แนวทางการบริหารหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Main Article Content

ภัชญณัญ ภัทรพนาสกุล
ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบัน สภาพพึงประสงค์และความต้องการจำเป็นของการบริหารหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา และ 2) เพื่อเสนอแนวทางการบริหารหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยการวิจัยเป็นแบบผสมผสานแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การวิจัยเชิงปริมาณเพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพปัญหาของการบริหารหน่วยบริการ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ปกครองนักเรียนที่รับบริการที่หน่วยบริการ 15 แห่ง จำนวน 186 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น (PNI) ระยะที่ 2 การวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษาแนวทางการบริหารหน่วยบริการ  ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการเสนอแนวทางการบริหารหน่วยบริการ ได้แก่  กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการ กลุ่มหัวหน้าหน่วยบริการ และกลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 7 คน ผู้ให้ข้อมูลในการประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางการบริหารหน่วยบริการ ได้แก่ กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษา นักวิชาการ กลุ่มหัวหน้าหน่วยบริการ และกลุ่มผู้ปกครอง จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แนวทางการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และแบบประเมินแนวทางการบริหารหน่วยบริการ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของการบริหารหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยรวมอยู่ระดับมาก สภาพพึงประสงค์โดยรวมอยู่ระดับมากที่สุด และความต้องการจำเป็นเรียงลำดับมากไปหาน้อยดังนี้ ลำดับที่ 1 ด้านการสร้างเครือข่ายในชุมชน ลำดับที่ 2 ด้านการจัดการเรียนการสอนและการพัฒนาครู ลำดับที่ 3 ด้านการบริการและประชาสัมพันธ์ ด้านที่ 4 ด้านสถานที่และสภาพแวดล้อม และแนวทางการบริหารหน่วยบริการศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดพระนครศรีอยุธยา มี 26 แนวทาง มีความเหมาะสมและความเป็นไปได้อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

ทวีศักดิ์ สิริรัตน์เรขา. (2562). การศึกษาพิเศษ. สืบค้นเมื่อ 5 เมษายน 2566, จาก https://www.happyhomeclinic.com/Download/article/specialeducation.pdf

เนตรชนก ทองดำ. (2565). การจัดสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ของโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ สังกัดสำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ กลุ่ม 7. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.

วีซานา อับดุลเลาะ และ วุฒิชัย เนียมเทศ. (2563). การจัดสภาพแวดล้อมการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 แนวคิด ทฤษฎี และแนวทางปฏิบัติ. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์สาขามนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 615-619.

สมฤดี พละวุฑิโฒทัย (2564). การบริหารจัดการการศึกษาพิเศษในโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร).

สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (2560). คู่มือการปฏิบัติงานหน่วยบริการของศูนย์การศึกษาพิเศษ สำนักบริหารงานการศึกษาพิเศษ (ปรับปรุงครั้งที่ 1) ปีพุทธศักราช 2560. กรุงเทพมหานคร

สุจินต์ ใจกระจ่าง. (2553). สภาพการจัดการเรียนการสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญของโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยรามคำแหง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต,มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

สุดา มงคลสิทธิ์. (2562). กลยุทธ์การสร้างเครือข่ายความร่วมมือเพื่อพัฒนาการจัดการศึกษาในโรงเรียนเอกชนจังหวัดชลบุรี. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(19), 5843-5859.

สุวิทย์ หอมสมบัติ (2565). การพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์ที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร.

อภิบาล สุวรรณโคตร์และคณะ. (2563). การบริหารจัดการสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของสถานศึกษาทศูนย์เครือข่ายพัฒนาคุณภาพการศึกษาหนองบุญมาก 2 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 2. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์. ปีที่7. 80-85.

เอกราช สุเต็ม. (2563). แนวทางการบริหารจัดการหน่วยบริการประจำอำเภอ กรณีศึกษาศูนย์การศึกษาพิเศษ ประจำจังหวัดน่าน. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.