การศึกษาผลการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ด้วยรูปแบบ SPSS สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ด้วยรูปแบบ SPSS สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ 3) ศึกษาความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ด้วยรูปแบบ SPSS สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนวัดศาลาเขื่อน อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ปีการศึกษา 2566 จำนวน 16 คน เป็นห้องเรียนแบบคละความสามารถ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ จำนวน 10 แผน 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ เป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิด 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ 20 คะแนน และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ด้วยรูปแบบ SPSS สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สถิติที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (
) และดัชนีประสิทธิผล (E.I.)
ผลการวิจัยพบว่า 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ด้วยรูปแบบ SPSS สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า มีประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 88.95/77.81 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 6.44 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.67 และมีค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (CV) เท่ากับ 25.93 และหลังได้รับการจัดการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 15.56 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เท่ากับ 1.97 และมีค่าสัมประสิทธิ์การแปรผัน (CV) เท่ากับ 12.66 แสดงว่าการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SPSS ทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สูงขึ้น 3) ผลการจัดการเรียนรู้คณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยรูปแบบ SPSS มีค่าดัชนีประสิทธิผล (E.I.) เท่ากับ 0.6728 แสดงว่านักเรียนมีความรู้ทางคณิตศาสตร์ เรื่องโจทย์ปัญหาร้อยละ เพิ่มขึ้นจากก่อนได้รับการจัดการเรียนรู้ ร้อยละ 67.28 4) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ ด้วยรูปแบบ SPSS สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
กระทรวงศึกษาธิการ. (2560). ตัวชี้วัดและสาระการเรียนรู้แกนกลางกลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ (ฉบับปรับปรุง พ.ศ. 2560) ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
เกษศิรินทร์ ขันธศุภ, ชานนท์ จันทรา และ ทรงชัย อักษรคิด. (2561). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ความน่าจะเป็นโดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการใช้คำถาม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
ฉบับสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 8(3), 219-229.
ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2550). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย. นนทบุรี: ไทเนรมิตกิจ อินเตอร์
โปรเกรสซิฟ จำกัด.
ธันยพัฒน์ พันธุ์พำนัก. (2562). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อส่งเสริมผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่องความน่าจะเป็น
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตรศึกษา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นริศรา สำราญวงษ์. (2558). การจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS เพื่อพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ เรื่องบทประยุกต์สำหรับนักเรียนชั้น ประถมศึกษาปีที่ 5. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นวกานต์ วิภาสชีวิน. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้ด้วยรูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด (Think-Pair-Share) เรื่อง สถิติ ที่มีต่อการพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาและความสามารถในการทำงานเป็นทีมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร
นันท์นภัส ศรีพรหมทอง. (2560). การศึกษาผมสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง โจทย์ปัญหาร้อยละ โดยใช้รูปแบบ SSCS โรงเรียนบ้านหนองตะเภา จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปิยวรรณ ผลรัตน์. (2560). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 เรื่อง อสมการ โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับเทคนิคเพื่อนคู่คิด. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการสอนคณิตศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี.
พนิดา ดีหลี, ชานนท์ จันทรา และ ต้องตา สมใจเพ็ง. (2563). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ลำดับและอนุกรม โดยใช้รูปแบบ SSCS ร่วมกับการใช้คำถาม. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา (68-80)
พัชรา โภชนุกูล. (2557). ผลการใช้วิธีการสอนแบบโพลยา (Polya) ร่วมกับแบบฝึกตามแนวคิด KWDL ที่มีต่อความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยทักษิณ
พัชรินทร์ ทิตะยา. (2562). การพัฒนาความสามรถการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์โดยใช้กระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ TAI ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2552). หลักการวัดและประเมินผลการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
พิฌาวรรณ แช่มชื่น ชมดง. (2559). ผลของการจัดกิจกรรมการเรียนรู้คณิตศาสตร์ตามรูปแบบ SSCS ร่วมกับการกระตุ้นโดยใช้คำถามที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการให้เหตุผลทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
รจนา ต่อน้อง. (2561). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วารสารวไลย อลงกรณ์ปริทัศน์มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 8(3), 13-25.
วิภาดา คล้ายนิ่ม. (2560). การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 เรื่อง ความน่าจะเป็นโดยใช้รูปแบบ SSCS. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. , 10(2), 329-345.
วิรัชดา เลิศรมยานันท์. (2559). ทักษะกระบวนการทางคณิตศาสตร์ http://mcpswis.mcp.ac.th/
html_edu /cgibin/mcp/main_php/print_informed. ธันวาคม, 2564.
สันนิสา สมัยอยู่. (2554). ผลการจัดการเรียนรู้แบบ SSCS ที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและการสื่อสารทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่องการประยุกต์ของสมการเชิงเส้นตัวแปรเดียว. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาการมัธยมศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
สุกัญญา สุขสบาย. (2556). ผลการใช้กระบวนการแก้โจทย์ปัญหาตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับแผนผังรูปเพชรและมุมทั้งสี่ที่มีต่อเจตคติและผลสัมฤทธิ์ในการแก้โจทย์ปัญหาทางคณิตศาสตร์: กรณีศึกษานักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
สุเทียน ดาศรี. (2559). ปฏิสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการคิดกับรูปแบบเทคนิคการช่วยเสริมศักยภาพที่มีต่อระดับทักษะการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ในการเรียนแบบผสมผสานที่ใช้เทคนิค KWDL บูรณาการกับเทคนิค SSCS สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น. วิทยานิพนธ์ครุศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารการศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สุพัตรา ฉลาดเลิศ. (2560). การศึกษาทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาคณิตศาสตร์ศึกษา มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
อนุรักษ์ สุวรรณสนธิ์. (2550). ความสามารถในการแก้โจทย์ปัญหาคณิตศาสตร์ โดยเน้นขั้นตอนการแก้ปัญหาของ Polya ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น.
อมินตา หลุมนา. (2563). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ตามแนวคิดของโพลยาร่วมกับแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
อัจฉราภรณ์ บุญจริง. (2551). การพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นทักษะการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ขั้นตอนการแก้ปัญหาของ Polya. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยขอนแก่น
Chun-Yen Chang. (1999). The Use of a Problem-solving- based Instructional Model in Initiating Change in Students’ Achievement and Altemative Frameworks. International Journal of Science Education.
Pinter, K. (2012). On Teaching Mathematical Problem-Solving and Problem Posing. Docter’ s Thesis in Mathematics and Computer Science: University of Szeged.
Pizzini, L. & S. P. (1989). A rationale for and the development of a problem solving model of instruction in science education. Science Education.
Polya, G. (1957). How to Solve It. Princeton, New Jersey: Princeton University Press.
Putt, l. (1979). An exploratory investigation of two methods of instraction in mathematics problem solving at the fifth grades level. Dissertatier _Abstrects Intemational. 39, 5382-A
Wibawati, F. (2009). Penerapan Pembelajaran Kooperatif SSCS (Search Solve Create and Share) Terhadadap Hasil Belajar Biologi Siswa Pokok Behasan Ekosistem Dikelas Vii Semester ll Smp Al Islam 1. Surakarta Tahun Ajaran 2008/2009.
Writt, P.J (1988). The relative effects of masses versus distributed practice upon the leaming And retention of eighth grade mathematics. Dissertation Abstracts International. 36 (5) ,72-A