การพัฒนาความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษของนักศึกษาก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน 2) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษหลังการจัดการเรียนรู้ กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ 3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย เป็นนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 2 สาขาวิชาการบัญชี วิทยาลัยเทคโนโลยีช่างกลพณิชยการนครราชสีมา ที่ศึกษาในภาคเรียนฤดูร้อน ปีการศึกษา 2566 จำนวน 19 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความ แบบปรนัย 5 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ และ 3) แบบสอบถามวัดความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบมาตราประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ได้ทดสอบการแจกแจงแบบโค้งปกติ โดยใช้ Kolmogorov-Smirnov พบว่า แจกแจงแบบโค้งปกติ และทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test for Dependent Sample ผลการวิจัยพบว่า 1)ความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ความสามารถด้านการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษ หลังเรียนคิดเป็นร้อยละ 83.68 สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับการจัดการเรียนรู้แบบเกมเป็นฐาน พบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด
Article Details
References
ทะนง พูนสวัสดิ์, และกชกร ธิปัตดี. (2562). การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามยุทธวิธีเมตาคอกนิชันเพื่อส่งเสริมการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจสำหรับนักศึกษาครูภาษาอังกฤษชั้นปีที่ 2. วารสารวิจัยและประเมินผลอุบลราชธานี. 8(2), น.115-121.
ปวีณา วิมลศาสตร์. (2564). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้กลวิธีเมตาคอกนิชันร่วมกับเทคนิคแผนที่ความคิดที่มีต่อความสามารถในการอ่าน ภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจและการคิดวิเคราะห์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6. (วิทยานิพนธ์ปริญญา ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์, บุรีรัมย์.
ปองรัตน์ ศรีสืบ. (2553). ทัศนคติต่อการเรียนวิชาภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับ ปวส. ชั้นปีที่ 2 ของโรงเรียนกรุงเทพการบัญชีวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: ธนพรการพิมพ์.
พนิต เข็มทอง. (2552). สาระเบื้องต้นของอาชีวศึกษา. ภาควิชาอาชีวศึกษา คณะศึกษาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
วนิดา พลอยสังวาลย์. (2555). จากหลักสูตรสู่การเรียนการสอนภาษาอังกฤษ. ในประมวลสาระชุดวิชา สารัตถะและวิทยวิธีทางภาษาอังกฤษ (หน่วยที่ 8, 1-57). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สุพัฒน์ สุกมลสันต์. (2552). รายงานการวิจัยการศึกษาสมรรถภาพผู้สำเร็จการศึกษา หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง. กองนโยบายและแผน.กระทรวงศึกษาธิการ.
อุดมพร. (2557). การพัฒนาชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาอังกฤษตามยุทธศาสตร์เมตาคอกนิชัน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, สกลนคร.
Al-Sha, S. (2002). The effectiveness of metacognitive strategies on reading Comprehension and comprehension strategies of eleventh-grade students in Kuwaiti high schools (Doctoral dissertation, Ohio
University). Dissertation Abstracts International, 63(8), p.277.
Anderson, N. (2001). The role of metacognition in second language teaching and learning. Journal of Reading, 38(1), pp.36-44.
Beyer. (1987). Practical strategies for the teaching of thinking. Boston: Allyn and Bacon.
Costa, L.A. (2000). Developing your child’s habits of success in school in school, life and work. New York: The Association for supervision
and Curriculum Development.
Flood, J., & Lapp, D. (1990). Reading comprehension instruction for at-risk students: Research-based practices that can make a difference.
Journal of Reading, 33(7), pp.490–496.
McKenzi James. (2020). The Impact of Game-Based Learning in a Special Education Classroom. Northwestern College - Orange City.