คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพและปัจจัยทำนายพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ จังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อณัญญา ลาลุน

บทคัดย่อ

 การวิจัยเชิงพรรณานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ  พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มและปัจจัยทำนายพฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุ ตำบลนาเสียว จังหวัดชัยภูมิจำนวน 89 คน ได้จากการเลือกตัวอย่างแบบสะดวกเครื่องมือวิจัยได้แก่ แบบสอบถามมี  ส่วน 1) ข้อมูลทั่วไป 2) คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพ 3)ความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม 4) พฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม แบบสอบถามส่วนที่ 2-4 หาค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหา เท่ากับ0.83 มีค่าสัมประสิทธิ์ความเที่ยงเท่ากับ 0.76,0.86 และ0.82 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงบรรยายและการวิเคราะห์การถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่าคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของผู้สูงอายุพบว่ามีค่าเฉลี่ยคุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพโดยรวมอยู่ในระดับดี มีค่าเฉลี่ย 2.56 (S.D.=0.50) พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุพบว่าโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง (Mean=2.94,S.D.=0.30) และปัจจัยที่สามารถทำนายพฤติกรรมป้องกันการพลัดตกหกล้ม ได้แก่ คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพด้านสังคมและเศรษฐกิจและความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้ม โดยร่วมกันพยากรณ์พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มในผู้สูงอายุได้ร้อยละ 39.5 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01

Article Details

บท
Research Articles

References

กนกวรรณ เมืองศิริ, นิภา มหารัชพงศ์ และยุวดี รอดจากภัย. (2560). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อ

พฤติกรรมการป้องกันการหกล้มของผู้สูงอายุ จังหวัดชลบุรี. Naresuan University Journal: Science and Technology. 25(4): 23-33.

กฤษฎากมล ชื่นอิ่ม. (2555). คุณภาพชีวิตในมิติสุขภาพของผู้สูงอายุที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมในชุมชน

จังหวัดสมุทรสาคร.ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต.บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริส

เตียน.สมุทรสาคร.

กรมควบคุมโรค, ตารางแสดงจำนวนและอัตราผู้ป่วยนอกจากการพลัดตกหกล้มนอกผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปขึ้นไป ตอประชากรผู้สูงอายุแสนคน จำแนกรายจังหวัด ป พ.ศ. 2560-2565. [อินเตอร์เน็ต].; [สืบค้นเมื่อวันที่2 สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/3470120230612083716.pdf

ขวัญเรือน ก๋าวิตู และชนิดา มัททวางกูร. (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการควบคุมระดับ

น้ำตาลในเลือดของผู้สูงอายุที่เป็นโรคเบาหวานที่อาศัยอยู่ในชุมชนรอบมหาวิทยาลัยสยาม. วารสารพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม, 20(38), 82-95.

พลศักดิ์ จิระวิพูลวรรณ. (2560). Osteoarthritis คือโรคข้อเสื่อมจริงหรือ? .วารสารกรมการ

แพทย์. (42)3:28-33.

เพ็ญรุ่ง วรรณดี, จิรพรรณ โพธิ์ทอง และอุมากร ใจยั่งยืน. (2563). การศึกษาสถานการณ์การหกล้ม

ในผู้สูงอายุในชุมชน จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารศูนย์อนามัยที่ 9.14(34): 126-141

วรัญญ์ศิชา ทรัพย์ประเสริฐ, ทอแสง พรหมนีวงศ์, วรวรรณ แก้วราษ, สิราวรรณ มีสะอาด, อภิญญา

สืบจากหล้าและคณะ. (2564).ความสัมพันธ์ระหว่างพหุปัจจัยเชิงนิเวศวิทยาสังคมกับ

ความเสี่ยงต่อการพลัดตกหกล้มของผู้สูงอายุ ตำบลบ้านปึก อำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี. วารสารสาธารณสุขและวิทยาศาสตร์สุขภาพ. 4(2):123-238.

วีรศักดิ์ เมืองไพศาล. (2560). พฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุสำหรับการดูแลผู้ป่วยสูงอายุขั้นต้น.กรุงเทพฯ : สมาคมพฤฒาวิทยาและเวชศาสตร์ผู้สูงอายุไทย.

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. (2565). การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ

ป้องกันได้ด้วยการประเมินและจัดการความเสี่ยง. [อินเตอร์เน็ต].; [สืบค้นเมื่อวันที่2

สิงหาคม 2566]. ค้นได้จาก: www.thaincd.com

Reis JG, Gomes MM, Neves TM, Petrella M, Oliveira RD and Abreu DC.

(2014) .Evaluation of Postural control and Quality of life women with knee

osteoarthritis. Revista brasileira de Reumatologia. (54)3: 208-212.