพชีวิตด้านสุขภาพ. พิมพ์ครั้งที่ 1 กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สำนักงานจัดการกัญชาและกระท่อมทางการแพทย์แผนไทย. (2563). คู่มือการปรุงยาเฉพาะรายตำรับยากัญชาทางการแพทย์แผนไทย ส่วนที่ไม่เป็นยาเสพติดให้โทษ. นนทบุรี: ม.ป.ท.

Cooper, C, et al. (2013). Epidemiology of osteoarthritis. Medicographia. 35(1), 145-51.

Hochberg, M.C, et al. (2012). Recommendations for the use of non-pharmacologic and pharmacologic therapies in Osteoarthritis of the hand, hip, and knee. Arthritis Care & Research. 64(4), 465-474.

Polit, D.F., & Hungler, B.P. (1999). Nursing Research: Principle and Methods. 6th ed. Philadelphia Lippincott. 7(4), 416-417.

Wandee, J, et al. (2011). Development of a gel mask with five pillars. Kanchanabhishek Institute of Medical and Public Health Technology.