การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในยุคดิจิทัล กรณีศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาการบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาในยุคดิจิทัลของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 จำนวน 1 คน บุคลากรในสำนักงานเขตพื้นที่ จำนวน 4 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในวิจัยครั้งนี้คือ แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4 ใช้นวัตกรรมการบริหาร เขตก้าวหน้า สร้างคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 3 ด้าน ได้แก่ 1) การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพบนฐานของเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย 2) การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างยั่งยืน 3) การสร้างโอกาสแก่ประชากรวัยเรียน
Article Details
References
จิณณวัตร ปะโคทัง. (2561). ภาวะผู้นำยุคดิจิทัล. อุบลราชธานี: ศิริธรรมออฟเซ็ท.
ทัศนีย์ มณีวรรณ. (2563). รูปแบบการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานยุคดิจิทัล. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี
ธีรพงศ์ ทับอินทร์. (2558). การใช้วงจรเดมมิ่ง (PDCA) ในการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 42. วารสารชุมชนวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา. 9(2), 73-74.
บุญชม ศรีสะอาด. (2560). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น.
วันวดี กู้เมือง. (2564). ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อการศึกษาอย่างไร. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก https://www.gotoknow.org/posts/427621
สุวิมล โพธิ์กลิ่น. (2560). การบริหารสถานศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิผล. อุบลราชธานี: ยงสวัสดิ์ อินเตอร์กรุ๊ป จำกัด.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 4. (2564). เป้าประสงค์และยุทธศาสตร์. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://122.155.223.20/ubn4/
index.php/data/about/about-6
เอกชัย กี่สุขพันธ์. (2564). การบริหารสถาบันการศึกษายุคดิจิทัล. [ออนไลน์], เข้าถึงได้จาก http://www.trueplookpanya.com/knowledge/content/52232.
สมัย ลาสุวรรณ. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ด้านการอ่านจับใจความโยใช้เทคนิค SQ4R ประกอบแบบฝึกทักษะของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 .บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฎหาสารคาม.