การเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นชุมชนบ้านเสี้ยวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

เกศสุดา โภคานิตย์
กีฬา หนูยศ
ปาณิสรา หาดขุนทด

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบททางด้านสังคม การเมือง วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และเพื่อศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนบ้านเสี้ยวน้อย อำเภอเมือง จังหวัดชัยภูมิ โดยใช้ระเบียบการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Method) เครื่องมือวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก และสนทนากลุ่ม ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มอาชีพทอผ้าไหมย้อมสีธรรมชาติ, นักวิชาการ พระสงฆ์, ปราชญ์ชาวบ้าน, ผู้นำชุมชน, กลุ่มชาวบ้าน หน่วยงานภาครัฐและเอกชน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการพรรณนาวิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า ผลการศึกษาบริบททางด้านสังคม พบว่า มีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้น โครงสร้างทางสังคมเป็นแบบแนวราบหรือแนวนอน มีความเคารพซึ่งกันและกันทำให้การดำเนินงานหรือกิจกรรมต่างๆ ของชุมชนได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี ด้านการเมือง พบว่า มีการจัดระเบียบการปกครองตามหลักเกณฑ์และวิธีการของกระทรวงมหาดไทย จัดให้มีคณะกรรมการหมู่บ้าน (ก.ม.) แบ่งออกเป็น 2 ประเภท ได้แก่ คณะกรรมการบริหารหมู่บ้านโดยตำแหน่ง ประกอบด้วย ผู้ใหญ่บ้าน ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล และคณะกรรมการบริหารหมู่บ้านโดยการเลือก และมีการแบ่งโครงสร้าง การปกครองภายในชุมชนออกเป็นกลุ่มหรือเรียกว่า “คุ้ม” เพื่อความสะดวกในการดูแลและกระจายข่าวสารให้กับสมาชิกภายในชุมชนได้อย่างทั่วถึง ด้านวัฒนธรรมและเศรษฐกิจ พบว่า บุญประเพณีที่ปฏิบัติอยู่ในชุมชนนั้นเป็นเครื่องมือกล่อมเกลาให้คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคีส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมต่างของชุมชน ผลการศึกษาการใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน พบว่า เกิดจากกระบวนการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในชุมชน ได้เชื่อมโยงการพัฒนาการประกอบอาชีพ มีกระบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชนผ่านกองทุนต่างๆ ภายในชุมชน ผ่านภูมิปัญญาระหัดวิดน้ำ ด้านสังคม พบว่า ชุมชนบ้านเสี้ยวน้อยมีการรวมกลุ่มกันเพื่อทำกิจกรรมต่างๆ ด้านการเมือง พบว่า คนในชุมชนให้สำคัญกับการเลือกตั้งทั้งในระดับชุมชน ระดับท้องถิ่น รวมถึงระดับชาติด้วย การไปใช้สิทธิ์ออกเสียงเลือกตั้ง เป็นการปลูกฝังให้ชุมชนมีส่วนร่วมในการเลือกตั้งที่ถูกต้อง ด้านวัฒนธรรม พบว่า ประเพณีบุญเดือนสิบ หรือประเพณีแห่ผีสุ่ม เป็นเครื่องมือกล่อมเกลาให้คนในชุมชนเกิดความรักความสามัคคีส่งผลต่อการดำเนินกิจกรรมขององค์กรชุมชน ด้านเศรษฐกิจ พบว่า อาชีพการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม ผ้าไหม และผลิตภัณฑ์อื่นจากหม่อนไหม เช่น ชาใบหม่อน ผลหม่อน ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางจากโปรตีน และสารสกัดจากหม่อน

Article Details

บท
Research Articles

References

กมลศักดิ์ วงศ์ศรีแก้ว. (2560). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็ง : กรณีศึกษาชุมชนพูนบำเพ็ญ

เขตภาษีเจริญ กรุงเทพมหานคร. วารสารการพัฒนาชุมชนและคุณภาพชีวิต,

(1), หน้า 47.

กัมพล เพ็ชรล้อมทอง, สุรภา เอมสกุล และ ธนัสถา โรจนตระกูล (2564). กระบวนการ

สร้างชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนแบบพึ่งพาตน. Journal of Roi Kaensarn

Academi ปีที่ 6 ฉบับที่ 12 ประจำเดือนธันวาคม 2564. หน้า 354-38.

ชลภัสส์ วงษ์ประเสริฐ. (2551). การสังเคราะห์นิยามและแนวคิดเกี่ยวกับภูมิปัญญาไทย.

วารสารวิจัยสมาคมห้องสมุด. 1, 1 (มกราคม - มิถุนายน) 50-59.

ทวีศักดิ์ นพเกสร. (2542). วิกฤติสังคมไทย 2542 บทบาทวิทยากรกระบวนการเล่ม 2.

กรุงเทพ : สำนักงานกองทุนเพื่อสังคมไทย ธนาคารออมสิน.

ธีวัฒน์ จันทึก, มุกกระจ่าง จรณี และกนกอร เนตรชู. (2559). ปัจจัยเชิงสาเหตุของการ

บริหารการมีส่วนร่วมของประชาชน เพื่อสร้างความเข้มแข็งของชุมชน ใน

ภูมิภาคตะวันตกของประเทศไทย. วารสารราชมงคลล้านนา ปีที่ 4 ฉบับที่ 2

กรกฎาคม – ธันวาคม 2559. หน้า 60-69.

พรหมธีระ พรหมสถิต. (2557). บทบาทธนาคารต้นไม้ต่อการส่งเสริมความเข้มแข็งของ

ชุมชน กรณีศึกษาธนาคารต้นไม้สาขาบากแดง ตำบลวังตะกอ อำเภอหลังสวน

จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2557, หน้า 6.

สุธิดา บัวสุขเกษม. (2554). แนวทางการพัฒนาบทบาทของสภาองค์กรชุมชนในการ

ส่งเสริมความเข้มแข็งของชุมชน: กรณีศึกษาตำบลหนองประดู่ อำเภอเลาขวัญ

จังหวัดกาญจนบุรี, วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต, คณะสังคมสงเคราะห์

ศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, 2554, หน้า 40.

สุพจน์ แสงเงิน และคณะ. (2550). วิถีไทย. พิมพ์ครั้งที่ 3, กรุงเทพฯ : สำนักงาน

พระพุทธศาสนาแห่งชาติ.

สุภางค์ จันทวานิช. (2549). วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์

จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อุทัย ดุลยเกษม และอรศรี งามวิทยาพงศ์. (2540). ระบบการศึกษากับชุมชน : กรอบ

ความคิดและข้อเสนอเพื่อการศึกษาวิจัย. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุน

สนับสนุนการวิจัย.

เอกวิทย์ ณ ถลาง. (2540). ภูมิปัญญาสี่ภาควิถีชีวิตและกระบวนการเรียนรู้ของชาวบ้าน

ไทย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.