การจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา: วิ่งเทรล New Normal เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวจังหวัดชัยภูมิ

Main Article Content

อัญชลี ชัยศรี
ทัศไนยวรรณ ดวงมาลา
สุนทร ปัญญะพงษ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา : วิ่งเทรล จังหวัดชัยภูมิ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ แบบสัมภาษณ์เป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลจาก ผู้ประกอบการหรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอุตสาหกรรมท่องเที่ยว จำนวน 12 คน นักวิชาการ 4 คน และเจ้าหน้าที่ของรัฐ 4 คน จากผลวิจัยพบว่า ศักยภาพในการจัดการท่องเที่ยวเชิงกีฬา : วิ่งเทรล จังหวัดชัยภูมิประกอบด้วย 1) ด้านสิ่งที่ดึงดูดใจ จากแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ ได้แก่อุทยานแห่งชาติไทรทอง อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม อุทยานแห่งชาติภูแลนคาและอุทยานแห่งชาติตาดโตน 2) ด้านความสะดวกในการเดินทาง นักท่องเที่ยว ส่วนใหญ่เดินทางมาร่วมกิจกรรมวิ่งเทรลด้วยรถยนต์ส่วนตัว การคมนาคมขนส่งภายในอุทยานฯ สามารถเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยวได้สะดวกสบาย มีสถานที่จอดรถเพียงพอและปลอดภัย 3) ด้านสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานให้นักท่องเที่ยว ร้านค้าอยู่ใกล้แหล่งแหล่งท่องเที่ยวและชุมชน ร้านอาหารสำหรับบริการที่หลากหลายและเพียงพอต่อความต้องการ  และ4) ด้านการบริการที่พัก ได้แก่ มีจำนวนที่พักที่เพียงพอต่อจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมวิ่งเทรล มีความหลากหลายด้านราคาและการบริการที่เหมาะสม

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2565). ยุทธศาสตร์กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา

ฉบับที่ 7 (พ.ศ. 2565 - 2570). กรุงเทพฯ: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.

ณัฐวุฒิ เหมาะประมาณและสุวารี นามวงศ์. (2560). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจเข้าร่วม

กิจกรรมการแข่งขันรถยนต์: ในรายการการแข่งขันบางแสน ไทยแลนด์ สปีด

เฟสติวัล จังหวัดชลบุรี. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, ปีที่ 11 (ฉบับที่ 2 เดือนพฤษภาคม-สิงหาคม 2560) , หน้าที่ 186-201.

สัจจา ไกรศรรัตน์. (2560). การเพิ่มคุณภาพและศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของภูมิภาค

ตะวันตก. ใน การประชุมวิชาการและนำเสนอผลงานวิจัยระดับชาติครั้งที่ 5.

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.

อัมรินทร์ สุขเกษม. (2562). การพัฒนาแนวทางการจัดการการท่องเที่ยวเชิงกีฬาของสโมสร

ฟุตบอลอาชีพ. วิทยาปริญญานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, สาขาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยวมหาวิทยาลัยพะเยา.

Aquino, R. S. (2020). Book Review: Dolezal, C., Trupp, A. & Bui, H. T.

(Eds.). (2020). Tourismand Development in Southeast Asia. Austrian Journal of Southeast–East Asian Studies, 13(1), 161–164.

Chuaybumrung, T. (2009). Role of Local Government Organization and

SustainableTourism Development Based on the Concept of Sufficiency Economy. Cabinet Press and the Royal Gazette.

Fourie, J., Siebrits, K., & Spronk, K. (2011). Tourist displacement in two

South African sport mega-events. Development Southern Africa, 361-365.