รูปแบบการพัฒนาการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษา ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง

Main Article Content

เทอดทูน ค้าขาย
สมบูรณ์ ตันยะ
สงวนพงศ์ ชวนชม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง 2) สร้างรูปแบบการพัฒนาการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง และ 3) ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยดำเนินการวิจัยเป็น 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ได้แก่ ผู้บริหารงานกิจการนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างปีการศึกษา 2566 จำนวน 45 คน จาก 15 สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ ซึ่งมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60 -1.00 และค่าความเชื่อมั่น 0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหาจากข้อเสนอแนะในส่วนท้ายของแบบสอบถามฉบับเดียวกัน ขั้นตอนที่ 2 สร้างรูปแบบการพัฒนาการการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง โดยนำผลจากขั้นตอนที่ 1 มาใช้เป็นหลักในรูปแบบการพัฒนาและจัดกลุ่มประชุมสนทนา ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน เพื่อพิจารณาความเหมาะสมของรูปแบบการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบประเมินความเหมาะสม ขั้นตอนที่ 3 ประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารกิจการนักศึกษา สถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ที่เลือกแบบเจาะจงจำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ คือแบบประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ มาวิเคราะห์หาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน


          ผลการวิจัยพบว่า 1) ผู้บริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาใน


ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างมีการจัดการบริหารกิจการนักศึกษาตามกรอบแนวคิด POLC Framework โดยภาพรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาแต่ละด้าน พบว่า การบริหารกิจการนักศึกษาด้านกิจกรรมนักศึกษามีค่าเฉลี่ยสูงสุด รองลงมาการบริหารกิจการนักศึกษาด้านบริการและสวัสดิการนักศึกษา และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ 3 ลำดับสุดท้าย ได้แก่ ด้านกีฬา ด้านวินัยนักศึกษา และ ด้านงานแนะแนวและจัดหางาน 2) รูปแบบการพัฒนาการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ (2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ (3) สาระสำคัญและการดำเนินการพัฒนา (4) แนวทางการนำรูปแบบสู่การปฏิบัติ และ (5) เงื่อนไขความสำเร็จของรูปแบบ ผลการประเมินความเหมาะสมของรูปแบบ อยู่ในระดับมากที่สุด 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้และความเป็นประโยชน์ของรูปแบบการพัฒนาการบริหารกิจการนักศึกษาของสถาบันอุดมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่างอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
Research Articles

References

เจริญชัย สุวรรณศรี, มงคล ดอนขวาและสังเวียน ปินะกาลัง. (2561). รูปแบบการจัดการสถานกีฬาชุมชนระดับตำบล เพื่อพัฒนาสู่ความเป็นเลิศในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย. วารสารวิจัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 18 (2). 16-31

ทินกร ชอัมพงษ์. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกีฬาแบบมีส่วนร่วมของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์.

ธนภัทร แสงจันทร์, ชูเกียรติ วิเศษนา, สงวนพงศ์ ชวนชม และสมบูรณ์ ตันยะ (2564). รูปแบบการบริหารอาชีวศึกษาระบบทวิภาคีที่มีประสิทธิผลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา. สิกขาวารสารศึกษาศาสตร์ 8 (2). หน้า 76-85

บุญชม ศรีสะอาด. (2553). การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาสน์.

เบญจวรรณ ถนอมชยธวัช, ผ่องศรี วาณิชย์ศุภวงศ์, วุฒิชัย เนียมเทศและณัฐวิทย์ พจนตันติ. (2559). ทักษะแห่งศตวรรษที่ 21: ความท้าทายในการพัฒนานักศึกษา. วารสารเครือข่ายวิทยาลัยพยาบาลและการสาธารณสุขภาคใต้.3(2).น. 208-222 สืบค้นจาก https://he01.tci-thaijo.org/index.php/scnet/aryicle/download /58038/47990/ 135500

มิตร ทองกาบ. (2558). รูปแบบการบริหารงานกิจการนักศึกษาที่มีประสิทธิภาพสำหรับสถาบันอุดมศึกษาเอกชน. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยนอร์ท กรุงเทพ. สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

รมย์รัมภา ณัฐธัญอติรุจ. (2561). แนวทางการบริหารกิจการนักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏ. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยศิลปากร.สืบค้นจาก https://tdc.thailis.or.th/tdc/

สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ พ.ศ.2561-2580 (ฉบับประกาศราชกิจจานุเบกษา).(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.สืบค้นจาก www.nesdc.go.th/download/ document /SAC/NS_PlanOct2018.pdf

Drucker P. (2005). Technology, management & society : essays. New York : Harper & Row.

Johnson. D. (2003). Critical Issue: Addressing the Literacy Needs of Emergent and Early Readers. Retrieved form : http://www.nerl.Org/sdrs/arcas/ issues/content/entarcas/readingli100.htm.

Kaser,Ken, & Brooks, John R. (2005). Spot and Entertainment Management. Mason, Ohio: South-western.

Li Qiang ,Wang Xiaoming.(2013). Study on System Modeling of Students Support Service in Distance and Open Education. Retrieved form : https://www.atlantis-press.com/article/5536.pdf

Loius A. Allen.(1958). Management and organization. New York: McGraw -Hill Inc.

Yamane, Taro. (1973). Statistics an introductory analysis. New York Harper & Row.