การปรับเปลี่ยนความเชื่อและพฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
##plugins.themes.bootstrap3.article.main##
摘要
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเกี่ยวกับความเชื่อและพฤติกรรมด้านสุขภาพของบุคลากร วิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว และเพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกับพฤติกรรมสุขภาพของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา คือ บุคลากรหรือพนักงาน ของวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก สาธารณรัฐประชาธิปไตย โดยผู้วิจัยได้กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างในการศึกษา และคำนวณกลุ่มตัวอย่างจากหลักเกณฑ์กำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการคำนวณขนาดตัวอย่างของ Daniel ได้ตัวอย่างในการศึกษาวิจัย ทั้งสิ้น 117 คน โดยใช้วิธีสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพ ของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก พบว่า การบริโภคอาหาร มีพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ หรือยู่ในโซน สีเขียว ร้อยละ 83.76 การออกกำลังกาย พบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพอยู่ในระดับต่ำ หรือยู่ในโซนสีเขียว ร้อยละ 82.50 การจัดการความเครียด พบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง หรืออยู่ในโซนสีเหลือง ร้อยละ 58.12 การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง หรืออยู่ในโซนสีเหลือง ร้อยละ 64.96 การสูบบุหรี่ พบว่า มีพฤติกรรมเสี่ยงทางด้านสุขภาพอยู่ในระดับปานกลาง หรืออยู่ในโซนสีเหลือง ร้อยละ 62.39 2) แบบแผนความเชื่อด้านพฤติกรรมสุขของบุคลากรวิทยาลัยครูปากเซ แขวงจำปาสัก พบว่า มีการรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 84.60 การรับรู้ความรุนแรงของการเกิดโรคอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 82.90 การรับรู้ประโยชน์ของการรักษาของการเกิดโรคอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 79.50 และ มีการรับรู้อุปสรรคในการป้องกันโรคอยู่ในระดับสูง ร้อยละ 71.80
##plugins.themes.bootstrap3.article.details##
参考
กระทรวงศึกษาธิการ และกีฬาลาว. (2559). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปการศึกษาแห่งชาติ ค.ศ. 2006-
เวียงจันทน์: โรงพิมพ์ศรีสะหวาด,
กมล ศรีล้อม. (2559). การพัฒนากระบวนการจัดการสุขภาพผู้สูงอายุเชิงพหุวัฒนธรรม. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,
คำใบ แก้วสะหว่าง. (2559). การบริหารงานวิชาการของวิทยาลัยครูปากเซ ประเทศสาธารณรัฐ
ประชาธิปไตยประชาชนลาว. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, 2562.
ดวงพร สำราญรมณ์. (2561). การรับรู้ต่อการป้องกันโรคอ้วนของนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเอกชน.
ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต.
ปัญญา ยงยิ่ง. (2561). การพัฒนาระบบสุขภาพอำเภอชายแดนไทย – ลาว. สาธารณสุขศาสตรดุษฎี
บัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.
วิไลรัตน์ บุญราศรี. (2559). แบบแผนความเชื่อและพฤติกรรมสุขภาพของพนักงานโรงไฟฟ้าแม่เมาะ
ที่มีภาวะอ้วนลงพุง. สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต วิชาเอกการจัดการการสร้างเสริม
สุขภาพ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สง่า ดามาพงษ์. (2559). เครือข่ายคนไทยไร้พุง. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 10 สิงหาคม 2565
จาก https://www.raipoong.com/.
สมศักดิ์ ฉันทนารมณ์. (2559). การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมประชาชนกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง
ตำบลท่าตะคร้อ อำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพชรบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
สำนักงานสำรวจสุขภาพประชากรไทย. (2557). การสำรวจสุขภาพประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย
ครั้งที่ 5 พ.ศ.2557. นนทบุรี: บริษัท อักษรกราฟฟิคแอนด์ดีไซน์, 2557.
Becker,M. (1974). The Health Belief Model and Sick Role Behavior. New Jersey : Charles
B.Slack, 1974.
Kolas, A. R., (2014). Risk Perceptions of Cardiovascular Disease in College Students.
(ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 5 พฤษภาคม 2565 จาก https://search.proquest.com/
docview/1545896376?accountid=34292, 2014.
Ledford, V. A. (2017). Examining Risk Perceptions and Efficacy for Healthy Weight
Management Among Appalachian College-Aged Students: A Test
and Extension of the Risk-Perception-Attitude Framework. (ออนไลน์).
สืบค้นเมื่อ 30 เมษายน 2565 จาก https://search.proquest.com/docview/
?accountid=34292.
M. Mostafa Zaman. (2015). Clustering of non-communicable diseases risk factors In
Bangladeshi adults: An analysis of STEPS survey 2013. BMC Public Health,
: 659.
Rosenstock,I.M. (1974). “Historical Origins of the Health Belief Model,” In The Health Belief
Model and Personal Behavior. pp. 328 – 335. New Jersey : Charles B.
Slack,.