ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

วิลาสินี จันทร์ชุม
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์
นพรัตน์ ชัยเรือง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา คุณภาพผู้เรียน ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน และศึกษาแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู จำนวน 322 คน โดยใช้ตารางของเครจซี่ และมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ในการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่าง ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิ โดยเลือกจากกลุ่มที่ตั้งอำเภอของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ปีการศึกษา 2566 เป็นชั้นของการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม 5 ระดับ ที่เกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ที่ 0.99 สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ


 


            ผลการวิจัยพบว่า


  1. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฎว่า ด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการเรียนรู้ และด้านค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านการพัฒนาและสร้างมาตรฐานด้านวิชาการ ด้านการกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน และ ด้านการส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพ

  2. คุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ปรากฎว่าด้านที่ค่าเฉลี่ยสูงที่สุด คือ ด้านผู้เรียนมีทักษะชีวิต และด้านที่ค่าเฉลี่ยต่ำที่สุด คือ ด้านผู้เรียนมีความสามารถในการคิด

  3. ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ปรากฎว่า โดยภาพรวมมีความสัมพันธ์กันในระดับมาก

  4. แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่า ผู้บริหารจะต้องสร้างมาตรฐานงานและพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ จำเป็นจะต้องวางแผนเพื่อกำหนดเป้าหมายของโรงเรียน ส่งเสริมให้สถานศึกษาเป็นสถานที่ที่เอื้อต่อการเรียนรู้ จัดให้มีสิ่งจูงใจให้กับครูส่งเสริมให้มีการพัฒนาวิชาชีพทั้งผู้บริหาร ครู และบุคลากรให้มีความรู้ ความเข้าใจในด้านวิชาการเพื่อนำความรู้มาพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตรที่ตั้งไว้

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2553). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม

(ฉบับที่ 2) พ.ศ.2545 และ (ฉบับที่ 3) พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การ

รับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.

นิรุทธ์ น่วมรัศมี และดำรงค์ เบญจคีรี. (2565). การบริหารงานวิชาการที่ส่งผลต่อคุณภาพ ผู้เรียน

ในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 1. รายงานการวิจัย,

มหาวิทยาลัยบูรพา.

บุญพา พรหมณะ. (2559). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขต

พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานีเขต 1. รายงานการวิจัย, มหาวิทยาลัยราชภัฏ

นครศรีธรรมราช.

ปิยพร บุญใบ. (2563). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการประกัน

คุณภาพภายในของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา

สกลนคร เขต 1. รายงานการวิจัย, คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร

เพ็ญนภา ศรีแปลก. (2563). การศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน

สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระแก้ว. รายงานการวิจัย,

มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.

วันสุไลมาน แวสุหลง. (2564). ภาวะผู้นําทางวิชาการกับการนิเทศภายในของผู้บริหาร

โรงเรียนในสังกัดสำนักงานการศึกษาเอกชนจังหวัดปัตตานี. รายงานการวิจัย,

มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา.

สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). ยุทธศาสตร์ชาติ

ระยะ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขานุการ

ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและ

สังคมแห่งชาติ.

Murphy, K. J. & Kevin, O. (1999). Handbook of Labor Economics. Amsterdam:

North- holland Constructivist Perspeetive.