แนวทางการแก้ไขพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสังคมออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว

Main Article Content

ทินัดดา บัวละพัน
ไพศาล พากเพียร
จิตรกร โพธิ์งาม

บทคัดย่อ

            การวิจัยแนวทางการแก้ไขพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสังคมออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน วิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์ โดยใช้เครื่องมือวิจัยแบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ ตัวอย่าง จำนวน 278 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 15 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า พฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสังคมออนไลน์ที่เหมาะสมของนักศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ  แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวม ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก คือ ด้านการบริหารเวลานักศึกษาให้ความสำคัญเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสังคมออนไลน์เพื่อการเรียนรู้ ด้านการรับรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสังคมออนไลน์การใช้ในเวลาที่เหมาะสมจะช่วยผ่อนคลายความเครียดได้ด้านสัมพันธภาพในครอบครัวผู้ปกครองของนักศึกษาให้คำปรึกษาในเวลาที่นักศึกษามีปัญหา และด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม เมื่อเลิกเรียนเพื่อนมักชวนนักศึกษาใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสังคมออนไลน์ แนวทางการแก้ไขพฤติกรรมการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสังคมออนไลน์ของนักศึกษาวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ด้านการรับรู้เรื่องการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารสังคมออนไลน์ควรสร้างความตระหนักรับรู้ถึงประโยชน์และมีโทษ จากการใช้สื่อออนไลน์ ด้านสัมพันธภาพในครอบครัว ผู้ปกครองต้องดูแลสมาชิกในครอบครัวให้ใช้เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตอย่างเหมาะสมมีประสิทธิภาพ วิทยาลัยครูควรกำหนดมาตรการการวางแผนจัดการอย่างรัดกุมและเพียงพอต่อการใช้งานอินเตอร์ในวิทยาลัย ต้องมีระบบป้องกันการใช้สื่อออนไลน์ที่ไม่พึงประสงค์อันอาจจะเกิดผลกระทบร้ายแรงต่อนักศึกษา ด้านสภาพแวดล้อมทางสังคม ระมัดระวังการเข้าใช้งานอาจจะถูกล่อลวงทำให้ครอบครัวสูญเสียทรัพยากรค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นด้านการบริหารเวลา ควรจัดสรรเวลาให้เหมาะสมทั้งการเรียนและการร่วมกิจกรรมในครอบครัวอย่างถูกต้องเหมาะสม

Article Details

บท
Research Articles

References

ชัชพงศ์ ตั้งมณี. (2545). พฤติกรรมการเสพติดอินเตอร์เน็ตของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสถิติ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. 2545.

ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์.

ภาวุธ พงษ์วิทยภานุ. (2548). เสพติดอินเตอร์เน็ต. กรุงเทพฯ: ม.ป.ท.

ภัทชรมนัส ขยันการ. (2550). ความคิดเห็นที่มีต่อผลกระทบจากการใช้อินเตอร์เน็ตของเยาวชนในเขตกรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

Petrie, H. and Gunn, D. (1998). Internet “addiction”: the effects of sex, age, depression and introversion. British Psychological Society London Conference 15 December 1998. Retrieved October 10, 2023 from http://www.psy.herts.ac.uk/sdru/Helen/inter.html