กลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคป ในโรงเรียนบ้านหินลาด

Main Article Content

กาญจนา ดีสร้อย
ณัฎฐ์ รัตนศิริณิชกุล

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.) วิเคราะห์สภาพแวดล้อม เพื่อการสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคปในโรงเรียนบ้านหินลาด 2.) เพื่อสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคปในโรงเรียนบ้านหินลาด 3. ) เพื่อทดลองใช้และถอดบทเรียนกลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยตามแนวคิดไฮสโคปในโรงเรียนบ้านหินลาดกลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง จำนวน 28 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบบันทึกการทบทวนหลังการปฏิบัติงาน โดยเครื่องมือผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา


                 ผลการวิจัยพบว่า 1) จุดแข็ง ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และผู้มีส่วนร่วมให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพการศึกษาปฐมวัย โอกาส ได้แก่ การสนับสนุนจากภายนอกและการพัฒนาตนเองของครู แรงบันดาลใจ ได้แก่ การมุ่งมั่นพัฒนาตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อส่งเสริมศักยภาพเด็ก และผลลัพธ์ที่คาดหวัง ได้แก่ การมีส่วนร่วม สภาพแวดล้อมและการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดไฮสโคป 2) กลยุทธ์มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด ประกอบด้วย การบริหารจัดการสภาพแวดล้อม การส่งเสริมการจัดกิจกรรม และการใช้กระบวนการ PLC 3) ผลการทดลองใช้ พบการพัฒนาสภาพแวดล้อม ส่งเสริมการจัดกิจกรรม และดำเนินการ PLC อย่างเป็นขั้นตอน ผลการถอดบทเรียน พบว่าทุกฝ่ายมีความรู้ความเข้าใจและสามารถนำกลยุทธ์ไปพัฒนาต่อยอดการบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยได้

Article Details

บท
Research Articles

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). หลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.

สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.(2565).แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ที่หลากหลายในสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยตามบริบทไทย : แนวทางการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ แบบไฮสโคป (High/Scope Approach)สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา.

วนิดา แสนอินต๊ะ และ เอกราช โฆษิตพิมานเวช. (2565). การพัฒนากลยุทธ์เพื่อการบริหารโรงเรียนเอกชนในสังคมไทยปัจจุบันโดยใช้ SOAR Analysis. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. 9(2), 51-63

สุเมธ งามกนก. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการสถานศึกษาระดับประถมวัย เรื่อง นวัตกรรมการจัดการการศึกษาด้วยแนวคิดไฮสโคป.วารสารศึกษาศาสตร มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร วิทยาเขตปตตานี.

สุพัตรา สาริพันธ์. (2564). ผลการเสริมสร้างการคิดเชิงบริหารของเด็กอนุบาล โดยใช้กระบวนการวางแผนปฏิบัติ และทบทวนตามแนวคิดไฮสโคป.มหาวิทยาลัยบูรพา.

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2561). แนวทางการนิเทศการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ในระดับปฐมวัยตามหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2560. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.

นิลวรรณ วัฒนา. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการศึกษาปฐมวัยโดยใช้โรงเรียนเป็นฐานของโรงเรียนเอกชน. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

น้ำฝน ทาทอง.(2563) การจัดกิจกรรมศิลปะจากต้นไผ่ตามแนวคิดไฮสโคปเพื่อพัฒนา ทักษะความคิดสร้างสรรค์สำหรับเด็กปฐมวัย.มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.

ชนิดา รักษาวงศ์.(2563). ผลของการจัดกิจกรรมศิลปะสร้างสรรค์ตามแนวคิดไฮสโคปที่มีต่อพฤติกรรมการรู้หนังสือขั้นต้นของเด็กปฐมวัย โรงเรียนพิชญบัณฑิต 2 จังหวัดอุดรธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร.

Bonwell, C. C., & Eison, J. A. (1991). Active Learning: Creating Excitement in the Classroom. ASHE-ERIC Higher Education Report No. 1. Washington, D.C.: The George Washington University.

Epstein, A. S. (2007). The Intentional Teacher: Choosing the Best Strategies for Young Children's

Learning. Washington, DC: National Association for the Education of Young Children.

Schweinhart, L. J., & Weikart, D. P. (2010). The HighScope Model of Early Childhood Education. In J. L. Roopnarine & J. E. Johnson (Eds.), Approaches to Early Childhood Education (pp. 191-212). Upper Saddle River, NJ: Merrill.