ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของครอบครัวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนการเสพยาเสพติดของเยาวชน

Main Article Content

วสันต์ บุญล้อม

บทคัดย่อ

บทความวิชาการ เรื่อง ความสัมพันธ์ระหว่างความผูกพันของครอบครัวกับพฤติกรรมเบี่ยงเบนการเสพยาเสพติดของเยาวชน เป็นผลการศึกษาโดยใช้วิธีการศึกษารวบรวมข้อมูลจากการค้นคว้าเอกสารต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง


ผลการศึกษา พบว่า ความผูกพันของครอบครัวที่มีระดับต่ำ การอบรมเลี้ยงดูที่ไม่ดี การขาดการสั่งสอนและขาดการติดตามพฤติกรรม ทำให้เยาวชนมีโอกาสเสพยาเสพติดสาเหตุที่ทำให้ความสัมพันธ์ของความผูกพันของครอบครัวมีระดับต่ำเกิดจากปัจจัย 4 ด้าน คือ ปัจจัยด้านสภาพครอบครัวมีปัญหา ปัจจัยด้านการขาดความใกล้ชิดกับครอบครัว ปัจจัยด้านการปล่อยปละละเลย และปัจจัยด้านการขาดการพูดคุยปรึกษา ซึ่งปัจจัยทั้ง 4 ด้านนั้น จะทำให้เกิดการอบรมเลี้ยงดูที่ไม่ดี การขาดการสั่งสอนที่ถูกต้องและขาดการติดตามพฤติกรรม ส่งผลทำให้เยาวชนมีการควบคุมตนเองต่ำ การที่เยาวชนมีการควบคุมตนเองต่ำจะทำให้ไม่สามารถต่อต้านการชักนำของเพื่อนได้ เนื่องจากไม่มีภูมิคุ้มกันที่ดีที่ได้รับจากการอบรมเลี้ยงดูหรือการติดตามพฤติกรรมซึ่งจะลดโอกาสในการเสพยาเสพติด

Article Details

บท
Articles

References

จิรเดช ประเสริฐศรี. (2561). การจัดการความรู้เรื่องกฎหมายยาเสพติดและการถ่ายทอด

แบบมีส่วนร่วมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการป้องกันการเสพยาของกลุ่มเยาวชนในอำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วารสารสหวิทยาการจัดการ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์. 2(1), 68-95.

พรชัย ขันตี. (2553). ทฤษฎีอาชญาวิทยา: หลักการ งานวิจัย และนโยบายประยุกต์.

กรุงเทพมหานคร : หจก.สุเนตร์ฟิล์ม.

พรเพ็ญ เพชรสุขศิริ. (2535). ทฤษฎีอาชญาวิทยาสังคมวิทยา. (รายงานวิจัย).

คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ เสนอต่อ คณะกรรมการส่งเสริมงานวิจัย.

พัชรินทร์ ซำศิริพงษ์. (2561). การกระทำผิดซ้ำของเด็กและเยาวชนในคดียาเสพติด. วารสาร

วิจัยราชภัฏกรุงเก่า. 5(3), 23-30.

พัชรียา ก้อนแพง. (2561). ปัจจัยเกี่ยวกับความผูกพันทางสังคมและการควบคุมตนเอง

ที่ส่งผลต่อการกระทำผิดซ้ำเกี่ยวกับคดียาเสพติดของผู้ต้องขังหญิงในทัณฑสถาน

หญิงกลาง. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ. 4(1), 25-44.

เมธิรา ไกรนที, วันชัย ธรรมสัจการ และอุทิศ สังขรัตน์. (2563). ครอบครัว : สถาบันหลักทาง

สังคมกับบทบาทการพัฒนามนุษย์แบบองค์รวม. วารสารปาริชาต มหาวิทยาลัยทักษิณ. 33(1), 1-16.

ลลิตา เดชาวุธ. (2548). ปัจจัยครอบครัวที่มีอิทธิพลต่อการเสพยาบ้าของวัยรุ่นในเขตภาค

ตะวันออก. วิทยานิพนธ์ปริญญาพยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อณินทร์ วารีรัตนนุกูล. (2549). การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายใน

ครอบครัว ทัศนคติ และพฤติกรรมต่อยาเสพติดของวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมติดยาเสพติด และวัยรุ่นที่ไม่มีพฤติกรรมติดยาเสพติดในเขตกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญานิเทศศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

อุษา รัตนภาสุร. 2542. การกระทำผิดคดียาเสพติดของเด็กและเยาวชนหญิง : ศึกษาเฉพาะ

กรณีสถานฝึกและ อบรมเด็กและเยาวชนหญิง (บ้านปราณี). วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.