กระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ "บ้านทีโน๊ะโค๊ะ" หรือ "บ้านแม่อุสุ"ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก

Main Article Content

เกรียงไกร กันตีมูล
รัตติกาล โสภัคค์ศรีกุล
ชูวิทย์ กมุทธภิไชย

บทคัดย่อ

            การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. เพื่อศึกษาประวัติความเป็นมาลักษณะทางสังคมและวัฒนธรรม ของกลุ่มชาติพันธ์ปกาเกอะญอ ในภาคเหนือของประเทศไทย 2. เพื่อศึกษากระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านทีโน๊ะโค๊ะหรือบ้านแม่อุสุ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก3. เพื่อศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการ เพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในชุมชนบ้านทีโน๊ะโค๊ะ หรือ บ้านแม่อุสุ ตำบลแม่อุสุ อำเภอท่าสองยาง จังหวัดตาก แหล่งข้อมูลในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้ใหญ่บ้าน ผู้รู้ ผู้อาวุโสในชุมชน ครูโรงเรียนบ้านทีโน๊ะโค๊ะ หรือ บ้านแม่อุสุ  นักวิชาการและแกนนำเครือข่ายกะเหรี่ยง ผู้วิจัยเก็บข้อมูลโดยการสังเกต การสัมภาษณ์แบบเป็นทางการ การสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และการสนทนากลุ่ม จากนั้นนำข้อมูลที่ได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์ วิเคราะห์และนำเสนอโดยการบรรยาย


ผลการวิจัยพบว่า


กลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่ตั้งถิ่นฐานในประเทศไทย ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ทั้งในภาคเหนือตอนบนของประเทศไทยลงไปถึงภาคกลาง การตั้งถิ่นฐานอยู่อาศัยมักจะสร้างบ้านเรือนตามบริเวณหุบเขาที่มีลำธารไหลผ่านเพราะเป็นกลุ่มชาติพันธุ์ที่ให้ความสำคัญการผลิตทางการเกษตรเพื่อการบริโภคและการดำรงวิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ยังคงรักษาวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไว้ในเรื่องของการสร้างบ้านเรือนที่อยู่อาศัย ภาษา การแต่งกายกาย จารีตประเพณี คติความเชื่อที่แฝงอยูในวิถีชีวิตประจำวัน กระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนบ้านทีโน๊ะโค๊ะหรือบ้านแม่อุสุ พบว่ามีกระบวนการสร้างข้อตกลงร่วมกันการกำหนดบทบาทหน้าที่ของคนในชุมชนตลอดจนจัดการศึกษาโดยใช้โรงเรียนในชุมชนเป็นตัวขับเคลื่อนให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมการจัดรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการจัดการเพื่อรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในชุมชนบ้านทีโน๊ะโค๊ะหรือบ้านแม่อุสุ พบว่า ปัจจัยภายในของบ้านทีโน๊ะโค๊ะหรือบ้านแม่อุสุ มีผู้รู้ ผู้อาวุโสของชุมชนเป็นกลุ่มบุคคลที่สำคัญในการขับเคลื่อนในการรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนส่วนปัจจัยภายนอกมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมการรักษาและอนุรักษ์วัฒนธรรมวิถีชีวิตแบบ ปกาเกอะญอ อย่างต่อเนื่อง

Article Details

บท
Research Articles

References

กรรณิการ์ พรมเสาร์, 2541 “เพลงอึทากลางทุ่งนาปกาเกอะญอ: ปกาเกอะญอผู้ยิ่งใหญ่

และทำคือชีวิตปกาเกอะญอ” ใน สุวิชานนท์ รัตนภิมล, บรรณาธิการ.เพลง ดนตรี ชีวิต

ชาวดอย. พิมพ์ครั้งที่ 2 .กองทุนชุมชนรักป่า มูลนิธิพัฒนาภาคเหนือ มูลนิธิโตโยต้าแห่ง

ประเทศไทย : บีเอสการพิมพ์.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2546). “ศาสนาและอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์: กรณีศึกษาชนกะเหรี่ยงในประเทศไทยและประเทศพม่า,” รายงานการวิจัยเสนอต่อสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.

ขวัญชีวัน บัวแดง. (2551). พื้นที่พรมแดนแม่น้ำเมยกับความสัมพันธ์ชาติพันธุ์ กะเหรี่ยง-คนเมือง. เชียงใหม่:วนิดาการพิมพ์.

บุญช่วย ศรีสวัสดิ์, 2506 เชียงใหม่และภาคเหนือ,กรุงเทพฯ :คลังวิทยา.

ประวิตร โพธิอาศน์. (2538). “กะเหรี่ยงสะกอ”. ใน ชาวเขา: ความเข้าใจกับชนเผ่าต่างวัฒนธรรมประเพณี. เชียงใหม่: สถาบันวิจัยชาวเขา.

ราชบัณฑิตยสถาน (พิมพ์ครั้งที่ 6). (2539). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2526. กรุงเทพฯ : อักษรเจริญทัศน์

ศูนย์วิจัยชาวเขา. (2526). บรรณนิทัศน์ 5 สภาพของชาวเขาในประเทศไทย. จังหวัดเชียงใหม่: กรมประชาสงเคราะห์ Imprintเชียงใหม่ : กรม, 2526

สถาบันวิจัยชาวเขา. (2541). ชาวเขา :ความเข้าใจกับชนเผ่าต่างวัฒนธรรม. เชียงใหม่:นันทกานต์ กราฟฟิค การพิมพ์

สนและคณะ. (2554). ป่าสนวัดจันทร์ เรื่องราว ผืนดิน ป่าสนของปกาเกอะญอเมือเจะคี. เชียงใหม่: สำนักพิมพ์สันติภาพเพื่อสังคม.

สมภพ ลาชโรจน์. (2538). “กะเหรี่ยงโป”. ใน ชาวเขา: ความเข้าใจกับชนเผ่าต่างวัฒนธรรมประเพณี.เชียงใหม่: สถาบันวิจัยชาวเขา.

อภิญญา เฟื่องสกุล, 2546 อัตลักษณ์. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพฯ : คณะกรรมการสภาวิจัยแห่งชาติสาขาสังคมวิทยา ส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ. Geertz, Clifford, 1973 “The Integrative Revolution : Primordial Sentiments amd civil Politics in the New States” in The Interpretation of Cultures. New York : Basic Books.

Keyes, Charle F, 1976 “Toward a New Formulation of the Concept of Ethic Group”, Ethnicity,3:202-13. Leach, Edmund, 1954 Political Systems of Highland Burma. London : G. Bell and Sons.