ความยั่งยืนของชุมชนสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

Main Article Content

พระมหาวิเชียร วชิรธมฺโม (กุลมณี)
พระครูสุวรรณสุตาลังการ
อำพร มณีเนียม
พระมหาสมคิด สมฺปนฺโน
จารึก ศิรินุพงศ์
รังสรรค์ วัฒนาชัยวณิช
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี

บทคัดย่อ

          บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความยั่งยืนของชุมชนภาคการเกษตรท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดยะลา 2) ศึกษาความยั่งยืนของชุมชนภาคอุตสาหกรรมท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดปัตตานี และ3) ศึกษาความยั่งยืนของชุมชนภาคบริการท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ซึ่งผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informant) ได้แก่ ภาครัฐ ภาคประชาชน และ ภาคเอกชน จำนวน 3 จังหวัด ๆ ละ 6 คน รวมทั้งสิ้น 18 คน โดยการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ตามความสำคัญของเรื่อง คือ เป็นบุคคลที่มีบทบาทและความสัมพันธ์เกี่ยวกับกระบวนการพัฒนาความยั่งยืนของชุมชนสันติสุขท่ามกลางความหลากหลายในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการสัมภาษณ์ และทำสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) กับกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมโครงการวิจัยฯ จังหวัดละ 15 คน รวม 45 คน ผลการวิจัยพบว่า ความยั่งยืนของชุมชนภาคการเกษตรในพื้นที่จังหวัดยะลา มีรูปแบบความยั่งยืนของชุมชนภาคการเกษตร ประกอบด้วย 1) แนวความคิดในการทำเกษตรกรรม 2) เป้าหมายในการทำเกษตรกรรม 3) แหล่งที่มาความรู้/ทักษะการทำเกษตรกรรมของเกษตรกร ในส่วนของการพัฒนากิจกรรมแบบมีส่วนร่วมของชุมชนภาคการเกษตร มีขั้นตอนการดำเนินการ คือ 1) การสร้างระบบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ 2) การสร้างตลาดแนวใหม่โดย ใช้ช่องทางการค้าออนไลน์แบบมีส่วนร่วมในพื้นที่ และสุดท้ายการเสริมสร้างเครือข่ายของชุมชนภาคการเกษตร ประกอบไปด้วย 1) การเชื่อมโยงตลาดในพื้นที่ชุมชน 2) หลักเศรษฐกิจพอเพียง 3) การตลาดยุค 4.0 4) ตลาดเป็นธรรม 5) การเชื่อมโยงตลาดส่วนรูปแบบความยั่งยืนของกลุ่มชุมชนภาคอุตสาหกรรมในพื้นที่จังหวัดปัตตานี มี 4 รูปแบบใหญ่ ๆ ประกอบไปด้วย 1) รูปแบบความยั่งยืนของกลุ่ม มี 5 รูปแบบ คือ (1) รูปแบบผู้นำทางปัญญา (2) รูปแบบการมีส่วนร่วม (3) รูปแบบการพึ่งพาตนเอง (4) รูปแบบริเริ่มสร้างสรรค์เป็นนวัตกรรมของชุมชน (5) รูปแบบการถ่ายทอดองค์ความรู้และการสืบทอดภูมิปัญญา 2) รูปแบบความยั่งยืนของชุมชนและสังคม มี 2 รูปแบบ คือ (1) ชุมชนเป็นเจ้าของและผู้ดำเนินการ (2) การแบ่งปันผลกำไรสู่ชุมชน 3) รูปแบบความยั่งยืนทางเศรษฐกิจ มี 2 รูปแบบ คือ (1) การสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ที่เป็นนวัตกรรมของชุมชน (2) การเสริมรายได้ให้กับสมาชิกและคนภายในชุมชน 4) รูปแบบความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม มี 2 รูปแบบ คือ (1) การนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ในการผลิต (2) การใช้ทรัพยากรอย่างมีคุณค่า

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. (2556). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับการพัฒนา

ที่ยั่งยืน.กรุงเทพฯ: อมรินทร์พริ้นติ้งแอนด์พัลิชชิ่ง.

คณะกรรมการสงเสริมคุณธรรมแหงชาติ. (2563). คุณธรรมนําการพัฒนา ป 2563

ภายใต้แผนแม่บทส่งเสริมคุณธรรมแห่งชาติ ฉบับที่ 1 (พ.ศ. 2559 - 2564). กรมการศาสนา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

ง่ายงาม ประจวบวัน. (2558). การพัฒนาระบบเกษตรกรรมยั่งยืน ชุมชนบ้านหลักเมตร

ตำบลทุ่งขวาง อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิง

พื้นที่. 7(4) ตุลาคม-ธันวาคม 2558.

จุฬากรณ์ ถาวร. (2550). การศึกษาปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับการทำเกษตรกรรมยั่งยืนของแทนนำ

เกษตรกรจังหวัดสุพรรณบุรี. วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการวิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

ณิชชา สุขสบาย และคณะ. (2554). รูปแบบการเกษตรของชาวคลองจินดาที่สอดคล้อง

กับ แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง. กรุงเทพมหานคร: คณะอักษรศาสตร์

มหาวิทยาลัย ศิลปากร.

ผู้จัดการออนไลน์. (2564). เริ่มจาก “พื้นที่สันติสุขขนาดเล็ก” ที่ตอบโจทย์การแก้ไขปัญหาชุมชน

สู่สันติสุขอันยั่งยืนของชายแดนใต้. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา, https://mgronline.com/south/detail/9640000061328, เผยแพร่: 24 มิ.ย. 2564

พงค์เทพ สุธีรวุฒิ. (2548). เวทีนโยบายสาธารณะเรื่อง การเสริมสร้างสันติสุขใน 3 จังหวัด

ชายแดนภาคใต้.

สถาบันวิจัยระบบสุขภาพภาคใต้. มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. แหล่งที่มา

http://www.thaigoodview.com/node/203943

พัชรพรรณ ยาโน (2552) วิถีชีวิตกับการพัฒนาอาชีพของเกษตรกรแบบผสมผสาน

ในจังหวัดชุมพร. สารนิพนธ์. การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาจิตวิทยาการแนะแนว. มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ