การประเมินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ จังหวัดกระบี่

Main Article Content

จินดา พึ่งหล้า
เบญจพร ชนะกุล
อโนทัย ประสาน

บทคัดย่อ

           การประเมินครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และความพึงพอใจของผู้บริหาร ครู และนักเรียน ที่มีต่อโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ซึ่งการประเมินในครั้งนี้ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มตัวอย่างผู้ให้ข้อมูลในการประเมินโครงการครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้บริหาร ประธานกรรมการสถานศึกษาและครู จำนวน 18 คนเป็นผู้บริหาร จำนวน 3 คน ประธานกรรมการสถานศึกษา จำนวน 1 คน และครู จำนวน 14 คน 2) นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 - 6 จำนวน 136 คน โดยเครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน 2 แบบประกอบด้วย 1. การประเมินเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถาม ประเมินด้านบริบท ประเมินด้านปัจจัยนำเข้า ประเมินด้านกระบวนการ และประเมินด้านผลผลิต เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ โดยใช้การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์โปรแกรม SPSS for Windows  2. การประเมินเชิงคุณภาพ โดยใช้ การสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ จะเป็นข้อความบรรยาย (Descriptive) ซึ่งได้ จากการสังเกต สัมภาษณ์ และการจดบันทึก ผลการประเมินโครงการ ด้านบริบท พบว่า ผู้บริหาร ประธานกรรมการสถานศึกษาและครู มีความคิดเห็นว่าโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ โดยรวม มีความเหมาะสม สอดคล้องกับนโยบายทางการศึกษา สภาพปัจจุบันปัญหา ความต้องการ และความจำเป็นในการดำเนินงาน อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.55)2 ด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ผู้บริหาร ประธานกรรมการสถานศึกษาและครู มีความคิดเห็นว่าโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 1 โดยรวม มีความเหมาะสม ปัจจัยนำเข้า ที่ใช้ในการดำเนินโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ ในด้านงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่ วัสดุ อุปกรณ์ ครุภัณฑ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และสิ่งอำนวยความสะดวกอื่น ๆ โดยรวม มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก (X̅= 4.01) ด้านกระบวนการ พบว่า ผู้บริหาร ประธานกรรมการสถานศึกษาและครู มีความคิดเห็นว่าโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 1 โดยรวม มีความเหมาะสม ขั้นตอน กระบวนการในการดำเนินงานผู้บริหารและครู มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.00)  ด้านผลผลิต พบว่า 1) ผู้บริหาร ประธานกรรมการสถานศึกษาและครู มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 1โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.14) 2) นักเรียน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานโครงการอาหารกลางวันโรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 1  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ 1 โดยรวม อยู่ในระดับมากที่สุด (X̅= 4.19).

Article Details

บท
Research Articles

References

กองทุนเพื่อโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. (2559). คู่มือการดำเนินงาน

โครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนประถมศึกษา. กรุงเทพมหานคร.

จินดาหรา พวงมาลา. (2560). แนวทางเพิ่มประสิทธิภาพการบริหาร โครงการอาหาร

กลางวันของโรงเรียนบ้านบางแก้ว. บัณฑิตวิทยาลัย : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ธงชัย ลาหุนะ. (2564). การจัดการโครงการอาหารกลางวันแบบมีส่วนร่วมด้วยชีวิตวิถีใหม่เพื่อ

คุณภาพความปลอดภัย อาหารกลางวันในโรงเรียนสาธิต. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย

สุโขทัยธรรมาธิราช.

นิดตา อุดมสารี. (2564). การประเมินโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนบ้านหนองไม้แดง.

นครสวรรค์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 3.

บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

พิพัฒน์ โพธิ์ยา. (2561). การประเมินโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนบ้านเปราะ.

นครสวรรค์: สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2.

รัตนา ดำทองเสน. (2560). การประเมินโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนบ้านบาโงย.

ยะลา:สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 1.

วรรณภา กาโยงแว่น. (2563). การประเมินโครงการอาหารกลางวันในโรงเรียนบ้านเมืองคอง

อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

อังคณา จารุพินทุโสภณ. (2560). ผลการใช้คู่มือการจัดการอาหารกลางวันสำหรับเด็กอนุบาล.

โรงเรียนกองทัพบกอุปถัมภ์เพชราวุธวิทยา ในพระอุปถัมภ์. วารสารวิชาการ