แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักรสานหวายของบ้านแบ่งด่าน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

สุวัน สอนสุลิยะสัก
ธรรมรักษ์ ละอองนวล
ประสิทธิ์ กุลบุญญา

บทคัดย่อ

            แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานหวายบ้านแบ่งด่าน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว วัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานของกลุ่มหัตถกรรมจักสานหวายของบ้านแบ่งด่าน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อศึกษาแนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานหวายของบ้านแบ่งด่าน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณโดยการสอบถาม และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ ตัวอย่าง จำนวน 169 คน ผู้ให้ข้อมูลหลัก จำนวน 17 คน สถิติวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า  สภาพการดำเนินงานของกลุ่มหัตถกรรมจักสานหวายของบ้านแบ่งด่าน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวโดยภาพรวม มีการดำเนินงานอยู่ในระดับปานกลาง การจัดการทรัพยากรมนุษย์มีการสรรหาบุคคลที่มีความสามารถมาร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มอาชีพ การจัดการการตลาดมีการดำเนินการสำรวจความต้องการของตลาด การบัญชีการจัดการการเงิน และงบประมาณมีการวางแผนบริหารการจัดการทรัพย์สิน หนี้สิน และสินค้าคงเหลือของกลุ่ม การจัดการการผลิตมีการติดตามผลการปฏิบัติงานของกลุ่มอาชีพ การวางแผนมีการประชุมการวางแผนการผลิตสินค้า  แนวทางพัฒนาผลิตภัณฑ์หัตถกรรมจักสานหวายของบ้านแบ่งด่าน เมืองละคอนเพ็ง แขวงสาละวัน  สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว คณะกรรมการควรมีการวางแผนการทำงานทั้งด้านการผลิต การตลาด การเงิน ปฏิบัติการควบคุม และประเมินผล การจัดองค์การควรมีการกำหนดโครงสร้างของกลุ่มผู้ผลิตหัตถกรรมจักสานหวาย แต่งตั้งคณะกรรมการแบ่งตามบทบาทหน้าที่ การจัดคนเข้าทำงานควรมีระบบการสรรหา และคัดเลือกสมาชิก การประสานงานควรจะมีการประสานงานกันในเรื่องการตลาด การเงิน การหาช่องทางการจัดจำหน่วย การรายงานผลคณะกรรมการควรมีการรายงานผลการดำเนินงานทุกสิ้นปี ควรมีการควบคุมคุณภาพการผลิตสินค้าในทุกขั้นตอน เพื่อทำให้หัตถกรรมจักสานหวายบ้านแบ่งด่าน เมืองละคอนเพ็ง มีความประณีต สีสันลวดลายสวยงาม โดยให้ภาครัฐเข้ามามีส่วนสนับสนุน

Article Details

บท
Research Articles

References

วารุณี สารีเครือ. “การเสริมสร้างความเข้มแข็งกลุ่มอาชีพขององค์การบริหารส่วนตำบลตะบ่าย อำเภอศรีเมืองใหม่ จังหวัดอุบลราชธานี,” วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยการจัดการและเทคโนโลยีอิสเทิร์น. 10 (มกราคม-มิถุนายน 2556): 38-43.

ปัณมนัส ทรัพย์เกรียงเดช. (2562). แนวทางในการส่งเสริมหัตถกรรมจักสานอำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรีสู่การท่องเที่ยวเชิงสร้างสรรค์. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยบูรพา.

จริวัฒน์ นาคพนม. (2549). การพัฒนารูปแบบการถ่ายทอด ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านจักสานของชุมชนในจังหวัดอ่างทอง. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

วัชรา ทองหยอด. (2550). การพัฒนาผลิตภัณฑ์งานจักสาน ตำบลป่าบง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, เชียงใหม่.

สุภาพร ชาววัง. (2552). การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาพื้นบ้านในการพัฒนาเครื่องจักสานเชิงพาณิชย์ จังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

วิภา แก้วปานกัน. (2552). แนวทางอนุรักษ์และพัฒนาหัตถกรรม เครื่องจักสานไม้ไผ่ในจังหวัดนครราชสีมา. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อนุชิต กุลมาลา. (2552). การศึกษาแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ หัตถกรรมพื้นบ้านจักสานไม้ไผ่ เพื่อเพิ่มมูลค่าเชิงพาณิชย์ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

อัญชลี คงทอง. (2553). แบบอย่างในการพัฒนาอาชีพจักสาน อำเภอพนัสนิคม จังหวัดชลบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย ขอนแก่น.

เอกพงศ์ อินเกื้อ, ประชา พิจักชา และอาณัฏ ศิริพิชญตระกูล. (2554). การศึกษาและพัฒนากระบวนการผลิตหัตถกรรมจักสาน สำหรับสร้างแนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อความยั่งยืนของจังหวัดอ่างทอง. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลพระนคร.