การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานระบบกำหนดตำแหน่งยานพาหนะ แบบอัตโนมัติ ในการติดตามการเดินทางขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก

Main Article Content

กิตติพงศ์ พิทักษ์กิตติสกุลถาวร
นิคม ลนขุนทด
เที่ยงธรรม สิทธิจันทเสน
อัษฎา วรรณกายนต์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานระบบ และ 2) ประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานระบบกำหนดตำแหน่งยานพาหนะแบบอัตโนมัติ ในการติดตามการเดินทางขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ตัวแทนผู้ประกอบการขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ที่เข้าร่วมประชุมคณะกรรมการสมาคมขนส่งภาคอีสาน ครั้งที่ 1/2564-2566) และพนักงานขับรถขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุกของห้างหุ้นส่วนจำกัด       สยาม เค กรุ๊ป รวมจำนวน 45 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบกำหนดตำแหน่งยานพาหนะแบบอัตโนมัติ และแบบประเมินความพึงพอใจ       ในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานระบบ โดยได้ดำเนินการถายทอดเทคโนโลยีด้วยการใช้วิธีแบบกลุ่มในการบรรยายให้ความรู้ในทางทฤษฎี และใช้วิธีแบบรายบุคคลในการปฏิบัติการใช้งานระบบ ให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานระบบ จากนั้น นำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัย 1)  ผลการถายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานระบบ พบว่า กลุ่มตัวอย่างผู้รับการถายทอดเทคโนโลยี ได้รับความรู้ในเรื่องระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก และได้ใช้งานระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก สำหรับติดตามการเคลื่อนที่ของรถบรรทุกในการเดินทางขนส่งสินค้า และสำหรับติดตามพฤติกรรมการขับรถของพนักงานขับรถที่อาจจะก่อให้เกิดอุบัติเหตุ   2)  ผลการประเมินความพึงพอใจในการถายทอดเทคโนโลยีและการใช้งานระบบ พบว่า มีระดับความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.49 โดยด้านสถานที่ระยะเวลาในการดำเนินการ และด้านความรู้ความเข้าใจ พบว่า มีระดับความพึงพอใจมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.75 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.42

Article Details

บท
Research Articles

References

กองแผนงาน กรมการขนส่งทางบก. (2565). การขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก : https://cutly.fun/Es2tp5F. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2565.

กิตติพงศ์ พิทักษ์กิตติสกุลถาวร. (2564). การออกแบบและพัฒนาระบบกำหนดตำแหน่ง

ยานพาหนะแบบอัตโนมัติ ในการติดตามการเดินทางขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก.

วิทยานิพนธ์หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

กิตติพงศ์ พิทักษ์สกุลถาวร นิคม ลนขุนทด และอัษฎา วรรณกายนต์. (2564).

การออกแบบและพัฒนาระบบกำหนดตำแหน่งยานพาหนะแบบอัตโนมัติ

ในการติดตามการเดินทางขนส่งสินค้าด้วยรถบรรทุก. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์.

(7) : 1-15.

จุฑาวุฒิ จันทรมาลี. (2565). หน่วยที่ 3 การขนส่งสินค้า. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :

http://dusithost.dusit.ac.th/~juthawut_cha/download/SDB_L3.pdf.

สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2565.

ธานินทร์ ศิลป์จารุ. (2549). การวิจัยและวิเคราะห์ทางสถิติด้วย SPSS. พิมพ์ครั้งที่ 5.

วี.อินเตอร์ พริ้นท์ : กรุงเทพมหานคร.

บริษัท ดี.ที.ซี.เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด (มหาชน). (2565). การขนส่งมีกี่ประเภท. [ออนไลน์].

เข้าถึงได้จาก : https://citly.me/RzWcZ. สืบค้น 8 กุมภาพันธ์ 2565.

นิคม ลนขุนทด และคณะ. (2562). การถ่ายทอดเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว เศรษฐกิจชุมชนและสินค้า OTOP. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(2) : 93-104.

ราชกิจจานุเบกษา. (2558). “กำหนดประเภทและลักษณะของรถที่ใช้ในการขนส่งผู้โดยสาร

ที่ต้องติดตั้งเครื่องบันทึกข้อมูลการเดินทางของรถก่อนการจดทะเบียน พ.ศ. 2558”.

(2558, ธันวาคม 25). กรมการขนส่งทางบก. ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 133

ตอนพิเศษ 9 ง. หน้า 12-13.

สุมาลี จันทร์ชะลอ. (2542). การวัดและประเมินผล. ศูนย์สื่อส่งเสริมกรุงเทพ :

กรุงเทพมหานคร.

สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี กระทรวงศึกษาธิการ. (2559). หนังสือรายวิชาพื้นฐาน คณิตศาสตร์ เล่ม 1 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2. พิมพ์ครั้งที่ 9. โรงพิมพ์ สกสค. ลาดพร้าว : กรุงเทพมหานคร.

อัษฎา วรรณกายนต์ และคณะ. (2563). “การถ่ายทอดเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด สำหรับข้อมูล

ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประเภทผักอินทรีย์”. การประชุมวิชาการระดับชาติ

“ราชมงคลสุรินทร ครั้งที่ 11” “วิจัยและนวัตกรรมวิถีใหม”. สุรินทร์ : มหาวิทยาลัย

เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์. : H58- H66.