บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการ การศึกษาปฐมวัย ในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการ การศึกษาปฐมวัย 2) เปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูระดับปฐมวัย จําแนกตามเพศ อายุ วุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา และ 3) ศึกษาแนวทางบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการ การศึกษาปฐมวัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูปฐมวัย จำนวน 165 คน ใช้การสุ่มแบบแบ่งชั้นตามขนาดสถานศึกษา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามที่มีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ .67-1.00 และความเที่ยงเท่ากับ .99 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test independent) การวิเคราะห์ค่าความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) ทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วย LSD และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของผู้บริหารสถานศึกษาในการจัดการศึกษาปฐมวัย ในภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงจากค่าเฉลี่ยสูงสุดไปต่ำสุด คือ ด้านบทบาทหน้าที่ของผู้เกี่ยวข้องในการบริหารจัดการหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม การนำหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยไปสู่การปฏิบัติ ด้านการการพัฒนาผู้สอนและบุคลากรปฐมวัย ด้านการสนับสนุนงบประมาณและทรัพยากร และ ด้านการประเมินหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัย 2) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นของผู้บริหารและครูระดับปฐมวัยที่มีเพศ อายุ ต่างกัน มีความคิดเห็นไม่แตกต่างกันในภาพรวม ส่วนวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษาต่างกัน มีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) แนวทางบทบาทของผู้บริหารสถานศึกษา คือ ผู้บริหารควรส่งเสริมการประเมินหลักสูตรสถานศึกษา ติดตามความก้าวหน้าของการใช้หลักสูตรเป็นระยะ และพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาปฐมวัยอย่างต่อเนื่อง
Article Details
References
กัญญลักษณ์ โสภา และประเวศ เวชชะ. (2564). การพัฒนายุทธศาสตร์เพื่อการประกันคุณภาพ
การศึกษาของโรงเรียนอนุบาลองค์การบริหารส่วนตำบลป่าหุ่ง จังหวัดเชียงราย.
วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จงรัก จันทร์ขาว และศิลป์ชัย สุวรรณมณี. (2561). การจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของผู้บริหาร
สถานศึกษาตามความคิดเห็นของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา
นราธิวาส เขต 2. มหาวิทยาลัยหาดใหญ่.
จารุวรรณ สุวรรณศรี. (2560). บทบาทผู้บริหารในการพัฒนาการทำงานเป็นทีมของครู โรงเรียน
ศูนย์ภัทรบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาตราด. บัณฑิตวิทยาลัย :
มหาวิทยาลัยบูรพา.
ชลดา ยาวิละ สุรศักดิ์ สุทธสิริและทัศนีย์ บุญมาภิ. (2566). การพัฒนาหลักสูตรการเรียนรู้ของ
โรงเรียนบ้านปงแม่ลอบ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำพูน เขต 1.
มหาวิทยาลัยนอร์ท-เชียงใหม่
ปิยาภรณ์ พูลชัย. (2565). บทบาทผู้บริหารสถานศึกษาในการส่งเสริมการจัดการเรียนการสอนที่
เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามความคิดเห็นของครูผู้สอน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาจันทบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2562). มาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัยแห่งชาติ. กรุงเทพฯ:
สำนักงาน.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. ผลการดำเนินงานของสถานศึกษา
รายงานผลการประเมินตนเองของสถานศึกษา (SAR). สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 30, 2565.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2565). แผนพัฒนาครูและบุคลากร
ทางการศึกษาประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2565. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 30, 2565.
https://drive.google.com/file/d/1iwU7VtNgfzOOF5tydkHGFXXo-fwt2_Io/view.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 2. (2565). รายงานผลการนิเทศ กำกับ
ติดตาม การเปิดภาคเรียน ที่ 1 ปีการศึกษา 2565. สืบค้นเมื่อ ตุลาคม 30, 2565.
https://drive.google.com/file/d/19Arp2rcFU0PamKLjeGwm8rHtaaPN-rI/view.
สุรศักดิ์ ลือขจร. (2565). การพัฒนากระบวนการนิเทศภายในเพื่อส่งเสริมคุณภาพการศึกษาตาม
แนวทางบ้านนักวิทยาศาสตร์น้อยสำหรับครูปฐมวัยกลุ่มศิลาลาด17 จังหวัดศรีสะเกษ.
วารสาร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตอุบลราชธานี.
อุรุพงษ์ งามฉมัง. (2564). ทักษะของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการบริหารงานวิชาการระดับ
ปฐมวัย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจันทบุรี เขต 1.
มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี.