การประเมินความเสี่ยงและการบริหารความเสี่ยงแผนกจัดซื้อจัดหา กรณีศึกษา บริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

Main Article Content

วรวรรณ ตาวิยะ
ไพโรจน์ เร้าธนชลกุล

บทคัดย่อ

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อระบุปัจจัยเสี่ยงภายในและภายนอกในส่วนงานของแผนกจัดซื้อหาที่อาจจะเกิดขึ้น และ 2) ส่งผลกระทบต่อกระบวนการผลิตภายในโรงงาน กรณีศึกษาบริษัทผลิตอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ของส่วนงานแผนกจัดหา ผู้วิจัยได้ทำการระดมความคิดและสัมภาษณ์กลุ่มผู้มีประสบการณ์ในการทำงานมากกว่า 6 ปีขึ้นไป เพื่อหาปัจจัยเสี่ยง


            ผลจากการระดมความคิดในกระบวนการระบุความเสี่ยง การวิเคราะห์ความเสี่ยงและจัดลำดับความเสี่ยง โดยการประเมินจากโอกาสที่จะเกิดผลกระทบและระดับของความเสี่ยงนั้นๆ 1) โอกาสที่จะเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง 2) ผลกระทบของความเสียหายที่จะเกิดขึ้นหากเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง 3) ระดับของความเสี่ยงที่ได้จากประเมินโอกาสและผลกระทบของแต่ละปัจจัยเสี่ยงแบ่งเป็น 4 ระดับ คือ สูงมาก สูง ปานกลาง และต่ำ  จากผลการวิจัย พบว่า มีหัวข้อความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ 8 หัวข้อ หัวข้อที่มีคะแนนความเสี่ยงสูงที่สุดคือ การสั่งซื้องานทดลองเข้ามาประกอบ แต่ซัพ พลายเออร์ไม่สามารถส่งงานได้ตามเวลาที่กำหนด เนื่องจากขอบเขตของงานในส่วนนี้เป็นงานรุ่นใหม่ที่ไม่เคยผลิตมาก่อน และมีปัจจัยด้านเวลาที่จำกัดในการทำงาน ฉะนั้น การตรวจสอบความพร้อมของซัพพลายเออร์เป็นสิ่งที่สำคัญมาก ผู้วิจัยจึงเสนอให้ควรมีการนำระบบเข้ามาใช้ในการแลกเปลี่ยนข้อมูลกับทางซัพพลายเออร์

Article Details

บท
Research Articles
Author Biography

วรวรรณ ตาวิยะ, มหาวิทยาลัยบูรพา

สาขาวิชา การจัดการโลจิสติกส์ และโซ่อุปทาน คณะโลจิสติกส์

References

กระทรวงพาณิชย์. (2562). การแถลงข่าวการค้าระหว่างประเทศของไทยของเดือนกันยายน

ปี 2561. เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 จาก

https://oldweb.ditp.go.th/contents_attach/348624/348624.pdf

จิระพร สุเมธีประสิทธิ์ , มัทธนา พิพิธเนาวรัตน์ และ กิตติพันธ์ คงสวัสดิ์เกีย รติ . (2556) .

การบริหารความเสี่ยงอย่างมืออาชีพ(พิมพ์ ครั้ง2). กรุงเทพฯ : แมคกรอ-ฮิล

สำนักงานคณะกรรมการนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก. (2566). อุตสาหกรรม

อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ. เข้าถึงเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2566 จาก https://www.eeco.or.th/th/intelligent-electronics

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. (2563). อุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์. เข้าถึงเมื่อ

วันที่ 16 กันยายน 2566 จากhttps://www.thaieei.com/2013/th/index.php

อังคณา ศรีสวิสดี้. 2553. การยอมรับกระบวนการบริหารความเสี่ยงด้านปฏิบัติการที่ส่งผลต่อ

โอกาสที่เกิดความเสี่ยง ด้านปฏิบัติการของบริษัทบริหารสินทรัพย์กรุงเทพพาณิชย์จำกัด (บสก.)” ภาคนิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยบูรพา

Cendrowski, H. and Mair, W. C., (2009). Enterprise risk management and COSO:

A guide for directors, executives and practitioners. New Jersey: John Wiley & Sons Inc.

Pagach, D. and Warr, R. (2011). The characteristics of firms that hire Chief Risk

Officers. Journal of Risk and Insurance, 78(1), 185–211.

Mikes, A. (2009). Risk management and calculative cultures. Management

Accounting Research, 20(1), 18–40.