การพัฒนารูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี 3) เพื่อประเมินความเหมาะสมและเป็นไปได้ของรูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการดำเนินงานการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษา สังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยรวมและรายด้านมีการปฏิบัติอยู่ในระดับปานกลาง เรียงลำดับได้ดังนี้ ด้านการป้องกันยาเสพติด และด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด 2) ผลการพัฒนารูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย ตอนที่ 1 บทนำ ตอนที่ 2 รูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี ประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ส่วนที่ 1 หลักการและวัตถุประสงค์ ส่วนที่ 2 ขั้นตอนการปฏิบัติงาน ส่วนที่ 3 กระบวนการและขั้นตอน ส่วนที่ 4 เงื่อนไขความสำเร็จ ตอนที่ 3 การดำเนินงานตามรูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี โดยการตรวจสอบด้านความเหมาะสม ด้านความถูกต้องของรูปแบบและคู่มือรูปแบบจากผู้เชี่ยวชาญจำนวน 5 ท่าน โดยวิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling) ประเมินด้านความเหมาะสมและความถูกต้องของรูปแบบ เพื่อหาคุณภาพเครื่องมือ ได้ผลประเมินความสอดคล้องเชิงเนื้อและความถูกต้องของรูปแบบ พบว่ามีค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.80-1.00 ผลการประเมินการใช้รูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานี พบว่า ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานความเหมาะสม ความเป็นไปได้ และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการป้องกันแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดเทศบาลนครสุราษฎร์ธานีโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความมีประโยชน์มีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาคือด้านความเป็นไปได้ และด้านความเหมาะสมตามลำดับ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กาญจนา คุณารักษ์. (2555). การพัฒนารูปแบบการป้องกันการกระทำผิดซ้ำ เกี่ยวกับยาเสพติด :
กรณีศึกษาสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย
ศิลปากร.
เกรียงศักดิ์ คงทับทิม. (2548). การมีส่วนร่วมของผู้นำชุมชนในการป้องกันปัญหายาเสพติด :
ศึกษาเฉพาะกรณี เขตพื้นที่รับผิดชอบของสถานีตำรวจภูธร ตำบลกระตีบ อำเภอ
กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม.บัณฑิตวิทยาลัย :สถาบันราชภัฏนครปฐม.
ขวัญหทัย ยิ้มละมัย. (2556) รูปแบบการบริหารกิจกรรมเสริมสร้างภูมิคุ้มกันยาเสพติดใน
สถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยนเรศวร.
จุรีรัตน์ ดีเพชร.(2562). การดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในสถานศึกษาสังกัด
สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวะศึกษาจังหวัดสระแก้ว. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัย
ราชภัฏรำไพพรรณี.
ธนชน อินทจันทร์.(2556). รูปแบบการป้องกันยาเสพติดในสถานศึกษาสังกัดอาชีวศึกษาในภาค
อีสานตอนล่าง. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
ธันยวัตร แก้วสุข.(2559). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดใน
สถานศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 29.
บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
นรินทร์ แก้วมีศรี และคณะ. (2546). แนวทางการส่งเสริมประชาสังคมเพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา
ยาเสพติดในชุมชน. กรุงเทพฯ : สถาบันเครือข่ายพัฒนาส่งเสริมการวิจัยระดับพื้นที่.
มทูร พูลสวัสดิ์. (2562). รูปแบบการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดโดยวิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการ
แบบมีส่วนร่วม : กรณีศึกษาโรงเรียนเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช.
บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช