แนวทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรมและที่พักในเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยแนวทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรมและที่พักในเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวการวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงผสมผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณโดยการสำรวจ และการวิจัยเชิงคุณภาพโดยการสัมภาษณ์และสังเกต โดยใช้เครื่องมือวิจัยแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ ตัวอย่าง จำนวน 113 คน และกลุ่มเป้าหมาย จำนวน 16 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า สภาพการปรับตัวของผู้ประกอบการโรงแรมและที่พักในเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว โดยภาพรวม มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (ค่าเฉลี่ย 3.97) เมื่อพิจารณารายด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการบำรุงรักษา (ค่าเฉลี่ย 4.13) รองลงมา คือ ด้านการจัดการร้านอาหารและจุดบริการอาหาร (ค่าเฉลี่ย 4.08) ด้านการฝึกอบรมและนโยบาย (ค่าเฉลี่ย 4.05) ด้านการรักษาระยะห่างทางสังคม (ค่าเฉลี่ย 4.05) ด้านการวางแผน (ค่าเฉลี่ย 3.93) ด้านการรักษาความสะอาด(ค่าเฉลี่ย 3.92) ด้านการผลิตและการจัดหาอาหาร (ค่าเฉลี่ย 3.3.88) ด้านการจัดการในกรณีที่มีโควิด-19 (ค่าเฉลี่ย 3.85) ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านการปฏิบัติ (ค่าเฉลี่ย 3.84) แนวทางการปรับตัวเพื่อความอยู่รอดของธุรกิจโรงแรมและที่พักในเมืองปากช่อง แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ควรส่งเสริมการสร้างภาพลักษณ์ของโรงแรม ปรับปรุงพัฒนาสภาพแวดล้อมโดยรอบของโรงแรมให้มีความสวยงาม ด้านการตั้งราคาควรมีการดำเนินการปรับราคาห้องพักตามฤดูกาลหรือระดับความต้องการใช้บริการของลูกค้า ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย สร้างเครือข่ายพันธมิตรกับตัวแทนของผู้ใช้บริการภาคเอกชน และภาครัฐบาล ด้านการโฆษณาควรมีการส่งเสริมให้มีการประชาสัมพันธ์ข่าวสารเกี่ยวกับโรงแรมไปสู่สาธารณชนอย่างสม่ำเสมอ ด้านบุคลากร ควรฝึกอบรมพนักงานให้มีความรู้ ความสามารถ และทักษะในการให้บริการที่ดียิ่งขึ้น ด้านความมีชื่อเสียงของตราสินค้า ควรมีการให้บริการที่รวดเร็ว ไม่ซับซ้อน ด้านทำเลที่ตั้ง ควรให้ความสำคัญต่อสภาพแวดล้อม และบรรยากาศบริเวณที่พักเป็นสิ่งสำคัญ
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
ธีรวุฒิ เอกะกุล. (2543). ระเบียบวิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์และสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. อุบลราชธานี: วิทยาออฟเซ็ทการพิมพ์.
ธนสิทธิ์ สุขสุทธิ์. (2555). ความคาดหวังและแนวทางในการแก้ไขปัญหาสำหรับผู้ใช้บริการ โรงแรมขนาดเล็กสู่การยกระดับมาตรฐาน. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏ สวนสุนันทา.
บัวละพา ทองมาลาเพชร. (2553). กฎหมายว่าการส่งเสริมการลงทุน. เวียงจันทน์: สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ.
อัณณ์ชญากร สมัคร. (2560). การปรับตัวของธุรกิจนำเที่ยวในจังหวัดเชียงใหม่ต่อการเป็นสมาชิกอาเซียน. บัณฑิตวิทยาลัย :มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Edmundas et al. (2016). Impact of hotel service quality on the loyalty of customers. Economic Research-Ekonomska Istraživanja.