การพัฒนาทักษะการอ่านโน้ตและทักษะการเล่นดนตรีไทย โดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Main Article Content

ภัทรชัย บุญสุวรรณชัย
วัชราภรณ์ ประภาสะโนบล
ยุพิน ยืนยง

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการอ่านโน้ตของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ 2) เพื่อเปรียบเทียบทักษะการเล่นดนตรีไทยของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ 3)  เพื่อศึกษาพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ 4)  เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ ประชากรที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 11 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 440 คน ปีการศึกษา 2566 โรงเรียน


ศรัทธาสมุทร จังหวัดสมุทรสงคราม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสมุทรสาคร สมุทรสงคราม กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/5 โรงเรียนศรัทธาสมุทร ที่กำลังศึกษาอยู่ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2566 ได้จากการสุ่มอย่างง่าย (Simple random sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้ง ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้วิชาดนตรี จำนวน 12 แผน 2) แบบวัดทักษะการอ่านโน้ต 3) แบบวัดทักษะการเล่นดนตรีไทย 4) แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ 5) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.78 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1. ทักษะการอ่านโน้ตของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมติฐานข้อที่ 1 ทักษะการอ่านโน้ตของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ มีค่าสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอน 2. ทักษะการเล่นดนตรีไทยของนักเรียนก่อนและหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งสอดคล้องกับสมติฐานข้อที่ 2 ทักษะการเล่นดนตรีไทยของนักเรียนหลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ มีค่าสูงกว่าก่อนการจัดการเรียนการสอน 3. พฤติกรรมการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟ โดยภาพรวม พบว่า ระดับการสังเกตพฤติกรรมของนักเรียนอยู่ในระดับมาก 4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 หลังได้รับการจัดการเรียนการสอนโดยใช้รูปแบบการสอนทักษะปฏิบัติของเดฟโดยภาพรวม พบว่า นักเรียนมีความพึงพอใจมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลาง กลุ่มสาระการเรียนรู้ศิลปะ. กรุงเทพฯ: กระทรวงศึกษาธิการ.

นที ปิ่นวิไลรัตน์. (2563). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยชุดการสอนทักษะปฏิบัติทางดนตรีประเภทลิ่มนิ้ว ตามแนวคิดของเดฟ สำหรับนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการออกแบบการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา.

ประติมา ธันยบูรณ์ตระกูล. (2550). การศึกษาการสอนการปั้นโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่เน้นทักษะปฏิบัติ อาร์ เอช เดฟ ที่ส่งเสริมพัฒนาการทางด้านศิลปะของผู้ที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา : กรณีศึกษาสถาบันราชานุกูล. คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิรุณ ตั้งเจริญ. (2539). ทัศนศิลป์. กรุงเทพมหานคร.โอเดียนสโตร์.

สํานักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). รายงานการสังเคราะห์สภาวะการณ์และป์จจัย ที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาไทย. กรุงเทพมหานคร.ค้นเมื่อ เมษายน 20,2567

Bloom, B.S. 1956. Taxonomy of Educational Objectives.Handbook : The Congnitive Domain. New York : David Mckay Company.

Dave, R.H. 1975. Developing and Writing Behavioural Obiectives. (RJ Armstrong,ed)

James,P. (1983).Teacher art special student. U.S.A. : J.Weston Walch,Publishing.