แรงจูงใจในการสมัครเป็นทหารกองประจำการ สังกัดค่ายบุรฉัตร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิชาการเรื่อง แรงจูงใจในการสมัครเป็นทหารกองประจำการ สังกัดค่ายบุรฉัตร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี แนวทางการพัฒนาวิธีการจูงใจให้สมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการมากขึ้น ควรจะปรับปรุงในเรื่อง การกำหนดนโยบายที่ชัดเจนให้ทหารกองประจำการที่สมัครใจสามารถเลือกเหล่าและสังกัดได้ มีการพัฒนาการประชาสัมพันธ์ที่เพิ่มขึ้น เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้ทั่วถึงและต่อเนื่อง โดยฉพาะข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับการสมัครเข้าเป็นทหารกองประจำการ เพื่อเป็นการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนสมัครใจเข้าเป็นทหารกองประจำการมากยิ่งขึ้น เป็นต้น และปัจจัยด้านค่าตอบแทน ควรมีการปรับปรุงเรื่องเบี้ยเลี้ยง ควรเพิ่มเงินรายได้ให้สูงขึ้นที่สอดคล้องกับสภาพเศรษฐกิจปัจจุบัน ปัจจัยด้านความเจริญก้าวหน้าควรเพิ่มโควตาในการเข้าศึกษาโรงเรียนทหาร ปัจจัยด้านความมีเกียรติ มีศักดิ์ศรี ควรมีการส่งเสริมภาพลักษณ์ขององค์กรให้เป็นองค์กรที่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีอย่างแท้จริง ปัจจัยด้านแนวทางการประกอบอาชีพ ควรสร้างมาตรฐานการทำงานจนเป็นที่ยอมรับของสังคม
Article Details
References
กระทรวงกลาโหม. (2543). ประกาศกระทรวงกลาโหมเรื่องการรับทหารกองเกินอายุ 18 – 20 ปีบริบูรณ์ เข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอ.
กองทัพบก. (2543). ระเบียบกองทัพบก ว่าด้วยการรับทหารกองเกินอายุ18 – 20 ปีบริบูรณ์ เข้าเป็นทหารกองประจำการโดยวิธีร้องขอ.
จิราภา เต็งไตรรัตน์และคณะ. (2543). จิตวิทยาทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ดลกร ล้ำชัย. (2549). ปัจจัยที่มีผลต่อการเลือกเรียนต่อในระดับปริญญาโทในสถาบันการศึกษาภายในประเทศของบัณฑิตศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. สารนิพนธ์โครงการบัณฑิตศึกษาการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
บุญทวี ขันทะ. (2550). แรงจูงใจของผู้เข้ารับการฝึกอบรมอาชีพช่างอุตสาหกรรมหลักสูตรเข้าทํางาน : กรณีศึกษาศูนย์พัฒนาฝีมือแรงงาน จังหวัดเชียงราย. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
สุธาทิพย์ ใหม่ชุ่ม. (2550). การตัดสินใจเข้าเรียนในหลักสูตรการศึกษานอกโรงเรียนสายสามัญระดับมัธยมศึกษาของนักเรียนศูนย์บริการการศึกษาโรงเรียน อําเภอเมืองจังหวัดยะลา. ภาคนิพนธ์คณะพัฒนาสังคมและสิ่งแวดล้อม สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
อารี พันธ์มณี. (2534). จิตวิทยาการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: สํานักพิมพ์บริษัทเลิฟแอนด์ลิฟเพรส จํากัด.
อารี พันธ์มณี. (2546). จิตวิทยาสร้างสรรค์การเรียนการสอน. กรุงเทพฯ : ใยใหม ครีเอทีฟ กรุ๊ป.
Kidd, J. R. (1973). How Adults Learn. New York: Association Press.
Steers, R.M. and Porter, L.W. (1979). Motivation and Work Behavior. New York: McGraw Hill Book.