การถ่ายทอดความรู้ในการใช้งานระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ถ่ายทอดความรู้ และ 2) ประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดความรู้ในการใช้งานระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยี คิวอาร์โค้ด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้เลี้ยงแมวในจังหวัดสุรินทร์ จำนวน 35 คน โดยการประชาสัมพันธ์ในการเข้าร่วมการถ่ายทอดความรู้ในการใช้งานระบบ ผ่านเฟสบุ๊ค แฟนเพจผู้เลี้ยงแมวในจังหวัดสุรินทร์ มีวิธีได้มาซึ่งกลุ่มตัวอย่างตามสะดวกหรือสมัครใจ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด และแบบประเมินความพึงพอใจ การถายทอดความรู้ใช้วิธีการบรรยายให้ความรู้ สาธิตวิธีการใช้งานระบบ และให้ทดลองใช้งานระบบ ให้กลุ่มตัวอย่างประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดความรู้ จากนั้นนำข้อมูลที่ได้ไปวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย 1) ผลการถ่ายทอดความรู้ในการใช้งานระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด พบว่า ได้รับความรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีที่นำมาใช้กับสัตว์เลี้ยง และสามารถเข้าใจวิธีการใช้งานระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวผ่านคิวอาร์โค้ดได้อย่างชัดเจน เช่น การป้อนข้อมูลการเปลี่ยนแปลงข้อมูลประจำตัวของแมว เจ้าของแมว และการสแกนคิวอาร์โค้ด เพื่อเข้าถึงข้อมูลประจำตัวของแมวรวมถึงการเชื่อมโยงไปยังแผนที่ที่อยู่ และช่องทางการติดต่อกับเจ้าของแมว เป็นต้น
2) ผลการประเมินความพึงพอใจในการถ่ายทอดความรู้ในการใช้งานระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด พบว่า มีระดับความพึงพอใจในภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.80 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 0.40
Article Details
References
กรรณิการ์ ภิรมย์รัตน์. (2566). “บทที่ 8 ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง : เอกสารการสอน วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้(EDP4101)”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก https://eledu.ssru.ac.th/kannika_bh/pluginfile.php/35/course/section/9/3%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%208.pdf สืบค้น 1 กันยายน 2566.
เจนจิรา สุขใจ. (2563). “การใช้ QR Code ในการจัดการข้อมูลสุขภาพสัตว์เลี้ยงในคลินิกสัตวแพทย์.” วารสารวิชาการเทคโนโลยีอุตสาหกรรม : มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา. 10(2) : 35-42.
จิตต์สุภา ฉิน (ซู่ชิง). (2566). “เทคโนโลยีสัตว์เลี้ยง PeTech กำลังมาแรง”. [ออนไลน์]
เข้าถึงได้จาก :https://www.matichonweekly.com/column/
article_227367. สืบค้น 20 ธันวาคม 2566.
ตรีรัตน์ ตระกูลอุดมพร. (2567). การพัฒนาระบบข้อมูลประจำตัวสำหรับแมวด้วยเทคโนโลยี
คิวอาร์โค้ด. วิทยานิพนธ์หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยี
อุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ดินาร์ บุญธรรม. (2566). “ตำราดูแมว”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก : https://wow.in.th/
M20Q. สืบค้น 22 ธันวาคม 2566.
ทรู มูฟ เฮช. (2566). “Pet Tracker อุปกรณ์ติดตามสัตว์เลี้ยง รุ่น GTS P34-4G”.
[ออนไลน์] เข้าถึงไดจาก : https://www.wemall.com/d/L91766448
สืบค้น 23 กันยายน 2566.
นิคม ลนขุนทดและคณะ. (2562). “การถ่ายทอดเทคโนโลยี แอพพลิเคชั่นการท่องเที่ยว เศรษฐกิจชุมชนและสินค้า OTOP จังหวัดสุรินทร์.” วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์. 13(2) : 93-104.
โมโกสมาร์ท. (2566). “10 แอปพลิเคชัน IoT สำหรับอุปกรณ์ติดตามสัตว์เลี้ยง”. [ออนไลน์].
เข้าถึงได้จาก https://www.mokosmart.com/th/iot-applications-for-
pet-tracking-devices/ สืบค้น 20 สิงหาคม 2566.
วีรวุธ เลพล, ชิษณุพงศ์ อยู่พุ่ม และศุภวิชญ์ ดีสม. (2562). “รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยี การสร้างระบบข้อมูลประจำตัว สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน จังหวัดพิษณุโลก .” วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มทร.สุวรรณภูมิ. 3(1) : 66-74.
สำนักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ. (2566). “QR Code คืออะไร”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้
จาก : https://qrgo.page.link/Xp4Uk. สืบค้น 22 ธันวาคม 2566.
อัษฎา วรรณกายนต์และคณะ. (2566, มกราคม – มิถุนายน). การพัฒนาสื่อเพื่อการเรียนรู้ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
จากธรรมชาติ. วารสารวิชาการคณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์ 8(1) : 85-96.
อัษฎา วรรณกายนต์, นิคม ลนขุนทด, สุรเชษฐ์ วงศ์ชัยประทุม และสุชาติ ดุมนิล. (2563).
“การถ่ายทอดเทคโนโลยีคิวอาร์โค้ด สำหรับข้อมูล ผลิตภัณฑ์สินค้าชุมชน ประเภทผัก
อินทรีย์”. การประชุมวิชาการระดับชาติ “ราชมงคลสุรินทร์ ครั้งที่ 11” “วิจัยและ
นวัตกรรมวิถีใหม่.” วันที่ 17-18 กันยายน 2563. หน้า H58-H66. สุรินทร์ :
มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสุรินทร์.
อนิรุทธ์ โชติถนอม. (2561). การพัฒนาระบบจัดการข้อมูลสัตว์เลี้ยง. วารสารวิทยาการ
สารสนเทศและเทคโนโลยีประยุกต์. 1(2) : 112-124.
HOBBY QR . (2566). “Smart Tag One ป้ายชื่อหมาแมวอัจฉริยะ”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้
จาก : https://product.hobbyqr.com/ สีบค้น 24 กันยายน 2566.
PETCITIZ.INFO. (2566). “10 สายพันธุ์แมวที่คนไทยนิยมเลี้ยง”. [ออนไลน์] เข้าถึงได้จาก :
https://bit.ly/37GbO4B. สืบค้น 22 ธันวาคม 2566.