การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำไม่ตรงมาตราตัวสะกด โดยใช้แบบฝึกพัฒนาการเขียนสะกดคำ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

นวรัตน์ สังข์สร
ประภาศ ปานเจี้ยง
เก็ตถวา บุญปราการ

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อหาประสิทธิภาพ (E1/E2) ของแบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ตามเกณฑ์ 80/80 เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด และเพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนในเครือข่ายสถานศึกษาสี่เมืองสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ปีการศึกษา 2564 จำนวน 2 ห้องเรียน ซึ่งมีจำนวน 50 คน คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนวัดม่วงค่อม จำนวน 25 คน และโรงเรียนวัดควนลัง (มิตรภาพที่ 11) จำนวน 25 คน ซึ่งได้มาจากวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ ประกอบด้วย 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน (Pretest - Posttest) เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนัก เรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด การวิเคราะห์ข้อมูล ทำได้โดยการวิเคราะห์หา ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ร้อยละ และสถิติทดสอบที (t-test for dependent sample)


ผลการวิจัยพบว่า 1) แบบฝึกทักษะ เรื่อง การเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกด มีประสิทธิิภาพ (E1/E2) 84.00/86.00 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2  มีค่าเฉลี่ยหลังเรียนโดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5 3) ผลความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปที่ 2 ตอชุดการจัดการเรียนรู้โดยใช้แบบฝึกพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่ไม่ตรงมาตราตัวสะกดอยูในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ..(2553)..หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน..พุทธศักราช 2551...

พิมพ์ครั้งที่ 3..กรุงเทพฯ.:.โรงพิมพ์ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.จำกัด.

_______________.(2553)... แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้..ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กฤตยากาญจน์ อินทร์พิทักษ์. (2562). การพัฒนาความสามารถ การอ่านและการเขียนคำภาษาไทยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดสมองเป็นฐาน.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 14(4), 96.

กิตติยา คำจันทร์. (2564). การสร้างแบบฝึกทักษะภาษาไทย เรื่องการเขียนสะกดคำพื้นฐาน สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนหนองกก จังหวัดศรีสะเกษ.วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 9(1), 76-85.

กุสุมา คำผาง. (2559). ผลของการจัดการเรียนการสอนเขียนสะกดคำภาษาไทยโดยใช้สมองเป็นฐานที่มีต่อทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนในระดับประถมศึกษา.วารสารอิเล็กทรอนิกส์ทางการศึกษา, 11(3), 326-342.

ถวัลย์ มาศจรัส. (2546). นวัตกรรมการศึกษาชุด แบบฝึกหัด - แบบฝึกทักษะ เพื่อพัฒนา

ผู้เรียนและการจัดทำผลงานทางวิซาการอาจารย์ 3 และบุคลากรทางการศึกษา

(ครูชำนาญการครูเชี่ยวชาญ และครูเชี่ยวชาญพิเศษ). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ธารอักษร.

นภาพร แสงตัน. (2554). ผลการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและการเขียนสะกดคำมาตราตัวสะกดโดยใช้เกม

การศึกษาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3.เชียงใหม่: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเชียงใหม่ เขต 3, 2554.

ปาลิตา อิธิตา. (2563). การสร้างแบบฝึกทักษะ การอ่านและการเขียนมาตราตัวสะกดของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านมูเซอ. การค้นคว้าอิสระ การศึกษามหาบัณฑิต. พิษณุโลก: มหาวิทยาลัยนเรศวร.

ปิยวรรณ สังข์จันทรเพชร. (2550). การพัฒนาชุดการสอนเสริมทักษะการเขียนสะกดคำภาษาไทยไม่ตรง

ตามมาตราตัวสะกด สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.

พจนีย์ บุญสว่าง. (2558). การพัฒนากิจกรรมแบบร่วมมือโดยใช้เทคนิค STAD ที่ส่งเสริมความสามารถในการเขียนสะกดคำไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์ กศ.ม. มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก.

พัชราภรณ์ นามทอง. (2561). การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านและการเขียนสะกดคําภาษาไทยด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ใช้สมองเป็นฐานประกอบแบบฝึกทักษะ ชั้นประถม ศึกษาปีที่ 1. ในรายงานสืบเนื่องจากการประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับบัณฑิตศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ มหาสารคาม 2561.

รอน น้อมถวาย. (2559). การพัฒนาแบบฝึกทักษะการเขียนคำศัพท์พื้นฐานเพื่อส่งเสริมทักษะการเขียนสะกดคำของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปี ที่ 6 โรงเรียนอนุบาลสามเสน (สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลอุปถัมภ์) (การศึกษาค้นคว้าอิสระศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์. (2553). นวัตกรรมตามแนวคิดแบบ Backward Design. มหาสารคาม :

ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

สังวาล์ จันทร์เทพ. (2562). การใช้แบบฝึกเสริมทักษะพัฒนาการอ่านตัวสะกดไม่ตรงมาตรา ด้วยกิจกรรมการเรียนรู้ร่วมมือเทคนิค STAD สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนเทศบาล 1 วัดพรหมวิหาร อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. วารสารบัณฑิตวิจัย, 10(1), 23-40.

สุนีย์ แก้วของแก้ว. (2559). การพัฒนาทักษะการเขียนสะกดคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตรา ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้แบบฝึกการประสมอักษร. (สารนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาพิเศษ). บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เอกรินทร์ สี่มหาศาล และสุปรารถนา ยุกตะนันทน์. (2551). การออกแบบเครื่องมือวัดและประเมิน

ตามสภาพจริง. กรุงเทพฯ : บุ๊ค พอยท์.