ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและความคาดหวังของสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ 3) เสนอแนวทางในการพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครูโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2566 จำนวน 130 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Sampling) ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิที่มีส่วนเกี่ยวข้องทางด้านบริหารสถานศึกษา มีประสบการณ์ในการปฏิบัติหน้าที่อย่างน้อย 5 ปี มีความรู้ความสามารถด้านนวัตกรรม มีความรู้และเข้าใจในบริบทของโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็น (PNI modified) สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1) สภาพปัจจุบันของสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และความคาดหวังของสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดีสูงสุดคือ ด้านการบริหารเชิงกลยุทธ์และการเป็นผู้นำทางวิชาการ รองลงมาคือ ด้านการประเมินผล ด้านทีมงานและการสร้างเครือข่าย และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล ตามลำดับ และ 3) แนวทางการพัฒนาสมรรถนะเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนภายใต้โครงการคอนเน็กซ์อีดี สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประกอบด้วย 1) ด้านคุณลักษณะส่วนบุคคล 2) ด้านทีมงานและการสร้างเครือข่าย 3) การบริหารเชิงกลยุทธ์และการเป็นผู้นำทางวิชาการ และ 4) ด้านการประเมินผล
Article Details
References
จักรกฤษณ์ สิริริน. (2562). Innovation Management ติดปีกสถานศึกษาสู่ยุค 5.0. สืบค้นเมื่อ
กุมภาพันธ์ 20, 2567, จาก http://www.salika.co/2019/09/05/Innovation-Management-
educational-5-0-era/
จุฬาลักษณ์ อักษร วรวรรณ ธารนาถ ชาญชัย วงศ์สิรสวัสดิ์ ฐิติพร พิชญกุล และกันต์ฤทัย คลังพหล.
(2566). ความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพระนครศรีอยุธยา. วารสารครุศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์, 1(1), 26-38.
ชัยยนต์ เพาพาน. (2560). ภาวะผู้นำทางการศึกษาและนวัตกรรมทางการบริหาร: กระบวนทัศน์ใหม่ใน
ศตวรรษที่ 21 ของผู้บริหารสถานศึกษา. กาฬสินธุ์: มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์.
โชษิตา ศิริมั่น. (2563). ทักษะการบริหารสถานศึกษาของผู้บริหารในภาวะวิกฤตโควิด - 19
ของสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 31. วารสารสืบเนื่อง
วิทยาลัยนครราชสีมา, 14(1), 407-416
บริพัฒน์ สารผล (2565). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงาน
บุคคลของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุดรธานี. British
Journal of Education, 4(8), 13-23.
รัชนีกร แสงสว่าง. (2564). การศึกษาสมรรถนะหลักของผู้บริหารสถานศึกษาใน สังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาปทุมธานี เขต 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยี
ราชมงคลธัญบุรี.
ลัดดาวัลย์ ซาซิโย (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาร้อยเอ็ด เขต 1. บัณฑิตวิทยาลัย:
มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
สาคร น้อมระวีและสุวัฒน์ จุลสุวรรณ์. (2565). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดอาชีวศึกษา จังหวัดร้อยเอ็ด. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 9 (1), 20-33.
สาธร ทรัพย์รวงทอง. (2566). รูปแบบภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. วารสารวิจัยวิชาการ, 6(3), 309-324.
สิทธิกร กุลชาติ. (2566). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาเลย เขต 3. วารสารสังคมศาสตร์บูรณาการ, 3(9), 27-41.
สินีนาฎ ใสแจ่ม พร้อมพิไล บัวสุวรรณและสุดารัตน์ สารสว่าง. (2563). ความต้องการจำเป็นในการ
พัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานนทบุรี เขต 1.วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 22 (1), 79-92.
อังคณา เติมวิถี. (2564). ความต้องการจำเป็นของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของข้าราชการครู สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2. ปทุมธานี: มหาวิทยาลัยรังสิต.