การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านดงบากใหม่หินคำ เมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตย

Main Article Content

แสงพะจัน พิมพงพาสะหวัด
ไพศาล พากเพียร
ประสิทธิ์ กุลบุญญา

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบริบทของชุมชน และการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านดงบากใหม่หินคำ เมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีเจาะจงเลือกผู้ที่สามารถให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ กลุ่มผู้นำชุมชน นายบ้าน องค์การจัดตั้ง กลุ่มชาวหนุ่ม สมาพันแม่บ้าน เมืองสะหนามไช จำนวน 7 คน และประชาชนที่อาศัย อยู่ในบ้านดงบากใหม่หินคำ เมืองสะหนามไช จำนวน 18 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ  แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ และการวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัย พบว่า


  1. บริบทชุมชนบ้านดงบากใหม่หินคำ อาชีพหลัก คือ การกะสิกรรม อาชีพรอง คือ การเลี้ยงสัตว์ มีความสัมพันธ์กันอย่างแน่นแฟ้น มีผู้นำที่เป็นทางการ ได้แก่ นายบ้าน รองนายบ้าน ทำหน้าที่เป็นตัวแทนของทางการในการปกครองดูแลรักษาความสงบเรียบร้อย แนวโฮมบ้าน ทำหน้าที่เป็นที่ปรึกษาแก่นายบ้านและคณะอำนาจการปกครองจัดตั้งพื้นฐานซึ่งเป็นคณะกรรมการของหมู่บ้าน คณะชาวหนุ่มเป็นกองกำลัง ทำหน้าที่ดูแลรักษาความสงบของหมู่บ้าน สหพันธ์แม่หญิงดูแลเกี่ยวกับครอบครัวและเด็กด้านความเป็นอยู่และการส่งเสริมอาชีพ ส่วนผู้นำตามธรรมชาติ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆ ของหมู่บ้าน ได้แก่ ปู่อาจารย์ หมอยาพื้นเมือง ผู้อาวุโสของหมู่บ้าน และพระภิกษุ

  2. การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนบ้านดงบากใหม่หินคำ เมืองสะหนามไช แขวงอัตตะปือ ประชาชนควรเข้าร่วมติดตามดำเนินการในกิจกรรมต่างๆร่วมกับภาครัฐ ภาคเอกชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้มากยิ่งขึ้น โดยการร่วมสำรวจข้อมูลเพื่อค้นหาปัญหาในการพัฒนาหมู่บ้านปัญหาที่ประชาชนเสนอเป็นการกระตุ้นให้ภาครัฐ ภาคเอกชนหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องปฏิบัติเพื่อปรับปรุงแก้ไข การสนับสนุนการรวมกลุ่มทำกิจกรรมโดยมีการระดมทรัพยากร ได้แก่ เงิน คน ทรัพยากรธรรมชาติ วัสดุอุปกรณ์ ที่มีอยู่ภายในหมู่บ้าน รวมถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ความรู้ของปราชญ์ชาวบ้านและความรู้ใหม่จากผู้ทรงคุณวุฒิ ร่วมแก้ไขปัญหาอุปสรรคที่เกิดขึ้นในระหว่างการพัฒนา ร่วมจัดลำดับความสำคัญของปัญหาตามความเร่งด่วนในการพัฒนาหมู่บ้าน เพื่อให้มีการปฏิบัติอย่างจริงจัง และภาครัฐควรเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการรับรู้ รับฟังผลการดำเนินงานและเสนอแนะ ซึ่งภาครัฐหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ให้ความสำคัญในส่วนนี้ซึ่งมีเพียงบางประเด็นที่ผู้วิจัยรวบรวมและได้นำเสนอไว้ เพื่อประโยชน์แก่การพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีประสิทธิภาพเกิดประสิทธิผลแก่ประชาชนอย่างเป็นรูปธรรมเพื่อความมั่นคง ยั่งยืน ต่อไป

Article Details

บท
Research Articles

References

นครมะดีนะห์ มะแอ. (2559). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาล

ตำบลยะหริ่งจังหวัดปัตตานี. รัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยรามคาแหง. 2559.

พระปลัดธนากร สนฺตมโน (เพราะถะ). (2561). รูปแบบการพัฒนาชุมชนแบบมีส่วนร่วมเชิงพุทธ

ของเทศบาลเมืองวังสะพุง จังหวัดเลย.ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชา

พระพุทธศาสนา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มูฮัมหมัดซากีรีน โต๊ะลู. (2559). การมีส่วนร่วมในการพัฒนาชุมชนของประชาชนในเขตเทศบาล

ตำบลโคกโพธิ. จังหวัดปัตตานี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสังคมศาสตร์เพื่อ

การพัฒนา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สีสะหวาด สีดาวง. (2558). แนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมในการจัดการน้ำเพื่อการชลประทาน

ของประชาชนในพื้นที่โครงการบ้านพะลิง เมืองโพนทอง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐ

ประชาธิปไตยประชาชนลาว. รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหาร

การพัฒนาท้องถิ่น บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.

สุวิดา ตัณฑประศาสน์. (2559). รูปแบบการพัฒนาชุมชนโดยการมีส่วนร่วมของชนเผ่าลื้อ

บ้านน้ำเงิน เมืองเวียงภูคา แขวงหลวงนํ้าทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

(สปป.ลาว). ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนาภูมิภาค

บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2559.