วิถีชีวิต และแนวทางการพัฒนานักศึกษาชาวกัมพูชาในระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบัน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี มีนักศึกษาจากประเทศกัมพูชาเข้ามาเรียน จำนวน 30 คน นักศึกษาทุกคนจำเป็นที่ต้องมีการติดต่อเพื่อสร้างความสัมพันธ์กับชาวไทย ในวัฒนธรรมและสภาพแวดล้อมที่มีความแตกต่าง นักศึกษาชาวกัมพูชาจึงต้องมีการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นด้านภาษา การใช้ชีวิตประจำวัน ด้านการเรียน ด้านสุขภาพกาย ด้านจิตใจ ด้านความสัมพันธ์ส่วนบุคคล ด้านวัฒนธรรมและประเพณีไทย ด้านสภาพความเป็นอยู่ ผู้วิจัย ในฐานะเป็นนักศึกษาระดับบัณฑิตที่มาจากประเทศกัมพูชา จึงมีความสนใจ ศึกษาวิถีชีวิต และแนวทางการพัฒนานักศึกษาชาวกัมพูชาในระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิถีชีวิต และแนวทางการพัฒนานักศึกษาชาวกัมพูชาในระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี และเพื่อศึกษาความสุขในการใช้ชีวิตของนักศึกษาชาวกัมพูชาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาชาวกัมพูชาระดับปริญญาตรี และปริญญาโท จำนวน 30 คน วิธีดำเนินการวิจัยประยุกต์ใช้กระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ ซึ่งผู้วิจัยแบ่งขั้นตอนในการเก็บรวบรวมข้อมูลออกเป็น 3 ระยะคือ ระยะแรกเป็นการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์เชิงลึก ระยะที่สองเป็นการเก็บข้อมูลแบบสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม โดยใช้วิธีศึกษาแบบสัมภาษณ์สนทนากลุ่ม (Focus group discussion) และระยะที่สาม เป็นการเก็บข้อมูลแบบสอบถาม โดยใช้วิธีการประเมิน (Assessment) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และใช้สถติพื้นฐาน และสถิตที่ใช้ในการทดสอบความแตกต่าง ใช้การทดสอบ t– test และใช้การทดสอบ F – test ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาชาวกัมพูชาที่กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรี และนักศึกษาชาวกัมพูชาที่กำลังศึกษาใน ระดับปริญญาโท มีปัญหาในการใช้ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารประจำวัน ทั้งในการดำรงชีวิตทั่ว ๆ ไป ในระยะแรก ๆ มีปัญหาเรื่องค่าใช้จ่ายในระหว่างการศึกษา และปัญหาเรื่อง อาหาร ทั้งนี้อาจเป็นเพราะวัฒนธรรมในการดำรงชีวิตของชาวกัมพูชาในช่วงวัยเรียนมีความแตกต่างกันกับวัฒนธรรมการใช้ชีวิตในวัยเรียนของคนไทย แต่ทั้งนี้นักศึกษาชาวกัมพูชาก็มีข้อได้เปรียบในด้านการใช้ภาษาอังกฤษ และมีรุ่นพี่ที่เป็นชาวกัมพูชาด้วยกันค่อยช่วยเหลือ เมื่อพิจารณาเกี่ยวกับความสุขของนักศึกษาชาวกัมพูชาระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี พบว่า โดยภาพรวมความสุขของนักศึกษาชาวกัมพูชาระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีในภาพรวมทั้ง 6 ด้านในปัจจุบัน อยู่ในระดับมาก และเมื่อพิจารณาเปรียบเทียบระดับความสุขของนักศึกษาชาวกัมพูชา ระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีในปัจจุบันที่ค้นพบว่า นักศึกษาชาวกัมพูชาที่มีเพศต่างกัน และระดับการศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นเกี่ยวกับความสุขของนักศึกษาชาวกัมพูชาระหว่างที่ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานีในส่วนความคิดเห็นโดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ .05
Article Details
References
นิภา นิธยายน. (2529). การปรับตัวและบุคลิกภาพ. กรุงเทพฯ: สารศึกษาการพิมพ์.
ปัทมาภรณ์ ธรรมทัต. (2542). กระบวนการให้สารนิเทศเพื่อการปรับตัวทางวัฒนธรรมของบุคลากรต่างชาติในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
รุ่งทิพย์ เอี่ยมจิตร์. (2551). การใช้ชีวิตในมหาวิทยาลัยของนักศึกษาระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง เขตหัวหมาก กรุงเทพมหานคร. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Ren Zhiyuan. (2555). การปรับตัววัฒนธรรมของนักศึกษาชาวจีนในประเทศไทย กรณีศึกษา : มหาวิทยาลัยบูรพา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สำราญ จูช่วย และคณะ. (2555). การศึกษาคุณภาพชีวิตนักศึกษาวิทยาลัยราชพฤกษ์: กรณีศึกษานักศึกษาเข้าใหม่ปีการศึกษา 2555. กรุงเทพฯ: วิทยาลัยราชพฤกษ์.