ผลการสอนแบบจิตปัญญาเสริมด้วยนิทานต่อความมีวินัยในตนเองและทักษะการพูดของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

นันทิชา นาพัง
แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย

บทคัดย่อ

            การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ (1)เพื่อศึกษาความมีวินัยในตนเองของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการสอนจิตปัญญาเสริมด้วยนิทาน(2)เพื่อพัฒนาทักษะการพูดของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการจัดการสอนแบบจิตปัญญาเสริมด้วยนิทานหลังการจัดการเรียนรู้โดยให้มีคะแนนเฉลี่ยผ่านเกณฑ์ตั้งแต่ร้อยละ 70  และมีนักเรียนผ่านเกณฑ์ไม่น้อยกว่าร้อยละ70 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด กลุ่มเป้าหมายเป็นนักเรียนอายุระหว่าง 5- 6 ปี  ที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นอนุบาล  2- 3  ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563  ของ โรงเรียนบ้านดงขันทอง สังกัดสำนักงานเขตฟื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานี เขต 1 โดยการเลือกแบบเจาะจง จำนวน  2 ห้อง 20 คน การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองขั้นต้นแบบกลุ่มเดียวมีทดสอบหลังการทดลอง (One group Posttest Only Design) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนจัดการเรียนรู้จำนวน 12 แผน นิทาน 8 เรื่อง ได้แก่ นิทานเรื่องหญิงรับใช้ของเศรษฐี ถุงเท้าที่หายไป มะขามคนดี นักเรียนของครูนกฮูก ใครทำแจกันแตก ลูกเจี๊ยบจี๋จ๋า สตางค์กับปักเป้า และ ลูกหมู 3 ตัว  2) แบบวัดความสามารถใน การพูดของเด็กปฐมวัยมี  2  ด้านได้แก่ แบบวัดด้านคำศัพท์และด้านพูดประโยค สถิติที่ใช้ ในการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นสถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย(X̅)ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(S.D.) และค่าร้อยละ(Percentage) ผลการวิจัยพบว่า 1. พฤติกรรมด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของเด็กปฐมวัย  ทั้ง  5 ด้าน ผ่านเกณฑ์  จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด2. ความสามารถในการพูดของเด็กปฐมวัย จำนวน 20 คน จากคะแนนเต็ม 25 คะแนน หลังได้รับการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ย 20.97 คะแนน ( X̅ =20.97, S.D.= 0.49) คิดเป็นร้อยละ  83.88 จำนวนนักเรียนที่ผ่านเกณฑ์ 20 คน คิดเป็นร้อยละ100 ของจำนวนนักเรียนทั้งหมด  ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ :

โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2545). “รายงานการวิจัยเรื่องการจัดการศึกษาสำหรับผู้ปกครองและ

สารสนเทศที่ผู้ปกครองเด็กอนุบาลต้องการ” กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

เกริก ยุ้นพันธ์ (2547) การเล่านิทาน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สุวิริยาส์น,

ประภัสสร บราวน์และแสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2564). “การพัฒนาความสามารถในการพูดของ

เด็กปฐมวัยด้วยกิจกรรมการแสดงประกอบการเล่านิทาน”. วารสารวิชากรและวิจัย

มหาวิทยาลัยภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. 11 (1) เดือนมกราคม-เมษายน 2564,

-206.

พระพุทธโกษาจารย์. (2559). พุทธธรรม เล่มชุดฉบับปรับขยาย 2559. กรุงเทพฯ : หอ

จดหมายเหตุพุทธทาส อินทปัญโญ.

โรงเรียนบ้านดงขันทอง.(2563). ผลการประเมินคุณภาพการศึกษา ระดับปฐมวัยของ

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา รอบ 4

ศรีเรือน แก้วกังวาล, (2562). ทฤษฎีจิตวิทยาบุคลิกภาพ : รู้เรา รู้เขา. กรุงเทพฯ : หมอชาวบ้าน.

สิริมา ภิญโญอนันตพงษ์ (2553). การศึกษาปฐมวัย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.

แสงสุรีย์ ดวงคำน้อย. (2561). “การเรียนรู้เชิงรุก: กิจกรรมท้าทายสำหรับผู้เรียนในยุค

การศึกษา 4.0 “. วารสารมหาวิทยาลัยภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ. 8(3). กันยายน–

ธันวาคม 2561, 61-71

สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา. (2554). รายงานผลการประเมิน

คุณภาพการศึกษารอบสี่ กระทรวงศึกษาธิการ.

หทัยรัตน์ ทรวดทรง. (2560). “การศึกษาความสามารถทางพหุปัญญาของเด็กปฐมวัยที่ได้รับการ

จัด. กิจกรรมการสอนแบบจิตปัญญา”. เอกสารประกอบการนำเสนอการประชุมระดับ

ชาติและนานาชาติ ครั้งที่ 4 วันที่ 21 กรกฎาคม 2560 ณ หอประชุมใหญ่ มหาวิทยาลัย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดขอนแก่น.