วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1

Main Article Content

ธัญชนิต ชลประทาน
วัลลภา อารีรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 และ 3) เพื่อศึกษาวัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู สังกัดสำนักงาน เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูผู้สอน จำนวน 302 คน ซึ่งได้จากการสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่น 0.963 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม IBM SPSS Statistics เพื่อหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน


ผลการวิจัยพบว่า


1)       วัฒนธรรมคุณภาพในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านวิสัยทัศน์มุ่งคุณภาพและการบริการ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยรองลงมา คือ ด้านการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน และด้านการทำงานเป็นทีม ส่วนด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการจัดการกลยุทธ์มุ่งคุณภาพ


2)       ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการจัดการชั้นเรียน รองลงมา คือ ด้านคุณภาพผู้เรียน และด้านการจัดการเรียนรู้


3)       วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู จำนวน 5 ด้าน ได้แก่ วิสัยทัศน์มุ่งคุณภาพและการบริการ การทำงานเป็นทีม การจัดการกลยุทธ์มุ่งคุณภาพ การพัฒนาวิชาชีพอย่างต่อเนื่อง และการสร้างแรงจูงใจในการทำงาน สามารถพยากรณ์ประสิทธิผลในการปฏิบัติงานของครู ได้ร้อยละ 82.30 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สามารถสร้างสมการถดถอยในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐานได้ ดังนี้


 สมการในรูปคะแนนดิบ


          Y = 1.261 + 0.726(X1) + 0.266(X4) + 0.125(X5) + 0.101(X2) + 0.074(X3)


สมการพยากรณ์ในรูปแบบคะแนนมาตรฐาน


          Zy = 0.838(ZX1) + 0.364(ZX4) + 0.167(ZX5) + 0.137(ZX2) + 0.105(ZX3)

Article Details

บท
Research Articles

References

ชมพูนุช บุญมาวงษา, ชาญวิทย์ หาญรินทร์ และวัชรี แซงบุญเรือง. (2565). วัฒนธรรมคุณภาพที่ส่งผลต่อคุณภาพการศึกษาของโรงเรียน ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ, 16(2), 123-136.

ณิรดา เวชญาลักษณ์. (2559). การบริหารจัดการชั้นเรียนเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 13(61), 11–20.

ดาวรุวรรณ ถวิลการ. (2561). รูปแบบการพัฒนาวัฒนธรรมคุณภาพของโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา), 1(1), 1-312.

วิจารณ์ พานิช. (2554). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่21. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สุเขตร์ ศรีบุญเรือง. (2561). การพัฒนาตัวบ่งชี้วัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษา ระดับ มัธยมศึกษา สังกัดคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วิทยานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม

อรพรรณ หันแถลง. (2563). การพัฒนาแนวทางเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงวิสัยทัศน์ของผู้บริหารสถานศึกษา ในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดมหาสารคาม. ใน วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาการศึกษา. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

Goetsch, D.L. and Davis, S.B. (2003). Total Quality Handbook. New Jersey: Prentice-Hall.

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607–610.