แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษา หลังวิถีใหม่สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคายเขต 2

Main Article Content

ปรัชญาพล จำปากุล
ประมุข ชูสอน

บทคัดย่อ

 การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาสภาพที่เป็นจริงและสภาพที่พึงประสงค์ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 2)เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 การศึกษาวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา กลุ่มตัวอย่าง คือ ครู จำนวน 269 คน กำหนดตัวอย่างด้วยตาราง Krejcie and Mogan และทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่างอย่างง่าย โดยระยะที่ 1 เป็นการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถาม 0.986 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าสถิติ ค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และจัดเรียงลำดับความต้องการจำเป็น ระยะที่ 2 การเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหา และนำเสนอโดยการพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. สภาพที่เป็นจริงภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีใหม่ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 2 ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านพบว่า การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และการกระตุ้นทางปัญญามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด

        สภาพที่พึงประสงค์ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยเป็นรายด้านพบว่า  การจัดการเทคโนโลยีดิจิทัลมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด และการการกระตุ้นทางปัญญามีค่าเฉลี่ยต่ำสุด


         ผลการจัดลำดับความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีใหม่ เรียงลำดับจากค่าสูงสุดถึงต่ำสุดดังนี้ ด้านการจัดการเทคโนโลยีดิจิทัล ด้านการกระตุ้นทางปัญญา ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจก ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ และด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ 


  1. ผลการศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาหลังวิถีใหม่ มีดังนี้ 1) การสร้างแรงบันดาลใจ พบว่า ควรส่งเสริมดูแลและเอาใจใส่ผู้ร่วมงานเป็นรายบุคคล และพัฒนาผู้ร่วมงานตามความสามรถและความสนใจ การส่งเสริมความสามารถและคล่องตัวในการติดต่อสื่อสารรูปแบบใหม่และส่งเสริมการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การให้ผู้บริหารเป็นพี่เลี้ยงในการสอนงานและเป็นที่ปรึกษาในการปฏิบัติงาน และการสร้างระบบสังคมแห่งการเรียนรู้ผ่านกระบวนการ PLC 2) การมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์  พบว่า ผู้บริหารควรมีความยืดหยุ่นในการตัดสินใจ พัฒนาผู้ร่วมงานและตนเองอย่างต่อเนื่อง การรับฟังผู้ร่วมงานในการยอมรับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นและร่วมสร้างค่านิยมใหม่ในการขับเคลื่อน ผู้บริหารควรพัฒนาทัศนคติเชิงบวกและรับฟังความคิดเห็นที่แตกต่างเพื่อการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงาน และความร่วมมือกับครูและชุมชน 3) การคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล พบว่าผู้บริหารเป็นแบบอย่างที่ดี และเคารพในการตัดสินใจ ด้วยทัศนคติเชิงบวก เคารพการตัดสินใจของผู้ใต้บังคับบัญชา และการส่งเสริมบรรยากาศที่ดีมีความสุขในการทำงาน 4) การกระตุ้นทางปัญญา พบว่าผู้บริหารส่งเสริมให้ครูจัดกิจกรรมเรียนรู้และพัฒนาทักษะใหม่แก่ผู้เรียน การส่งเสริมเครือข่ายผู้ปกครองและชุมชนในการศึกษา การส่งเสริมการเรียนการสอนในวิชาภาษาต่างประเทศสำหรับนักเรียนทุกคร การพัฒนาหลักสูตรแนวใหม่เพื่อเสริมสร้างคุณภาพของผู้เรียน และการส่งเสริมกิจกรรมมุ่งพัฒนาทักษะการใช้ชีวิตและการประกอบอาชีพในอนาคต 5) การจัดการเทคโนโลยี พบว่าผู้บริหารควรสนับสนุนการใช้สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีดิจิทัลอย่างสร้างสรรค์ มาใช้ในการจัดการเรียนการสอน และการบริหารจัดการรวมทั้งพัฒนางานด้านวิชาการให้มีคุณภาพสู่การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้

Article Details

บท
Research Articles

References

พระมหายุทธพิชาญ ทองจันทร์ (2565). การพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักธรรมในยุคโควิด -19. วารสารวนัมฎองแหรกพุทธศาสตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์.

ตรีนุช เทียนทอง (2564). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง นโยบายและจุดเน้นของ กระทรวงศึกษาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566.

สุพิศ ศรีบัว (2565). การพัฒนาโมเดลภาวะผู้นําการเปลี่ยนแปลงเชิงพุทธ สำหรับผู้บริหารโรงเรียนเอกชน. ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพุทธบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุภารัตน์ ชนะสงคราม. (2564). การศึกษาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหาร

สถานศึกษา โรงเรียนขนาดเล็กกลุ่มโรงเรียนบ้านดุง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุดรธานีเขต 3. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี, 9(1), 34-54.

วาสินี สุวรรณคาม (2565). ภาวะผู้นำเชิงบารมีของผู้บริหารสถานศึกษา. หลักสูตรครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา.

ธัญมัย ปรัชญาวุฒิรัตน์ (2563). การสร้างทฤษฎีฐานรากภาวะผู้นำผู้บริหารสถานศึกษา: พหุกรณีศึกษา. หลักสูตรการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยนเรศวร.

นฤมล สุวรรณรงค์ (2564). ภาวะผู้นำของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา กลุ่มที่ 8 สังกัดสำนักงาน พระพุทธศาสนาแห่งชาติ. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.

วงศกร เพียรชนะ (2566).ความต้องการจำเป็นและแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงในยุควิถีใหม่ของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กี่ศึกษา ประถมศึกษาสกลนคร เขต 2. ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.สาขาวิชาการบริหารสถานศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม.