การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Main Article Content

สิตานัน อุดรพันธ์
น้ำเพชร นาสารีย์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์โดยการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เรื่อง กระบวนการเปลี่ยนแปลงลมฟ้าอากาศ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีกลุ่มเป้าหมายในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนรัฐบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 31 คน โดยใช้แผนการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน จำนวน 6 แผน ได้แก่ 1) ชั้นบรรยากาศและการแบ่งชั้นบรรยากาศของโลก 2) อุณหภูมิของอากาศ 3) ความดันอากาศ 4) ลมและการเกิดลม 5) เมฆและการเกิดเมฆ 6) การเกิดฝน ซึ่งแต่ละแผนการจัดการเรียนรู้ประกอบไปด้วยใบกิจกรรมที่ใช้ในการพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ และแบบวัดทักษะการคิดวิเคราะห์ จำนวน 12 ข้อ โดยทำการวัดตามองค์ประกอบของทักษะการคิดวิเคราะห์ ซึ่งประกอบด้วยการวิเคราะห์ความสำคัญ การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ และการวิเคราะห์หลักการ สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านมีค่าเฉลี่ยคะแนนทักษะการคิดวิเคราะห์เท่ากับ 6.71 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก 2) การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์ระหว่างเรียนด้วยใบกิจกรรมการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน มีค่าเฉลี่ยคะแนนโดยรวม 8.22 คะแนน อยู่ในระดับดีมาก

Article Details

บท
Research Articles

References

ชบาพร พิมวัน. (2562). การจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสืบเสาะหาความรู้ ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องสมบัติของสารพันธุกรรมและมิวเทชัน ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม,มหาสารคาม).

ซาวียะห์ สาเหาะ. (2566). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง แสง โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, ยะลา).

ดารารัตน์ วงศ์เรืองศักดิ์. (2565). ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้สังคมศึกษาโดยใช้ห้องเรียนกลับด้านที่มีต่อการคิดวิเคราะห์และ ความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, กรุงเทพฯ).

ปัทวรรณ ประทุมดี. (2564). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านร่วมกับบทเรียนบนเว็บ เรื่อง การเคลื่อนที่ 2 มิติเพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. (วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม).

วิมลรัตน์ รูปแก้ว. (2565). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับสื่อประสมออนไลน์เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่องระบบประสาทและอวัยวะรับความรู้สึกชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6.

(วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยนเรศวร, พิษณุโลก).

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2560).แผนการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2560-2579.กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.

อาลาวีย๊ะ สะอะ. (2559). ผลการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับทางที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะการคิดวิเคราะห์ และความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรูปของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, สงขลา).

Marks, D. B. (2015). Flipping the Classroom: Turning an Instructional Methods Course Upside Down. Journal of College Teaching & Learning, 12, 241-248.