ปัจจัยส่วนประสมการตลาดของผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้า : นัยยะความต้องการของผู้บริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์1) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคล พฤติกรรมการซื้อ และปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในมุมมองของผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปผ้า 2) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการตลาดผู้ประกอบการ OTOP แปรรูปผ้า กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่มีประสบการณ์ซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าทอ ระดับความเชื่อมั่นระดับนัยสำคัญ .05 จำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม
ผลการวิจัย พบว่า ผู้บริโภคที่มีประสบการณ์ซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าทอ ส่วนมากเป็นเพศหญิง มีอายุ
31-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพรับราชการ/รัฐวิสาหกิจ รายได้ 15,001-20,000 บาท มีพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์แปรรูปจากผ้าเพื่อเป็นของใช้ส่วนตัว จำนวนน้อยกว่า 5 ผืน/ชิ้น/ชุด มีค่าใช้จ่ายในการซื้อน้อยกว่า 1,000 บาท และผู้บริโภคให้ความสำคัญด้านการส่งเสริมการตลาด มากกว่าด้านอื่น
ส่วนผลการวิจัยศึกษาแนวทางการพัฒนาศักยภาพการตลาดผู้ประกอบการ OTOP แปรรูปผ้า พบว่า ควรกำหนดตลาดเป้าหมายเป็นกลุ่มตลาดเฉพาะ ตำแหน่งผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ทางเลือก ปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์ เพิ่มช่องทางการจำหน่ายออนไลน์เพื่ออำนวยความสะดวกการสืบค้นข้อมูล และการซื้อ
Article Details
References
กาญจนา เหล่าโชคชัยกุล. (2564). จาก OTOP ถึง OTOP นวัตวิถี: นโยบายการพัฒนาที่มีชุมชนเป็นฐาน. วารสาร
ไทยศึกษา, 18(2). 114-146.
กัลยา วานิชย์บัญชา และฐิตา วานิชย์บัญชา. (2559). การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล.กรุง-
เทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
กิติยา คีรีวงก์ วรรณวิสา ไพศรี และอรจิต ชัชวาล. (2564). พฤติกรรมผู้บริโภคแลปัจจัยจูงใจในการเลือกซื้อผลิต
ภัณฑ์ของฝาก ของที่ระลึก บ้านผาฆ้อง ดำบลห้วยส้ม อำเภอภูกระดึง จังหวัดเลย, วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฎอุดรธานี, 9(2), 68-85.
เจกิตาน์ ศรีสรวล และ ณัฐพร อิฐสุวรรณ กัง. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้า OTOP ของนักท่อง
เที่ยวตลาดน้ำบางคล้า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา. วารสารวิชาการศรีปทุม ชลบุรี, 16(4), 79-89.
ณัชชาภัทร เวียงแสน รุ่งนภา กิตติลาภ และสมพงษ์ จุ้ยศิริ. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้า
ไหมของผู้บริโภคในเขตเทศบาลนครขอนแก่น. วารสารธรรมทรรศน์, 16(3), 133-142.
ดวงฤดี อุทัยหอม นาตยา โชติกุล กรกมล ซุ้นสุวรรณ กุลธิรา แซ่โซว และนพดล ชูเศษ. (2565). ปัจจัยส่วนประสม
ทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าทอล่องมุดจังหวัดสงขลา, วารสารสังคมศาสตร์และมนุษย-วิทยาเชิงพุทธ, 7(2), 310-324.
ดารินทร์ คำพันธ์ และสุจิตรา เปลี่ยนรุ่ง. (2565). การสื่อสารอัตลักษณ์สินค้ากระเป๋าโอทอปของกลุ่มผู้ผลิต และ
ผู้ประกอบการ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎบ้านสมเด็จเจ้าพระยา. 16(1). 44-68.
ธันย์นิชา วิโรจน์รุจน์. (2563). การจัดการเชิงกลยุทธ์ของผลิตภัณฑ์ผ้าทอบนพื้นฐานเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสาร
ปัญญาภิวัฒน์, 12(3). 134-146.
นพดล ชูเศษ และเอธัสวัฒน์ คำมณี. (2561). การพัฒนากลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดของผ้าทอลานข่อย ตำบล
ลานข่อย อำเภอป่าพะยอม จังหวัดพัทลุง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(2), 123-133.
นุจนาถ นรินทร์ เขวิกา สุขเอี่ยม และสิทธิ์ ธีรสรณ์. (2564). การพัฒนาส่วนประสมการตลาดบริการของผลิตภัณฑ์
โอทอปนวัตวิถีชุมชนกำแพงแสน. วารสารลวะศรี มหาวิทยาลัยราชภัฎเทพสตรี, 5(2), 92-103.
บุษบา หินเธาว์ รัตนา สิทธิอ่วม จงกล เพชรสุข ธัญญาพร มาบวบ และสุรีย์พร แก้วหล่อ. (2566). การศึกษาแนว
ทางการพัฒนากลุ่มอาชีพทอผ้า กรณีศึกษากลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอไทยร่วมใจบ้านกร่างท่าวัว ตำบลบ้านกร่าง อำเภอเมือง จังหวัดพิษณุโลก. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม, 5(1), 61-77.
ปฐมพงศ์ เศวตศิริ และคณาธิศ เนียมหอม. (2565). การออกแบบและการพัฒนารูปแบบลวดลาย ต้นแบบกระเป๋า
ใส่งานเขียนแบบเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มจากผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ. วารสารวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม, 3(3), 25-35.
พรชนก พงศ์ทองเมือง และวิภา วังศิริกุล. (2563). สภาพส่วนประสมทางการตลาดของสินค้า OTOP ประเภทเสื้อ
ผ้าและเครื่องแต่งกาย จังหวัดนราธิวาส กรณีศึกษา กลุ่มผ้าบาติก จังหวัดนราธิวาส. วารสารการจัดการและการพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลาชธานี, 7(1), 105-115.
พรรณทิมา วรรณสุทธิ์ ศักดิ์ดา เกิดการ และวลัยลักษณ์ พันธุรี. (2567). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกกรณี
ศึกษา : กลุ่มผลิตภัณฑ์จักสาน ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา
(สาขาวมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์), 18(1), 259-268.
พิมพ์อมร นิยมค้า. (2564). การพัฒนาสินค้าที่ระลึกผ้าทอมือย้อมครามเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจการท่องเที่ยวใน
เขตเทศบาลนครสกลนคร. วารสารศิลปะศาสตร์และวิทยาการจัดการ, 8(2), 76-89.
ภฤดา กาญจนพายัพ. (2564). ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีต่อพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์จากผ้าฝ้ายทอ-
มือของผู้บริโภคในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. วารสารปรัชญาปริทรรศน์, 26(1), 192-201.
มณีรัตน์ รัตนพันธ์. (2566). พฤติกรรมการซื้อและปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ผ้า
ทอ ของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนผ้าทอร่มไทร จังหวัดสงขลา. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(2), 425-441.
รัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2560). พฤติกรรมการตัดสินใจเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ผ้าฝ้ายทอมือ ในเขตอำเภอเมือง จังหวัด
เชียงใหม่: นัยยะเพื่อการพัฒนาส่วนประสมทางการตลาดตามความต้องการของผู้ซื้อ. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 37(1), 26-37.
รัตติกาญจน์ ภูษิต. (2563). การพัฒนากลยุทธ์การตลาดเพื่อสร้างการรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ผ้าหมักโคลนในจังหวัด
สุโขทัย ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยการกีฬาแห่งชาติ, 12(2), 87-98.
ลัดดาวัลย์ เพชรโรจน์ สุภมาส อังศุโชติ และอัจฉรา ชำนิประศาสน์. (2562). สถิติสำหรับการวิจัย และเทคนิค
การใช้SPSS. (พิมพ์ครั้งที่1) กรุงเทพ: เจริญดีมั่นคงการพิมพ์.
สัญญาศรณ์ สวัสดิ์ไธสง ละมัย ร่วมเย็น ภาวรินทร์ สวัสดิ์ไธสง พัทธนันท์ ชมภูนุช และลัดดาวัลย์ ร่มเย็น. (2562).
สภาพปัญหา ความต้องการ คุณภาพชีวิต และรูปแบบการพัฒนาประสิทธิภาพ การผลิตและการสร้างมูลค่าสินค้าเกษตรของวิสาหกิจชุมชน. วารสารสหวิทยาการวิจัย: ฉบับบัณฑิตศึกษา, 8(2), 230-240.
สิน พันธุ์พินิจ. (2554). เทคนิคการวิจัยทางสังคมศาสตร์. (พิมพ์ครั้งที่2) กรุงเทพ: จูน พับลิสซิ่ง จำกัด.
ศศิธร แตงแจ้ง อังคณา ขันตรีจิตรานนท์ และนฤมล ศราพันธุ์. (2561). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับพฤติกรรมการบริโภค
ผ้าทอมือบ้านป่าแดงของครูและเจ้าหน้าที่ของรัฐจังหวัดพิจิตร. วารสารศึกษาศาสตร์ปริทัศน์, 33(3), 103-109.
ศิรินทิพย์ พิศวง. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์ของผู้ปประกอบการโอทอป เพื่อส่งเสริมเครือข่ายองค์ความรู้
จังหวัดสุรินทร์. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา, 15(4), 28-41.
สิทธิชัย ศรีเจริญประมง ฤดีวรณ ยิ่งยง และศตวรรษ ทิพโสด. (2563). แนวทางการพัฒนาผลิตภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อ
การเชื่อมโยงกับการท่องเที่ยวของชุมชนบ้านบางกะจะ จังหวัดจันทบุรี. วารสารวิจัยราชภัฏเชียงใหม่, 21(2), 157-166.
สุบัน บัวขาว. (2562). การพัฒนาศักยภาพการตลาดสินค้าของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยวหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์
จังหวัดนนทบุรี. วารสารราชภัฎเพชรบูรณ์สาร, 21(1), 33-40.
อารียา บุญทวี และจินดา เนื่องจำนงค์. (2565). การพัฒนาเพื่อเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าขาวม้า ในกลุ่มสตรีตัดเย็บ
บ้านนายาว อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา สู่เศรษฐกิจสร้างสรรค์. วารสารมนุษยสังคมปริทัศน์, 24(1), 147-157.
อุทัย อันพิมพ์ และสายรุ้ง ดินโคกสูง. (2566). การสร้างกลยุทธ์การบริหารจัดการกลุ่มวิสาหกิจชุมชนร่องมาลีด้วย
กระบวนการมีส่วนร่วมของชุมชน วิสาหกิจชุมชนร่องมาลี จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารร้อยแก่นสาร, 8(5), 256-269.