บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพของโรงเรียนกลุ่มเมืองบางปู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 2) เพื่อเปรียบเทียบความคิดเห็นต่อบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยจำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา ประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูในโรงเรียนกลุ่มเมืองบางปู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 1 จาก 6 โรงเรียน จำนวน 181 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามมีค่าดัชนีความสอดคล้องทั้งฉบับ (IOC) เท่ากับ .96 รายข้ออยู่ระหว่าง .67-1.00 และค่าความเที่ยงเท่ากับ .96 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับบทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการเสริมสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพทั้งภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ รองลงมาตามลำดับ คือ ด้านนโยบายทิศทางและวิสัยทัศน์ของสถานศึกษา ด้านการเสริมสร้างบรรยากาศการปฏิบัติงานร่วมกันในสถานศึกษา ด้านการเรียนรู้และพัฒนาวิชาชีพ ด้านการส่งเสริมภาวะผู้นำร่วม และด้านการส่งเสริมและพัฒนาครู บุคลากร 2) ครูที่มีเพศ และประสบการณ์ในการปฏิบัติงาน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01และ.05 เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษา และขนาดโรงเรียนมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กระทรวงศึกษาธิการ. (2565). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของ
กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 ลงวันที่ 29 ธันวาคม 2565. ค้นเมื่อ
สิงหาคม 2566. จาก ttps://moe360.blog/2022/01/19/policy-and-focus-moe.
คณะจิตวิทยา มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์. (2562). Gender Role – บทบาททางเพศ. ค้นเมื่อ 21
สิงหาคม 2566, จาก https://www.psy.chula.ac.th/th/feature-articles/gender-role.
บุษยมาศ แสงเงิน. (2556). ประสบการณ์ที่แตกต่าง. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2566, จาก
https://www.gotoknow.org/posts/385483.
เบญจพร สุคนธร. (2565). บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอน
ออนไลน์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา กรุงเทพมหานคร เขต 2.
ปริญญามหาบัณฑิต, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศิลปะศาสตร์, มหาวิทยาลัยเกริก.
พงศ์กฤษณ์ ช่วยทอง. (2555). เทคโนโลยีสารสนเทศกับการพัฒนาการศึกษา. ค้นเมื่อ 22 สิงหาคม
, จาก https://www.gotoknow.org/posts/194415.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ ,สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3). กรุงเทพมหานคร: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2560). คู่มือประกอบการอบรมการขับเคลื่อน
กระบวนการ PLC ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สู่สถานศึกษา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.
สำนักงานจังหวัดสมุทรปราการ. (2564). การศึกษาสมุทรปราการ. ค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566, จาก
https://www.samutprakan.go.th.
DuFour R. (2007). Middle School Journal. Professional Learning Communities : A
Bandwagon, an Idea Worth Considering, or Our Best Hope for High Levels
of Learning.
Hargreaves, A. (2003). Teaching in the knowledge society : Education in the age of
insecurity. New York: Teachers College Press.
Likert, R. (1967). The method of constructing and attitude scale In Reading in
Fishbeic M(Ed). Attitude Theory and Measurement. New York: wiley
and Son.
Sergiovanni, T.J. (1994). leadership as pedagogy, capital development and school
effectiveness. International Journal of Leadership in Education. San Francisco : Jossey-Bass.