การพัฒนาความสามารถในการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

กาญน์ กาญจนมนตรี
ชลพร กองคำ
อารีวรรณ เอี่ยมสะอาด

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ และ 2) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่เรียนโดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 23 คน โรงเรียนซางตา ครู้สคอนแวนท์ ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ซึ่งได้มาด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่าง  โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบ และ 3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย  ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าทีสำหรับกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ผลการวิจัยพบว่า 1) ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบรวมพลัง 5 ขั้นตอน ผ่านชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ มีความพึงพอใจในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา ลาดพร้าว.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). แนวทางปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตร

แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุม

การเกษตรแห่งประเทศไทย.

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

(ฉบับปรับปรุง 2560). กรุงเทพฯ : ผู้แต่ง.

ชาตรี สําราญ. (2558). “สอนใหผู้เรียนคิดวิเคราะห์อย่างไร”. กรุงเทพฯ : สำนักปฏิรูป.

พรรณอร อุชุภาพ. (2561). การศึกษาและวิชาชีพครู. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิมพันธ์ เดชะคุปต์ และพเยาว์ ยินดีสุข. (2561). การเรียนรู้เชิงรุกแบบรวมพลังกับ PLC เพื่อการพัฒนา. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วรรณภา ศรีสายัณห์ และคณะ. (2563). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบบันได 5 ขั้น เพื่อ

พัฒนาทักษะการอ่านคิดวิเคราะห์วิชาภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

โรงเรียนบ้านด้ายเทพกาญจนาอุปถัมภ์ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย.

พิฆเนศวร์สาร. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เ ดือนมกราคม - มิถุนายน 2563.

วยุรี วงศ์สมศรี. (2560). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้วิชาภาษาไทย สาระที่ 4 หลักการใช้ภาษาไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้กระบวนการเรียนรู้ 5 ขั้น (5 STEP) วิทยานิพนธ์การศึกษา มหาบัณฑิตสาขาการวิจัยและประเมินผลการศึกษา ขอนแก่น โรงเรียนขามแก่นนคร.

ธราญา จิตรชญาวณิช. (2560). การศึกษาและความเป็นครูไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่ง

จุฬาลงกรณ์หาวิทยาลัย.

สุคนธ์ สินธพานนท์. (2561). นวัตกรรมการเรียนการสอน เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนใน

ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพฯ : 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.

สุชน วิเชียรสรรค์ และคณะ. (2561).

Bloom, B.S. (1956). Taxonomy of Education Objectives Hand Book I: Cognitive Domain. New York: David Mac Kay Company, Ince.

Hord, S.M. (1997). Professional learning communities: Communities of

continuous inquiry and improvement. Austin: Southwest

Educational Development Laboratory.

Southwest Educational Development Laboratory. (1997). Professional

learning communities, What Are They and Why Are They

Important? Issues About Change. 6(1): 1-4.