องค์ประกอบของแบบจำลองธุรกิจเพื่อความยั่งยืนที่ส่งผลต่อคุณค่าแห่งความยั่งยืนของโรงแรมขนาดเล็ก ในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

ศศิกานต์ จรณะกรัณย์
ปิยพร ท่าจีน
บังอร พลเตชา

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความสำคัญขององค์ประกอบของแบบจำลองธุรกิจเพื่อความยั่งยืนที่มีต่อคุณค่าแห่งความยั่งยืนของโรงแรมขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ โรงแรมขนาดเล็กในเขตกรุงเทพฯ ชั้นใน จำนวน 170 แห่ง ได้กลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้นไม่น้อยกว่า 709 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นระหว่าง 0.702 – 0.837 ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา และสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ร้อยละ การแจกแจงความถี่ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ความเชื่อมั่น (Composite Reliability - CR)  เทคนิค Harman’s Single-factor Test และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันของตัวแปร (Confirmatory Factory Analysis) การศึกษาองค์ประกอบด้านการกำหนดมูลค่าและคุณค่าแห่งความยั่งยืน พบว่า ในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามมีระดับความคิดเห็นในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการกำหนดคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมในระดับมากกว่าองค์ประกอบอื่น (X̅= 3.84) ด้านการสร้างและส่งมอบมูลค่าและคุณค่าแห่งความยั่งยืนพบว่า ในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการสร้างและส่งมอบคุณค่าทางสิ่งแวดล้อมมากกว่าองค์ประกอบอื่น (X̅= 3.85) ด้านการถือครองมูลค่าและคุณค่าแห่งความยั่งยืน ในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับการถือครองคุณค่าทางสังคมมากกว่าองค์ประกอบอื่น (X̅=3.92) องค์ประกอบของคุณค่าแห่งความยั่งยืนในภาพรวมผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับคุณค่าแห่งความยั่งยืนในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายองค์ประกอบ พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามให้ความสำคัญกับคุณค่าแห่งความยั่งยืนด้านนวัตกรรมทางเทคโนโลยีมากกว่าองค์ประกอบอื่น ๆ (X̅=3.92) รองลงมา คือ คุณค่าแห่งความยั่งยืนด้านการสื่อสารด้านสิ่งแวดล้อม  (X̅=3.86) และการจัดการความยั่งยืน (X̅=3.81) ตามลำดับ

Article Details

บท
Research Articles

References

คณะกรรมการนโยบายการท่องเที่ยวแห่งชาติ. (2565). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ

ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2566-2570). สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2566 จาก

https://drive.google.com/file/d/12qp4UFjmLAkks2_UW3ux2SB8bh_Umpg/ view

ชวลีย์ ณ ถลางและคณะ. (2564). แนวทางบริหารตามหลักการอย่างยั่งยืนสำหรับโรงแรมขนาด

กลางและขนาดเล็กในเกาะช้าง จังหวัดตราด. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น. 7(1), 29-46.

นันทสารี สุขโต. (2559). หลักการตลาด (Marketing an introduction). กรุงเทพฯ: เพียร์

สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.

นันทสารี สุขโต และจรือ-ชิงลิน. (2559). สมรรถนะทางธุรกิจและนวัตกรรมในอุตสาหกรรมโรงแรม

: กรณีของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. วารสารสุทธิปริทัศน์, 30(93), 208-221.

บุหลันฉาย สมรรถนเรศวร์, อมรา รัตตากรและชยุตม์ วะนา. (2561). รูปแบบสมการโครงสร้างการ

จัดการที่ยั่งยืนของโรงแรมขนาดกลาง ในกรุงเทพมหานคร. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้,

(1), 10-19.

บุหลันฉาย สมรรถนเรศวร์ และคณะ. (2562). กลยุทธ์ความได้เปรียบในการแข่งขันของโรงแรมและ

ที่พักขนาดกลางและขนาดย่อมในกรุงเทพมหานคร. วารสารดุษฎีบัณฑิตทางสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง, 9(3) : 284-598.

ปิ่นรัตน์ สิริพันธ์พงศ์. (2561). ความรับผิดชอบต่อสังคมของธุรกิจโรงแรมและที่พักในจังหวัดภูเก็ต. วารสาร มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์, 3(3), 96 – 106.

ภัทรภร ชัยพุทธนพันธ์ และราณี อิสิชัยกุล. (2554). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความสำเร็จใน

การประกอบธุรกิจ โรงแรมบูติกขนาดเล็กในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 9(2), 78-89.

วัฒนา ทนงค์แผง และชวลีย์ ณ ถลาง. (2560). รูปแบบการบริหารจัดการธุรกิจโรงแรมขนาดเล็ก

เขตพื้นที่จังหวัด ตราด. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(3), 1-11.

ศูนย์วิจัยด้านตลาดการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2564). รายชื่อโรงแรมและ

ที่พักสำหรับการท่องเที่ยว. สืบค้นเมื่อ 8 มกราคม 2565 จาก

http://dpa.dopa.go.th/DPA/ hotel_report.php

สุชัญสินี คงทวีทรัพย์. (2560).ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จของธุรกิจโรงแรมขนาดเล็กและขนาด

กลางที่ดำเนินการโดยครอบครัวในเมืองพัทยา. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(1), 60-79.

สุทธิพร เสฏฐิตานันท์ และฉัตรวรัญช์ องคสิงห์. (2561). นวัตกรรมการศึกษา : การดำรงอยู่

ของโฮสเทลในสังคมไทย. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยทักษิณ, 18(1), 128-134.

สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน. (2563). รายงานสถิติพลังงานของประเทศไทย ปี พ.ศ.2563.

กรุงเทพฯ: สำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน กระทรวงพลังงาน.

สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม. (2563). ประกาศสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจ

ขนาดกลางและขนาดย่อม เรื่อง การกำหนดลักษณะของวิสาหกิจรายย่อย. สืบค้นเมื่อ23

ธันวาคม2563 จาก http://www.oic.go.th/FILEWEB/CABINFO

CENTER2/DRAWER039/GENERAL/DATA0000/00000651.PDF

สานิตย์ หนูนิล. (2559). การพัฒนาโมเดลความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อผลการ

ดำเนินงานที่ยั่งยืนของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สานิตย์ หนูนิล และคณะ. (2560). การพัฒนาโมเดลความรับผิดชอบต่อสังคมเชิงกลยุทธ์เพื่อ

ผลการดำเนินงานที่ยั่งยืนของธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 11(ฉบับพิเศษ), 171-185.

สุพีร์ ดาวเรือง และชวนชื่น อัคคะวณิชชา. (2562). พฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กร

เรื่องการรักษ์สิ่งแวดล้อม: ผลกระทบของการไหลล้นจากพฤติกรรม การใช้ชีวิตส่วนตัวไปสู่การทำงาน. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 41(3), 74-101.

สมพงษ์ อำนวยเงินตรา. (2559). การสร้างมูลค่าเพิ่มธุรกิจโรงแรมด้วยกลยุทธ์ Blue Ocean.

วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 36(1), 1-23.

อรุณวรรณ ปราบพาล. (2563). โรงแรมที่ได้รับรางวัลจากการนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมา

ประยุกต์ใช้. วารสารสาระศาสตร์, 3(1), 68-80.

Bocken, Short and Evans. (2014). A Literature and Practice Review to Develop

Sustainable Business Model Archetypes. Journal of Cleaner Production, 65, 42–56.

Cardeal, Höse, Ribeiro, & Götze. (2020). Sustainable Business Models–Canvas

for Sustainability, Evaluation Method, and Their Application to Additive Manufacturing In Aircraft Maintenance. Sustainability (Switzerland), 12(21), 1–22.

Chun and Lee. (2016). Environmental Impacts of the Rental Business Model

Compared to the Conventional Business Model: a Korean Case of Water Purifier for Home Use. The International Journal of Life Cycle Assessment, 22, 1096-1108.

Freeman, R. E., Harrison, J. S., Wicks, A. C., Parmar, B.L., & DeColle, S. (2010). Stakeholders Theory: The State of the Art. New York: Cambridge University Press.

Gamidullaeva, Shmeleva, Tolstykh, and Shmatko. (2022). An Assessment Approach

to Circular Business Models within an Industrial Ecosystem for Sustainable

Territorial Development. Sustainability, MDPI, 14(2), 1.

García-Muiña, Medina-Salgado, Ferrari, & Cucchi. (2020). Sustainability Transition in

Industry 4.0 and Smart Manufacturing with the Triple-Layered Business Model Canvas. Sustainability, MDPI, 12(6), 1-19.

Hendrickson, et. al. (2006). Fruit and vegetable access in four low-income food deserts communities in Minnesota. Agriculture and Human Values, 23, 371-383.

Graedel, T. E. (1997). The grand objectives: A framework for prioritized grouping of environmental concerns in life-cycle assessment. Journal of Industrial Ecology, 1(2), 51– 64.

Osterwalder and Pigneur. (2010). Business Model Generation. New Jersey:

John Wiley & Sons, Inc., Hoboken.

Porter, M. E. (November–December 1996). What is Strategy? Harvard Business Review, 74(6), 61–78.

Porter, M. E., & Kramer, M. R. (January–February 2011) Creating Shared Value. Harvard Business Review, 89(1-2), 62–77.

Pal & Gander. (2018). Modelling environmental value: An examination of

sustainable business models within the fashion industry. Journal of Cleaner Production, 184, 251-263.

Podsakoff, et al. (2003). Common Method Biases in Behavioral Research: A

Critical Review of the Literature and Recommended Remedies. Journal of Applied Psychology, 88(5), 879-903.

Reio. (2010). The threat of common method variance bias to theory building.

Human Resource Development Review, 9(4), 405-411.

Richardson. (2008). The Business Model: An Integrative Framework for Strategy

Execution. Strategic Change, 17, 133–144.

Upward and Jones. (2016). An Ontology for Strongly Sustainable Business Models:

Defining an Enterprise Framework Compatible with Natural and Social Science. Organization and Environment, 29(1), 97-123.

Wijethilake & Lama. (2019). Sustainability core values and sustainability risk

management: Moderating effects of top management commitment and stakeholder pressure. Business Strategy and the Environment, 28(1),143.

Yamane. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. 3rd ed. New York: Harper

and Row Publications.

Yang and Yan. (2020). The Corporate Shared Value for Sustainable Development:

An Ecosystem Perspective. Sustainability, 12(6), 2348.