แนวทางส่งเสริมการส่งออกสินค้ากะสิกรรมด่านสากลพูเกือ แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ดวงจัน คำใบ
ไพศาล พากเพียร
ประสิทธิ์ กุลบุญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการณ์ส่งออกสินค้ากะสิกรรมและแนวทางส่งเสริมการส่งออกสินค้ากะสิกรรม ด่านสากลพูเกือ แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 25 คน ประกอบด้วย ผู้ประกอบการจาก 3 บริษัท เจ้าหน้าที่ภาษี 15 คน เจ้าหน้าที่อากรขนส่ง 3 คน เจ้าหน้าที่ตำรวจ 3 คน และเจ้าหน้าที่คุ้มครองด่าน 1 คน  และเจ้าหน้าที่แขนงกักกันพืช 3 คน โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามแบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. สภาพการณ์ส่งออกสินค้ากะสิกรรม ด่านสากลพูเกือ แขวงอัตตะปือ พบว่า สินค้ากะสิกรรมที่ส่งออก คือ 1) กล้วย ซึ่งเป็นผลผลิตจากแขวงอัตตะปือและส่งไปยังประเทศจีน 2) มันต้นดิบหรือมันต้นแห้ง กาแฟ และยางพารา เป็นผลผลิตจาก 4 แขวงภาคใต้ คือ แขวงปากเซ แขวงเซกอง แขวงสาละวัน และแขวงอัตตะปือ และส่งไปประเทศเวียดนาม และ 3) น้ำตาล กากน้ำตาล บักนอด (เสาวรส) บักโอหรือส้มโอ ผลผลิตอยู่แขวงอัตตะปือซึ่งเป็นสินค้าที่ขึ้นตรงกับบริษัทวังแอ่ง และบริษัทวังแอ่งเป็นผู้จัดส่งและส่งออกโดยตรง หน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องในการส่งออกสินค้ากะสิกรรมในด่านสากลพูเกือ ได้แก่ ภาษีอากร คุ้มครองด่าน ตำรวจ ซึ่งหน่วยงานต่างๆเหล่านี้จะเป็นหน่วยงานที่ให้ความร่วมมือในการส่งสินค้ากะสิกรรมออกจากด่านสากลพูเกือ ไปยังประเทศเวียดนาม ประเทศจีน และประเทศต่างๆ และเปิดทำการ ทุกวัน ระหว่างเวลา 07.00-19.00 น.

  2. แนวทางส่งเสริมการส่งออกสินค้ากะสิกรรมด่านสากลพูเกือ 1) ด้านเศรษฐกิจรัฐบาล ควรส่งเสริมให้มีการส่งออกสินค้ากะสิกรรมที่มีคุณภาพและมีการกำหนดความชัดเจนในการจัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียม รวมถึงระบบขั้นตอน กฎระเบียบ การอำนวยความสะดวก และนโยบายการกำหนดมาตรฐานการขนส่งและการส่งออกสินค้ากะสิกรรม 2) ด้านสังคมและวัฒนธรรม ควรมีการสร้างความน่าเชื่อถือให้กับนักธุรกิจ เพื่อให้มีความเชื่อมั่นในการขนส่งสินค้า มีการสร้างวัฒนธรรมองค์กรของธุรกิจการส่งออกของแต่ละประเทศให้มีความเท่าเทียบกันของประเทศที่คู่ค้า เช่น ลาว เวียดนาม จีน และมีการบริหารจัดการด้านการขนส่งของด่านสากลพูเกือให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล และ 3) ด้านกายภาพ ควรมีการสร้างสถานที่ที่มีความมั่งคงถาวร และมีขั้นตอนในการส่งออกสินค้ากะสิกรรมผ่านด่านสากลพูเกือที่มีลักษณะเป็นรูปธรรม เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมการค้าระหว่างประเทศ. (2556). รายงานสถิติการค้าชายแดนไทย. กรุงเทพฯ: กระทรวงพาณิชย์.

กองแผนงาน กลุ่มกิจการขนส่งระหว่างประเทศ. (2559) .ปัญหาการจัดเก็บค่าธรรมเนียมเกี่ยวกับ

การขนส่งสินค้าผ่านถนนสาย R3A. กรุงเทพฯ: กรมการขนส่งทางบก.

ฉัตรชัย เลื่อมประเสริฐ. (2553). การเปิดเสรีทางการค้าภายใต้ AFTA กับการปรับตัวสู่ AEC.

(ระบบออนไลน์).สืบค้นจาก http://www.thaifta.com/ thaifta//portals/0/

sem2aug_chat. Pdf (20 มกราคม 2564)

วิเชียร สกุลวงค์. (2562). การพัฒนารูปแบบการขนส่งสินค้าเพื่อสร้างผลสัมฤทธิ์ของผู้ประกอบ

การไทยด้านการขนส่งสินค้าในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว. ปรัชญา

ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสาธารณะวิทยาลัยพาณิชยศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา.

วัชรินทร์ ยงศิริ. (2554). สามเหลี่ยมเพื่อการพัฒนา CLV. คอลัมน์กระแสทรรศน์.

หนังสือพิมพ์มติชน(13 พฤษภาคม 2554).

ศูนย์ข้อมูลข่าวสารอาเซียน กรมประชาสัมพันธ์. (2559). EXIM BANK ปล่อยกู้แก่ JWD ขยาย

ธุรกิจโลจิสติกส์ของไทยในกัมพูชาและ สปป.ลาว. กรุงเทพฯ: ศูนย์ข้อมูลข่าวสาร

อาเซียน กรมประชาสัมพันธ์.

Tao, L. (2013). Empirical analysis on operational efficiency and its influential

factors of road transportation industry of China. Nanjing, China: School

of Economy and Management Nanjing University of Science and

Technology.