ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 2) เพื่อศึกษาระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา 3) เพื่อพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา และ 4) เพื่อสร้างแนวทางการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา การวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 1 ปีการศึกษา 2566 ได้แก่ จังหวัดชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ และสุรินทร์ จำนวน 421 คน โดยผู้วิจัยใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์โครงสร้างเชิงเส้นด้วยโปรแกรมลิสเรล ระยะที่ 2 ศึกษาแนวทางในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเป้าหมาย คือ ผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความเหมาะสมของแนวทางการพัฒนา โดยจัดสนทนากลุ่ม จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบประเมินความเหมาะสมของแนวทาง การวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ระดับความเหมาะสมของแนวทางพัฒนา โดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับมาก 3) รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าโมเดลมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ และตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ได้ร้อยละ 74 โดยปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษามากที่สุดคือ การใช้สื่อสังคมออนไลน์ รองลงมาได้แก่ การรับรู้ความสามารถในการใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสาร พฤติกรรมการใช้อินเทอร์เน็ตและเจตคติต่อการใช้อินเทอร์เน็ต และ 4) แนวทางในการพัฒนาปัจจัยที่ส่งผลต่อความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหารสถานศึกษา ประกอบด้วย สาระการพัฒนา วัตถุประสงค์ แนวทางการพัฒนา และตัวชี้วัด โดยมีวิธีการพัฒนาเป็น 2 ส่วน ได้แก่ พัฒนาโดยผู้บริหารสถานศึกษา และพัฒนาโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ผลการประเมินแนวทางในการพัฒนา พบว่ามีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
เจษฎา ชวนะไพศาล. (2563). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงเทคโนโลยีของผู้บริหาร
สถานศึกษากลุ่มสหวิทยาเขตทวารวดี สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาสุพรรณบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยศิลปากร, นครปฐม.
ต้องลักษณ์ บุญธรรม. (2559). การเป็นผู้นำยุคเศรษฐกิจดิจิทัลกับการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์กรทางการศึกษา. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 7(1), 217-225.
ธีระ รุญเจริญ. (2555). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา ยุคปฏิรูปการศึกษา
(พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: ข้าวฟ่าง.
ธัญธัช วิภัติภูมิประเทศ. (2567). ทักษะการเป็นพลเมืองดิจิทัลของนักศึกษาระดับปริญญาตรี
Digital Citizenship Skills of Undergraduate Students. วารสารมนุษยศาสตร์
และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, 43(1), 43-53.
บังอร ปัสมะริสสาและ ศิริพงษ์ เศาภายน. (2564). ความเป็นพลเมืองดิจิทัลของผู้บริหาร
สถานศึกษา สหวิทยาเขตปิยมิตร สังกัดสํานักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
เขต 4. Journal of Roi Kaensarn Academic. 6(3). 24-27.
บริษัทแอดวานซ์อินโฟร์เซอร์วิสจำกัด (มหาชน). (2562). หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์. สืบค้นจาก
https://sustainability.ais.co.th/th/sustainability-projects/aunjai-cyber
บุญชู ใจใส. (2564). ปัจจัยการบริหารที่ส่งผลต่อทักษะดิจิทัลของผู้บริหารโรงเรียน สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 2. บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
ปอส์ ไกรวิญญ์. (2560). กลยุทธ์การพัฒนาผู้บริหารโรงเรียนเอกชนตามแนวคิดความเป็น
พลเมือง ดิจิทัล. บัณฑิติวิทยาลัย: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
พฤทธิ์ ศิริบรรณพิทักษ์ และคนอื่นๆ. (2560). รายงานการศึกษาวิจัยเรื่องการพัฒนา
แนวทางการเข้าสู่ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา. กรุงเทพฯ: พริกหวานกราฟฟิค.
วรพจน์ วงศ์กิจรุ่งเรือง. (2561). คู่มือพลเมืองดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจ
ดิจิทัล กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม.
วัชระ มารุ่งเรือง. (2562). พัฒนาการสื่อสารให้มีประสิทธิภาพด้วยการพัฒนาคน. วารสารพุทธ
จิตวิทยา, 4(2), น.73-78.
สรานนท์ อินทนนท์. (2563). ความฉลาดทางดิจิทัล (DQ Digital Intelligence).
(พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: มูลนิธิส่งเสริมสื่อเด็กและเยาวชน (สสย.).
สุกัญญา แช่มช้อย. (2562). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุภวัช เชาวน์เกษม และคณะ. (2563). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำยุคดิจิทัลของผู้บริหาร
สถานศึกษากับประสิทธิผลโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1.บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). ศธ.ผนึกกำลังเดินหน้าขับเคลื่อน
“หลักสูตรอุ่นใจไซเบอร์” นำร่องโรงเรียนในเครือ สพฐ.ยกระดับทักษะพลเมือง
ดิจิทัล รู้เท่าทันภัยไซเบอร์.ค้นจาก https://www.obec.go.th/archives/754605
สำนักงานคณะกรรมการดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2562). หลักสูตรการเข้าใจ
ดิจิทัล (Digital Literacy) สำหรับพลเมืองไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานฯ.
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้
อินเทอร์เน็ตในประเทศไทยปี 2565. สืบค้นจาก https://www.etda.or.th/getattachment/78750426-4a58-4c36-85d3-d1c11c3db1f3/IUB-65-Final.pdf.aspx
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2559). การบริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล. สืบค้นจาก
https://www.trueplookpanya.com/education/content/52232
Ahmet Naci Coklar & Ali Tatli. (2020). Evaluation of Digital Citizenship Levels
of Teacher in the context of information Literacy and internet and
computer use Self-efficacy. Asian journal of Contemporary Education.
(2). 80-90. https://doi.org/10.18488/journal.137.2020.42.80.90
Abdulrahman Al-Zahrani. (2015). Toward Digital Citizenship: Examining
Factors Affecting Participation and Involvement in the Internet Society
among Higher Education Students. International Education Studies;
(12), 203-217. http://dx.doi.org/10.5539/ies.v8n12p203
Hussainy, S.S., & Jamalullah S.R. (2021). A Study of Factors Affecting Digital
Citizenship among College Faculties in India. International Journal of
Teaching, Education and Learning, 4 (3), 49-61.
Ozer, E. A., & Ozer, U. (2020). Effects on digital citizenship: The Turkish
pre-service teachers’ perspective. Croatian Journal of Education, 22(2),
–424.
Surbhi, S. (2015) . Difference .between On-the-job and Off-the job training.
Available: https://keydifferences.com/difference-between-on-the-job-and-off-the-job-training.html
Wang, Q., Ma, H., & Xu, S. (2022). A Study on the Relationship between
Digital Citizenship and Information Literacy among Middle School Students. In 2022 International Symposium on Educational Technology (ISET), pp. 73–76. https://doi.org/10.1109/ISET55194.2022.00023
Yunyun Liu & Qidong Liu. (2021). Factors influencing teachers’ level of digital
citizenship in underdeveloped regions of China. South African Journal
of Education, 41(4). 1-17. https://doi.org/10.15700/saje.v41n4a1886