การบริหารงบประมาณของโรงเรียนมัธยมศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี

Main Article Content

ลิยาภรณ์ ศรีประเทศ
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์

บทคัดย่อ

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความคิดเห็นของครูปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายบริหารงบประมาณ ที่มีต่อการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นต่อการบริหารงบประมาณของครูปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำแนกตามเพศ อายุ ประสบการณ์สอน และขนาดของสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูปฏิบัติหน้าที่ในกลุ่มบริหารงานงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี จำนวนทั้งสิ้น 183 คน โดยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดโรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามมีความตรงเชิงเนื้อหา คือค่า IOC อยู่ระหว่าง .67 – 1.00 ค่าความเที่ยงเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย       ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และการทดสอบความแตกต่างรายคู่แบบ LSD ผลการวิจัย พบว่า  1) ความคิดเห็นของครูปฏิบัติหน้าที่ฝ่ายบริหารงบประมาณ ที่มีต่อสภาพการบริหารงบประมาณในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี   โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีจำนวน 2 ด้านที่ค่าเฉลี่ยเท่ากัน คือ ด้านการรายงานผลการดำเนินงาน และ ด้านการควบคุมภายใน  รองลงมา คือ ด้านการจัดทำแผนงบประมาณ ด้านการบริหารพัสดุและสินทรัพย์ ด้านการระดมทรัพยากรและการลงทุนเพื่อการศึกษา ด้านการบริหารการเงิน และ ด้านการบริหารบัญชี มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด 2) ผลการเปรียบเทียบพบว่า ครูมีความเห็นต่อการบริหารงบประมาณแตกต่างกัน ที่มีเพศ อายุ และประสบการณ์สอนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 ส่วนขนาดของสถานศึกษาต่างกันครูมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2556). คู่มือการหารโรงเรียนในโครงการพัฒนาการบริหารรูปแบบนิติ

บุคคล. กรุงเทพฯ : ชุมชนสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย

กระทรวงศึกษาธิการ. (2562) นโยบายและจุดเน้นของกระทรวงศึกษาธิการ ปีงบประมาณ 2564

ศธ.360 องศา. เข้าถึงได้จาก https://moe360.blog/2020/01/02/

คารมย์ พลกุล. (2554). สภาพปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัด สำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาบุรีรัมย์ เขต 1.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

จิตมณพิสุทธิ์ ยารัมย์. (2557). สภาพบริหารงบประมาณของของโรงเรียน สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่

การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์

ฐาปนา ฉิ่นไพศาล. (2564). การเงินธุรกิจ. พิมพ์ครั้งที่ 32. กรุงเทพฯ : ธนธัชการพิมพ์.

ธิดารัตน์ สืบญาติ. (2559). เอกสารการสอนรายวิชาการบริหารการคลังและงบประมาณ. สาขาวิชา

รัฐประศาสนศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.

นพดล จันที (2565) การศึกษาปัญหาการบริหารงานงบประมาณในโรงเรียน สังกัดสำนักงาน เขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครสวรรค์

บุญยวีร์ พัฒน์ธนกิตติโชค (2559). สภาพการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาในสหวิทยาเขต

เมืองบุรีรัมย์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 32. บัณฑิตวิทยาลัย :

มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.

ปาริตา ศุภการกำจร. (2558). การบริหารแบบมุ่งเน้นผลงานตามยุทธศาสตร์ของสถานศึกษาใน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 35. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง , 3(2) , 38-53.

ปิยะพงษ์ พันธ์สุภา (2564) การบริหารงบประมาณที่ส่งผลต่อประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 27. ครุศาสตรมหาบัณฑิต. มหาวิทยาลัย

ราชภัฏร้อยเอ็ด.

ภราดร หอมแย้ม. (2562). การบริหารพัสดุ และการจัดซื้อจัดจ้าง และการบริหารงบประมาณ.

ไฮเอ็ดพับลิชชิ่ง, บจก.

รักษณาลี สุริหาร (2563). สภาพและประสิทธิผลการบริหารงบประมาณของโรงเรียน สำนักงาน

เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราช

ภัฏสกลนคร.

รัตนา กลุ่มแก้ว (2563) สภาพและแนวทางการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาสังกัดสำนักงาน

คณะกรรมการการอาชีวศึกษา จังหวัดศรีสะเกษ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย ราชภัฏอุบลราชธานี.

รัตนา ศักดิ์ศรี. (2555). การศึกษาและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยม เขต 29. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏ อุบลราชธานี

ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สุภมาศ อังศุโชติ และอัฉรา ชำนิประศาสน์ และคณะ. (2562).สถิติสำหรับ

การวิจัยและเทคนิคการใช้ SPSS (ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 3) กทม:เจริญดีมั่นคงการพิมพ์

วราภรณ์ ธนากูลจีรวัฒน์. (2560). ประสิทธิภาพการบริหารงบปประมาณของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9. วรสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย , 9(2) , 304-318.

วาทินี สุรนารถ (2564) ศึกษาความต้องการจำเป็นในการพัฒนาการบริหารงานงบประมาณ ในยุค

นิวนอร์มัลของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ศรีสะเกษ ยโสธร. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

วิยะดา โพธิ์ทะโสม. (2559). ปัจจัยการควบคุมภายในที่ส่งผลต่อการบริหารงานงบประมาณ

โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 22. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วีระพงษ์ ก้านกิ่ง (2560). สภาพและปัญหาการบริหารงบประมาณของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัย

ราชภัฏอุบลราชธานี.

วรกาญจน์ สุขสดเขียว (2556). การบริหารงบประมาณสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นนิติบุคคลสังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 9. กรุงเทพฯ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ศิริพงษ์ เศาภายน. (2558). หลักและกระบวนการบริหารการศึกษาทฤษฎีและแนวปฏิบัติ.

กรุงเทพ,บริษัทมิตรภาพการพิมพ์และสติวิดิโอ. จำกัด.

สุธาทิพย์ ภูธรรมะ. (2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารงบประมาณของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครราชสีมา เขต 5. ครุศาสตรมหาบัณฑิต.

มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

เสกศักดิ์ จำเริญวงศ์. (2558). การบริหารการเงินธุรกิจ : แนวคิดและแนวปฎิบัติ. ปทุมธานี : โรง

พิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี (2564). แผนปฏิบัติการประจำปงบประมาณ

พ.ศ.2564 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี : กลุ่มงานแผนและนโยบาย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรี.

สำนักงานงบประมาณ. (2557). ระเบียบว่าด้วยการบริหารงบประมาณ 2557 (ฉบับที่6). กรุงเทพฯ:

ผู้แต่งสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560). แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560 –

เข้าถึงได้จาก http://www.lampang.go.th/public60/EducationPlan2.pdf