พฤติกรรมการใช้และทิ้งพลาสติกชีวภาพของประชาชนในกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

สรรชุดา แย้มเกษร
กิ่งกาญจน์ จงสุขไกล
อุ่นเรือน เล็กน้อย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการศึกษาเกี่ยวกับปัจจัยการรับรู้ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้และทิ้งพลาสติกชีวภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์พฤติกรรมการใช้และทิ้งพลาสติกชีวภาพของประชาชนในกรุงเทพมหานครผ่านปัจจัยการรับรู้ตามทฤษฎีของ Gibson ประกอบด้วยปัจจัยด้านความรู้ ประสบการณ์ สติปัญญา และสภาพแวดล้อม จนนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะเพื่อเป็นแนวทางในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมและมุมมองของผู้บริโภคเกี่ยวกับพลาสติกชีวภาพการและสามารถแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามแบบปลายปิดที่ถูกพัฒนาขึ้นตามกรอบแนวคิดทฤษฎีของ Gibson เป็นหลัก และใช้สถิติเชิงอนุมานในการวิเคราะห์ ประกอบด้วย (1) Independent t-test (2) One-Way ANOVA (3) Multiple Linear Regression โดยวิเคราะห์ข้อมูลความสัมพันธ์ของปัจจัยการรับรู้และพฤติกรรมการใช้และทิ้งพลาสติกชีวภาพของกลุ่มตัวอย่างประชาชนในกรุงเทพมหานครจำนวน 3 เขต (เขตชั้นใน เขตชั้นกลาง และเขตชั้นนอก) จำนวน 85 คน ที่คำนวณจากโปรแกรม G*Power


ผลการศึกษาพบว่า เพศ อายุ และระดับการศึกษา ที่แตกต่างกันมีพฤติกรรมการใช้และทิ้งพลาสติกชีวภาพที่ก่อให้เกิดไมโครพลาสติกบางครั้งแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 สถานภาพ อาชีพ และจำนวนสมาชิกในที่พักอาศัยแตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้และทิ้งพลาสติกชีวภาพที่ไม่ก่อให้เกิดไมโครพลาสติกเลยแตกต่างกัน อย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 รายได้ที่แตกต่างกันส่งผลต่อพฤติกรรมการใช้และทิ้งพลาสติกชีวภาพที่ก่อให้เกิดไมโครพลาสติกบางครั้งและไม่ก่อให้เกิดเลยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .05 นอกจากนี้ปัจจัยการรับรู้ตามทฤษฎีของ Gibson ด้านสติปัญญามีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการใช้และทิ้งพลาสติกชีวภาพของประชาชนในกรุงเทพมหานครมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กรมควบคุมมลพิษ. สถานการณ์คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทย ปี 2563. [ออนไลน์]. 2564. แหล่งที่มา: https://www.pcd.go.th [26 เมษายน 2565]

จุฑากานต์ บุญมี. พลาสติกชีวภาพ (Biodegradable plastic) ทางเลือกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม. วารสารสิ่งแวดล้อม 16, 2 (เมษายน - มิถุนายน 2555): 15-19.

ชญานิศ ปลื้มอุดม. ความรู้ และการรับรู้เกี่ยวกับสิทธิเด็กของประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ. งานนิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, รัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา, 2557.

ณัฐณิชา นิสัยสุข และขวัญกมล ดอนขวา. ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา 9, 2 (เมษายน - ธันวาคม 2558): 57-67.

ธัญสมร คุ้มอ่า และสวรรยา ธรรมอภิพล. แรงจูงใจของผู้บริโภคเจเนอเรชั่นวายในการใช้แก้วน้ำส่วนตัว แลกส่วนลดราคาเครื่องดื่ม กรณีศึกษา คาเฟ่ อเมซอน. Journal of Management and Development Ubon Ratchathani Rajabhat University 6, 2 (กรกฎาคม - ธันวาคม 2562): 267-287.

นันทิรา วรกาญจนบุญ. การศึกษาประสิทธิภาพการกำจัดไมโครพลาสติกในน้ำเสีย. วารสารสภาการสาธารณสุขชุมชน 2, 1 (มกราคม - เมษายน 2563): 29-34.

ปารมี พัฒนดุล และวิโรจน์ เจษฎาลักษณ์. ปัจจัยที่มีผลต่อการตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสิ่งแวดล้อมของผู้บริโภค อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. Veridian E-Journal, Silpakorn University (Humanities, Social Sciences and arts) 9, 2 (พฤษภาคม–สิงหาคม 2559): 857-872.

ภุชงค์ แซ่เล้า. พลาสติก 101 : พี่ย่อยได้นะ หนูเชื่อหรอ?. [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา: https://www.greenpeace.org/thailand/story/6290/plastic-101-biodegradable/ [23 กรกฎาคม 2563]

ศุภกิจ สุทธิเรืองวงศ์ และสุจิตรา วาสนาดำรงดี. ข้อเท็จจริง “พลาสติกย่อยสลายได้ในสภาวะแวดล้อมธรรมชาติ” (Environmentally Degradable Plastics: EDP). วารสารสิ่งแวดลอม 23, 2 (เมษายน-มิถุนายน 2562): 1-8.

สถาบันพลาสติก. พัฒนาการพอลิเมอร์ชีวภาพสู่นวัตกรรมพลาสติกรักษ์โลก. วารสาร PlasticsForesight 8, 2 (กรกฎาคม - สิงหาคม 2553): 183-185.

สุกฤตา ปุณยอุปพัทธ์ และประสงค์สม ปุณยอุปพัทธ์. ไมโครพลาสติก : จุดกำเนิด ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อม และ วิธีการจัดการ. วารสารการจัดการสิ่งแวดล้อม 15, 2 (2562): 88-105.

อัจฉราพรรณ ลีฬพันธ์ และวิษณุ เหลืองลออ. เจตคติและพฤติกรรมการลดใช้ถุงพลาสติกของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย 34, 1 (มกราคม - มีนาคม 2557): 70-88.

Green Network. ไบโอพลาสติก ที่ (อาจ) ไม่ย่อยสลาย. [ออนไลน์]. 2562. แหล่งที่มา: https://www.greennetworkthailand.com/ไบโอพลาสติก-ไม่ย่อยสลาย [22 กรกฎาคม 2563]

ภาษาอังกฤษ

Anh Tuan Ta and Sandhya Babel. Microplastic contamination on the lower Chao Phraya: Abundance, characteristic and interaction with heavy metals. Journal of Chemosphere 257 (May 2020).

Guillermo Anderson and Noa Shenkar. Potential effects of biodegradable single-use items in the sea: Polylactic acid (PLA) and solitary ascidians. Journal of Environmental Pollution 268 (August 2020).

Janis Brizga, Klaus Hubacek and Kuishuang Feng. The Unintended Side Effect of Bioplastic: Carbon, Land, and Water Footprints. Journal of One Earth 3 (July 2020): 45-53.

Sandra Notaro, Alessandro Palettoorcid, and Elisabetta Lovera. Behaviours and attitudes of consumers towards bioplastics: An exploratory study in Italy. JOURNAL OF FOREST SCIENCE 68 (April 2022): 121-135.