บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต

Main Article Content

นันพัชพร พระทอง
วรัชยา ศิริวัฒน์

บทคัดย่อ

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) และแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid-19) ในเขตเทศบาลนครภูเก็ต เป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก และวิเคราะห์ข้อมูลจากเอกสารที่เกี่ยวข้อง โดยจะนำเสนอในรูปการณ์พรรณนา ผลการศึกษาพบว่า 1) อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีบทบาทในการป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ตามนโยบายกระทรวงสาธารณสุขกำหนด ได้แก่ การทำกิจกรรมรณรงค์ทำความสะอาดจัดสภาพแวดล้อมอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) สอนประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชนทำหน้ากากอนามัยจากผ้า การเคาะประตูบ้านรณรงค์ให้ความรู้ข้อมูลข่าวสาร และเคาะประตูบ้าน “ค้นให้พบจบใน 14 วัน” ติดตามเยี่ยมสังเกตอาการที่บ้านจนครบ 14 วัน และการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตามวิถีชีวิตใหม่ร่วมสร้างมาตรการรักษาระยะห่างทางสังคม 2) ปัญหาและอุปสรรคของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในพื้นที่ศึกษา คืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะในการใช้เทคโนโลยีอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) มีไม่เพียงพอต่อการปฏิบัติงานเฝ้าระวังและป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ขาดทักษะในการใช้แอพพลิเคชั่น วัสดุอุปกรณ์ในการป้องกันและในการลงพื้นที่มีไม่เพียงพอ และประชาชนยังไม่เข้าใจเกี่ยวกับโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ส่วนแนวทางในการส่งเสริมและพัฒนาบทบาทอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ควรมีการให้ด้านความรู้ จัดหาบุคลากรให้มีจำนวนที่เพียงพอต่อภาระงานที่ได้รับมอบหมาย และควรมีการสนับสนุนและส่งเสริมในส่วนของ บุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือต่าง ๆ การป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2563). อสม.เคาะประตูบ้านต้านโควิด-19. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก สืบค้นเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม 64. http://osm.hss.moph.go.th/uploads/ebook/file_pdf/09977_phcdjmarapr63.pdf

ศุภัคชญา ภวังคะรัต และคณะ. (2563). การศึกษาสถานการณ์การเฝ้าระวังป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในชุมชนโดยอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก สืบค้นเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 64. http://phc.moph.go.th.

วิทยา ชินบุตร และนภัทร ภักดีสรวิชญ์. (2564). บทบาทของอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) ในการป้องกันการระบาดโรคติดชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ตามนโยบายรัฐบาล อำเภอเมืองสุพรรณบุรี จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ 2563 ปีที่ 6 ฉบับที่ 2 หน้า 304-18.

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดภูเก็ต. (2563). ประกาศศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด - 19 เรื่อง หลักเกณฑ์แนวทางการกำหนดสถานที่กักกันที่รัฐกำหนด พ.ศ. 2563 ฉบับที่ 2. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก สืบค้นเมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2563 https://www.pkto.moph.go.th/home.html.

องค์การอนามัยโลก. (2020). CBR Guidelines ขององค์การอนามัยโลก. ฉบับภาษาไทย (Community Based Rehabilitation). กรุงเทพฯ : พรีเมี่ยม เอ็กซ์เพรส.

Gilmer. (1970). Industrial psychology. New York: McGraw-Hill.