การพัฒนาบทเรียนไมโครเลิร์นนิงตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์ เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้เป็นการวิจัยเกี่ยวกับการพัฒนาบทเรียนไมโครเลิร์นนิงตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาบทเรียนไมโครเลิร์นนิงตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคุณภาพระดับดีและประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลทดสอบก่อนเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนรู้ด้วยบทเรียนไมโครเลิร์นนิงตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 กลุ่มเป้าหมายคือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสตรีอ่างทอง จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2566 ได้มาจากการเลือกแบบกลุ่ม เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) บทเรียนไมโครเลิร์นนิงตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน 3) แบบประเมินคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วยร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่า t-test ผลการวิจัยพบว่า 1) บทเรียนไมโครเลิร์นนิงตามแนวคิดคอนสตรัคติวิสต์เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนคำศัพท์ภาษาอังกฤษของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญแบ่งเป็นด้านเนื้อหา มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.63 และผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิค มีคุณภาพอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.54 และมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 83.33/82.83 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80 2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01
Article Details
References
กุสลวัฒน์ คงประดิษฐ์. (2562). การใช้เทคโนโลยีเว็บ 2.0 ในการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิดทฤษฎีโครงสร้างนิยม (Constructivism). วารสารศึกษาศาสตร์, 30(3), 115
กุสุมา เลาะเด. (2561). รูปแบบการเรียนรู้ภาษาอังกฤษของนักศึกษาระดับปริญญาตรี มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ จังหวัดปทุมธานี
Valaya Alongkorn Review, 8(3), 158-170.
ดลพร ใบบัว ไพฑูรย์ ศรีฟ้าและสูติเทพ ศิริพิพัฒนกุล. (2565). การพัฒนาสื่อโมชันกราฟิกตาม แนวคิดไมโครเลิร์นนิงร่วมกับการเรียนการสอนแบบออนไลน์ เรื่อง เทคโนโลยีสารสนเทศ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3. Journal of Educational Technology and Communications Faculty of Education Mahasarakham University (JETC), 5 (15), 127-140.
ทิศนา แขมมณี. (2551). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย.
นิติกานต์ ศรีโมรา. (2562). การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความคงทนในการเรียนรู้คำศัพท์ภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ด้วยการสอนแบบใช้เกมและบัตร คำศัพท์. JOURNAL OF EDUCATION BANGKOKTHONBURI UNIVERSITY, 7(2), 102-108.
บุญชม ศรสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพครั้งที่ 7). กรงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
แพรไหม คำดวง. (2562). การสอนไวยากรณ์ภาษาอังกฤษตามแนวคิดทฤษฏีคอนสตรัคติวิสต์ สำหรับนักศึกษาชั้นปีที่ 1 คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยศิลปากร. การค้นคว้าอิสระ หลักสูตรศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนภาษาอังกฤษ ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ราชกิจจานุเบกษา พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542. 2542 เล่ม 116
ตอนที่ 74.
ศยามน อินสะอาด. (2561). เคล็ดลับการออกแบบ E-Learning สำหรับนักออกแบบและผู้สอน.
กรุงเทพฯ : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
ศยามน อินสะอาด. (2564). การออกแบบไมโครเลิร์นนิงยุคดิจิทัล. สำนักเทคโนโลยีการศึกษา มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 16(20), 16-31.
สุมาลี ชัยเจริญ. (2559). การออกแบบการสอน : หลักการ ทฤษฎี สู่การปฏิบัติ. ขอนแก่น : บริษัท
เพ็ญพริ้นติ้ง จำกัด
Duffy, T.M. & Cunningham, D.J. (1996). Constructivism: Implication for the Design and Delivery of Instruction. New York: Macmillan Library Reference USA.