การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารของชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหาร ชุมชนบ้านโคกเมือง ตำบลจรเข้มาก อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์ 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยการมีส่วนร่วมของคนในชุมชน 3) เพื่อประเมินกิจกรรมการท่องเที่ยวผ่านรูปแบบการประชาสัมพันธ์โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน วิธีการศึกษาเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์เนื้อหา การสำรวจเอกสาร และการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วม การสนทนากลุ่ม จำนวน 71 คน ผลการวิจัยพบว่า ในการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารชุมชนบ้านโคกเมืองนั้นได้มีการเลือกเมนูอาหาร 5 เมนู ที่นำมาสู่กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารได้แก่ ข้าวแตนหน้ากุ้มจ่อมกระฉีก ตำไก่ใส่มะม่วง ต้มไก่บ้านมะขามอ่อน ผัดกุ้งจ่อมทรงเครื่อง และน้ำพริกนายฮ้อย ซึ่งทั้ง 5 เมนูนั้นเป็นเมนูที่สามารถพัฒนาประสบการณ์การกิน
อาหารแต่ละมื้อของนักท่องเที่ยวได้ มีความน่าจดจำ สามารถเชื่อมโยงวัฒนธรรมเข้ากับการท่องเที่ยวเปรียบเสมือนการเปิดประตูสู่วัฒนธรรมของท้องถิ่น และเป็นตัวเชื่อมให้นักท่องเที่ยวและคนท้องถิ่นแบ่งปันประสบการณ์ทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวอาหารร่วมกัน สามารถส่งเสริมวัฒนธรรมท้องถิ่น สร้างและสืบสานการผลิตและการบริโภคทางวัฒนธรรมของชุมชน และการสร้างสรรค์อาหารที่แตกต่างยังสามารถแสดงถึงความโดดเด่นของภาพลักษณ์ของสถานที่ท่องเที่ยว ช่วยให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์ในตลาดที่มีการแข่งขันสูง โดยกิจกรรมจะมีดังนี้ วันที่ 1 1) การชิมขนมข้าวแตนหน้ากุ้งจ่อมกระฉีก น้ำดอกอัญชันมะนาว 2) ลงมือทำตำไก่ใส่มะม่วง 3) ลิ้มรสต้มไก่บ้านมะขามอ่อน 4) ปรุงเมนูกุ้งจ่อมทรงเครื่อง 5) เรียนรู้วิธีทำข้าวแตนหน้ากุ้งจ่อมกระฉีก วันที่ 2 1) ชมแหล่งวัตถุดิบธรรมชาติภายในชุมชน 2) ปั่นจักรยานชมตลาดสดในชุมชน 3) ทานอาหารเช้าตามเมนูคนโคกเมือง 4) สัมผัสวิถีชุมชนผ่านการปรุงอาหารท้องถิ่น จากเชฟชุมชน 5) ห่อน้ำพริกนายฮ้อยด้วยใบตาลและเรียนรู้เรื่องราวความเป็นมาของน้ำพริก โดยพัฒนารูปแบบการประชาสัมพันธ์กิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารเป็นรูปแบบประชาสัมพันธ์ ได้แก่ สื่อแผ่นพับ และสื่อวิดีทัศน์
Article Details
References
การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย. (2545). การท่องเที่ยวเชิงนิเวศในมุมมองของคนในกรุงเทพฯ : กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กำจร หลุยยะพงศ์. (2555). การสร้างสรรค์เพื่อการประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อพื้นบ้าน. นนทบุรี : เอกสารการสอนชุดวิชาการเขียนเพื่อการประชาสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
กิตติศักดิ์ กลิ่นหมื่นไวย. (2558). การศึกษาศักยภาพและการสร้างรูปแบบเส้นทางการท่องเที่ยว ชุมชนและมัคคุเทศก์ท้องถิ่นการท่องเที่ยวชุมชนเทศบาลตำบลนาครัว อำเภอแม่ทะ จังหวัดลำปาง วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฎธนบุรี.
จารุบุณณ์ ปาณานนท์. (2543). ตลาดนักท่องเที่ยวชาวญี่ปุ่น. จุลสารการท่องเที่ยว, 19 (4), หน้า 1-22.
ณัฐพร ดอกบุญนาค. (2556). การมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยว กรณีศึกษา ชุมชนในตลาดร้อยปีสามชุก อำเภอสามชุก จังหวัดสุพรรณบุรี. จังหวัดสุพรรณบุรี : มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ.
ธนาภรณ์ เมทณีสดุดี. (2543). ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศที่มีต่อการรับบริหารสื่อวีดิทัศน์. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีที่เหมาะสมเพื่อการพัฒนาทรัพยากร, บัณฑิตวิทยา มหาวิทยาลัยมหิดล.
บ้านโคกเมือง. (ม.ป.ป.). สืบค้น 15 มกราคม 2562, จากhttp://www.bankokmuang.in.th/ about-us
เบญจมาภรณ์ ชำนาญฉา. (2561). การท่องเที่ยวเชิงอาหาร : ศักยภาพและความได้เปรียบของ
ประเทศไทย.บทความวิชาการสมาคมสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแห่งประเทศไทยในพระ ราชูปถัมภ์ สมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี, 24 (1), 106-108. http://apheit.bu.ac.th/jounal/social-vol24-1/08.pdf
ภัทรพร พันธุรี.(2558).การจัดกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงอาหารโดยผ่านประสบการณ์ของนักท่องเที่ยวในประเทศไทย. กรุงเทพฯ : สาขาวิชาการจัดการโรงแรม และการท่องเที่ยว มหาวิทยาลัยนเรศวร.
องค์การบริหารการพัฒนาพื้นที่พิเศษเพื่อการ ท่องเที่ยวยั่งยืน (องค์การมหาชน). (2559). ท่องเที่ยว เชิงอาหาร.กรุงเทพฯ : บริษัท โคคูน แอนด์โค.
Cohen, E. (1972). Towards a sociology of international tourism. Social Research, 39, p.64-82.