สภาพการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 2) เพื่อเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน 3) เพื่อศึกษาแนวทางในการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด 2) การเปรียบเทียบสภาพการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 จำแนกตามตำแหน่ง วุฒิการศึกษา และประสบการณ์ในการทำงาน พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3) แนวทางการดำเนินงานห้องเรียนคุณภาพของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 พบว่า 1) ด้านนำการเปลี่ยนแปลงสู่ห้องเรียนคุณภาพ สถานศึกษาควรสนับสนุนให้ทุกห้องเรียนมีสื่ออุปกรณ์ประกอบการจัดการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนพัฒนาตนเอง มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ(PLC) 2) ด้านการออกแบบการเรียนรู้อิงมาตรฐาน ผู้บริหารควรส่งเสริมให้ครูจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับมาตรฐานการเรียนรู้และตัวชี้วัด จัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้ เน้นการประเมินตามสมรรถนะผู้เรียนและสภาพจริงด้วยวิธีการที่หลากหลาย 3) ด้านวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาทางด้านทักษะและความรู้ในการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนและดำเนินการการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนอย่างน้อยปีการศึกษาละ 1 เรื่อง เพื่อพัฒนาการจัดการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง 4) ด้านการใช้ ICT เพื่อการจัดการเรียนรู้ สถานศึกษาควรส่งเสริมให้ครูได้รับการพัฒนาทักษะในการใช้สื่อ ICT มีแผนการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการใช้ ICT มีการบริหารจัดการข้อมูลสารสนเทศของสถานศึกษาอย่างเป็นระบบ 5) ด้านการสร้างวินัยเชิงบวก สถานศึกษาควรผลักดันให้ครูตระหนักในการสร้างวินัยเชิงบวกในห้องเรียน พัฒนานักเรียนตามศักยภาพ และเสริมแรงนักเรียนให้เกิดการปฏิบัติพฤติกรรมที่เหมาะสมอย่างต่อเนื่อง
Article Details
References
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาอุบลราชธานี เขต 1, สำนักงาน. รายงานผลการดำเนินงานของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1 ประจำปีงบประมาณ 2564, อุบลราชธานี : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาอุบลราชธานี เขต 1, 2564.
ธนิตย์ เยี่ยมรัมย์. (2561). สภาพการดำเนินงานทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษาของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์,
ประธาน ทองเจริญ. (2561). การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางห้องเรียนคุณภาพในกลุ่มสหวิทยาแก่งคอยร่วมใจ อำเภอแก่งคอย จังหวัดสระบุรี. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
รวิวรรณ ภุรายย้าวและบรรจบ บุญจันทร์.(2565). ปัจจัยที่ส่งผลต่อห้องเรียนคุณภาพระดับปฐมวัยของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสระบุรี เขต 2.บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
วิจารณ์ พานิช . (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในสตวรรมที่ 21. กรุงเทพฯมูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์
วัชรพล เที่ยงปา. (2563). สภาพการดำเนินงานห้องเรียนแห่งคุณภาพของโรงเรียนในสังกัด สพม. เขต 3 บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
นัตยา หถ้าทูนชีรกุล.(2557). การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพ หน่วยการเรียนรู้ แบบชิงมาตรฐาน ระดับชั้นประถศึกษาปีที่ 6 ในโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 5. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยชอนแก่น.
สุภาวดี พุทธรัตน์. (2564). “ความคิดเห็นของครูที่มีต่อภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลงของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนในกลุ่มสหวิทยาเขตรัชโยธิน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2,” วารสารวิชาการศิลปะศาสตร์ประยุกต์. 14,2 (กรกฎาคม-ธันวาคม2564): 1-14.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2566). นโยบายสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562. (ออนไลน์) 2562 (อ้างเมื่อ 12 ตุลาคม https://www.obec.go.th/wpcontent/uploads/2018/10/OBECPolicy62.pdf
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2560) แผนพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ ฉบับที่สิบสอง พ.ศ. 2560 - 2564. กรุงเทพฯ : สำนักนายกรัฐมนตรี.
อัครเดช อินทรสถาพร. “การเสริมสร้างวินัยนักเรียนด้านความรับผิดชอบโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง:กรณีศึกษาโรงเรียนอนุบาลอัจฉรา อำเภอสูงเนิน จังหวัดนครราชสีมา,” วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา(สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์). 16,2 (พฤษภาคม-สิงหาคม2565): 1-14.
Negin Barat Dastjerdi. “Factors Affecting ICT Adoption among Distance Education Students based on the Technology Acceptance Model—A Case Study at a Distance Education University in Iran” International Education Studies. 9, 2 (January 2016): 73-80.